Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/598
Title: | The PET bottle processing guidelines for application in handicrafts แนวทางการแปรรูปขวด PET สำหรับประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรม |
Authors: | Apirat Khuncharo อภิรัฐ กุญชะโร Somkhit Suk-erb สมคิด สุขเอิบ Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science |
Keywords: | การแปรรูป ขวด PET การประยุกต์ งานหัตถกรรม processing The PET bottle application handicrafts |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims 1) to study the original product form of handicraft products from plastic lines 2) to study the processing of PET bottles instead of plastic lines applied in handicrafts and 3) to evaluate the opinions of products from bottles PET designed and developed as a substitute for plastic lines This research uses a combination of qualitative research and quantitative research. The sample group for quantitative research is people in Kosum Phisai District. Mahasarakham Province, 100 people inquiring about the needs of consumers Then evaluate the model by 2 community product manufacturers, 3 plastic processing experts, to evaluate the suitability of processing in the application of handicrafts. Then create a prototype and evaluate the level of consumer feedback.
The results of the research were as follows: 1) Data analysis from consumer questionnaires with opinions on the original products made with plastic lines By which consumers have opinions on the basket products, put the most items in the safety and strength of the basket products, put the items at the highest level (x̄ = 4.88), followed by the beauty of the basket products, put things At the highest level (x̄ = 4.88). Then, using a questionnaire for consumers to express opinions of consumers towards the introduction of plastic lines from PET bottles developed into products in various forms. The results show that consumers have the desire to develop Is the product in the form of a basket containing the most items (x̄ = 4.88), followed by women's bags (x̄ = 4.73) 2) processing of PET bottles instead of plastic lines for use in handicrafts The results from the experts found that The product obtained from the plastic line processed from the PET bottle developed into a basket of beauty and suitability (x̄ = 4.85), followed by the suitability for use (x̄ = 4.82) and 3) the result. The post-production evaluation of PET plastic products from PET bottles appears that the beauty of plastic lines from PET bottles is at the highest level (x̄ = 4.92), followed by physical benefits. With ease of use (x̄ = 4.82)
What is obtained from the research study is a way of bringing waste that is abundant in society and never exhausted to be processed by taking into account the needs of the consumer group. In order to apply in handicraft, the product is accepted and actually used การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเส้นพลาสติก 2) เพื่อศึกษาการแปรรูปขวด PET แทนเส้นพลาสติกมาประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรมและ 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์จากขวด PET ที่ออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แทนเส้นพลาสติก การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนในอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 100 คน สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภค จากนั้นประเมินรูปแบบโดยผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปพลาสติก จำนวน 3 ท่านเพื่อประเมินความเหมาะสมของการแปรรูปในการประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรม จากนั้นสร้างต้นแบบแล้วประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามผู้บริโภคที่มีความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์เดิมที่ทำด้วยเส้นพลาสติก โดยที่ผู้บริโภคมีความคิดเห็นกับผลิตภัณฑ์ตะกร้าใส่สิ่งของมากที่สุดในด้านความปลอดภัยและความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ตะกร้าใส่สิ่งของอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.88) รองลงมาคือความสวยงามของผลิตภัณฑ์ตะกร้าใส่สิ่งของ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.88) จากนั้นใช้แบบสอบถามให้ผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการนำเส้นพลาสติกจากขวด PET พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ผลปรากฏว่าผู้บริโภคมีความต้องการให้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบตะกร้าใส่สิ่งของมากที่สุด (x̄ =4.88) รองลงมาคือกระเป๋าสตรี (x̄ =4.73) 2) การแปรรูปขวด PET แทนเส้นพลาสติกมาประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรม ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นพลาสติกที่แปรรูปมาจากขวด PET พัฒนามาเป็นตระกร้าใส่ของด้านความเหมาะสมกับความสวยงาม (x̄ =4.85) รองลงมาคือด้านความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (x̄ =4.82) และ 3) ผลการประเมินหลังการทำผลิตภัณฑ์เส้นพลาสติกจากขวด PET ปรากฏว่า ด้านความสวยงามของเส้นพลาสติกจากขวด PET อยู่ในระดับมากที่สุดมี (x̄ =4.92) รองลงมาคือด้านประโยชน์ใช้สอยทางกายภาพ มีความสะดวกในการใช้งาน (x̄ =4.82) สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิจัยเป็นแนวทางของการนำขยะที่มีมากในสังคมและไม่มีวันหมดสิ้นไปนำมาแปรรูปโดยต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค เพื่อประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรมให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับและใช้งานได้จริง |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/598 |
Appears in Collections: | Faculty of Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57012150002.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.