Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/599
Title: Wisdom of the Creation from Gong Mon Rail in Pinkaew Community Sena District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Authors: Wittawat Wattanaphan
วิทวัส วัฒนพันธุ์
Sithisak Jupadang
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: ภูมิปัญญา
การสร้างสรรค์
ฆ้องมอญ
wisdom
creation
Gong Mon
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to collect knowledge related to the wisdom of creating Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province in various aspects includes 1) History and development in the creation of the Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province, 2) to study the wisdom of creating the Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province, 3) to be a guideline for propagating and inheriting the wisdom of creating the Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province which is a qualitative research. A researcher collects data by interviewing, group discussion observation and information from related documents from 7 village philosophers, 4 practitioners and 5 people involved. It was using the information obtained to check the accuracy of the triangle analyze the information as intended and presented by means of descriptive analysis. The study indicated that the creation of the Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province has started carving the Gong Mon rail and various kinds of Thai musical instruments, around 2508 BE, by Mr. Pim Kerdong, the first leader, has studied Thai writing and the teacher, Jom   Damcoo-kong. Later, he worked at Thanomwanich shop, Bangkok. He was also studying how to carve a gilded wood from a craftsman working together at Thanomwanich shop until having expertise. Therefore, bringing the carving of Gong's rail, Thai instruments, and various types of woodwork conveys for relatives and family members. Later, he came out to pursue his own career. Causing the carving of Gong Mon rail to spread to people within the community and develop the style of Gong Mon rail to be more beautiful. There is a distinctive pattern that is unique. Until, it was well-known in Thai musicians as a source of beautiful Gong Mon.  Wisdom in the creation of Gong Mon shop, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province divided into various areas as follows: 1) wisdom in the selection and preparation of materials; the wood used for carving, the best Gong shop is teak. In the present, it is popular to use the Chamchuri wood because it is cheap and easy to find. The wicker for beating is tied to the ball with a diameter of about 1.5 centimeters. At present, it is used to paint the gold leaf that is called "the Japanese gold" in the decoration of most parts. 2) Wisdom in the selection and preparation of tools, including electric drills, sliders, electric planer belts, piglets, is a powerful tool for forming chisels, various styles and sizes, wooden hammers, routers used for grooving and carving various designs on Gong's rail. 3) Wisdom in the shape and design of patterns in the carving of Gong Mon rail which shaped the Gong Mon rail, the community of Pinkaew will have a central characteristic; Gong popping out along the left and right Gongs, the curved end of the two sides is slightly different. Looking at the overall, similar to tamarind pods. There is a sharp carving pattern divided into 3 parts; the front of the center of the Gong and the Gong tail. Most carvings use the Thai pattern as the basis or the pattern according to the order. There are two characteristics of the pattern of carving or pattern carving. They were striped pattern and lamming pattern. 4) Wisdom in the creation process of Gong Mon rail as follows; 4.1) starting from the shaping dig Gong troughs in all 3 parts, which are the front part; carved into a bird with a human head pattern,  the central of Gong,  and Gong's tail, 4.2) use chisel as designed in the part that is the carved into a bird with a human head pattern and Gong tail before, 4.3) The three parts were assembled by shaping a wooden spigot and then carved patterns in the central Gong. Then the rest to be continued until the end of the circle, 4.4) use the ground with water chalk mixed with water, scrub the burrs and use the flake shellac with the surface, polished once again, 4.5) wicker lines for tie, painted, gilded, decorated with mirrors, painted in beautiful surfaces. Guidelines for the continuation and dissemination of wisdom in the creation of Gong Mon rail,  Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province, found that community leaders, craftsmen and people in the community of Pinkaew must be aware of the importance of wisdom in creating Gong Mon rail to present to the other people or requesting to support the budget from the government in preparing various information media or the establishment of a learning center within the community collect relevant documents history wisdom in carving, Gong Mon rail published to be known is a source of information for those interested, easy to search and bring wisdom to create Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Entering into the education system by creating a local curriculum support and promote to the young generation to know about their history, to appreciate the importance, to create pride in the wisdom of creating Gong Mon rail that occur within their communities short course training to those who are interested to create the foundation and can develop to become an own career.  By summarizing, the guidelines for the dissemination and succession of the wisdom of creating the Gong Mon rail, Pinkaew community, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province which is the wisdom that combines the knowledge and art of various values of Thailand together. It is the identity of the community which is likely that some wisdom in creating Gong Mon rail which may be lost from the community. Government agencies, craftsmen and people in the community must be aware of the importance of Gong Mon rail. Moreover, we should help to disseminate and inherit the wisdom of creating Gong Mon rail to remain a community and as a guide to other communities to be applied.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการในการสร้างร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครสรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครสรีอยุธยา 3) เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่และสืบทอดภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากผู้รู้จำนวน 7 คน ผู้ปฏิบัติ จำนวน 4 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความความถูกต้องแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ละนำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เริ่มมีการแกะสลักร้านฆ้องมอญ และเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2508 โดยนายพิมพ์ เกิดทรง เป็นผู้นำมาเผยแพร่เป็นคนแรก ซึ่งนายพิมพ์ เกิดทรง ได้ศึกษาการเขียนลายไทยกับครูจอม ดำดูคง ภายหลังได้เข้าไปทำงานอยู่ที่ร้านถนอมวานิช กรุงเทพมหานครฯ และศึกษาวิธีการแกะสลักไม้ ลงรักปิดทอง จากช่างฝีมือที่ทำงานอยู่ด้วยกันที่ร้านถนอมวานิช จนมีความชำนาญ  จึงได้นำการแกะสลักร้านฆ้อง เครื่องดนตรีไทย งานไม้ชนิดต่างๆ มาถ่ายทอดให้กับญาติพี่น้อง และคนในครอบครัว ภายหลังจึงได้ออกมาประกอบอาชีพเป็นของตนเอง ทำให้อาชีพการแกะสลักร้านฆ้องมอญแพร่ขยายออกไปสู่คนภายในชุมชน และพัฒนารูปแบบร้านฆ้องมอญให้มีความสวยงามมากขึ้น มีลวดลายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  จนมีชื่อเสียงเป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มนักดนตรีไทยว่าเป็นแหล่งผลิตฆ้องมอญที่มีความสวยงาม ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ภูมิปัญญาในด้านการเลือกและการเตรียมวัสดุ  ไม้ที่ใช้แกะสลักร้านฆ้องที่ดีที่สุดคือไม้สัก แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้จามจุรี เพราะมีราคาถูกและหาได้ง่าย หวายสำหรับตีเป็นราวไว้ผูกลูกฆ้องจะต้องเป็นหวายแก่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ในปัจจุบันใช้การลงสีปิดทองคำเปลวที่เรียกว่าทองญี่ปุ่นในการตกแต่งชิ้นงานเป็นส่วนใหญ่ 2) ภูมิปัญญาในการการเลือกและการเตรียมเครื่องมือ ประกอบด้วย สว่านไฟฟ้า เลื้อยสายพาน กบไฟฟ้า ลูกหมู เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้สำหรับขึ้นรูป สิ่วลักษณะและขนาดต่างๆ ค้อนไม้ เร้าท์เตอร์ ใช้ในการเสาะร่องและแกะสลักลวดลายต่างๆลงบนร้านฆ้อง 3) ภูมิปัญญาในด้านรูปทรงและการออกแบบลวดลายในการแกะสลักร้านฆ้องมอญ ซึ่งรูปทรงร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว จะมีลักษณะกลางฆ้องผายออกตามแนวฆ้องซ้ายและขวา ปลายโค้งทั้งสองด้านสอบเข้าหากันเล็กน้อย มองโดยภาพรวมคล้ายฝักมะขาม มีลวดลายการแกะสลักที่คมชัด แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หน้าพระ กลางฆ้อง และหางฆ้อง การแกะสลักส่วนใหญ่จะใช้ลายไทยเป็นพื้นฐาน หรือลวดลายตามที่ผู้สั่งทำต้องการ ลักษณะการแกะลายหรือแลลายจะมีอยู่สองลักษณะ คือการแลลายแบบลายปาด และการแลลายแบบแลมน 4) ภูมิปัญญาในขั้นตอนการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญ ดังนี้ 4.1) เริ่มจากการขึ้นหุ่น ขุดรางฆ้องทั้ง 3 ส่วน คือส่วนที่เป็นหน้าพระ กลางฆ้อง และหางฆ้อง  4.2) ใช้สิ่วแกะลายตามที่ออกแบบไว้ในส่วนที่เป็นหน้าพระ และหางฆ้องก่อน 4.3) นำทั้ง 3 ส่วนมาประกอบกันด้วยวิธีเข้าไม้ ยึดเดือย แล้วจึงแกะสลักลวดลายในส่วนกลางฆ้อง และส่วนที่เหลือให้ให้ต่อเนื่องกันจนครบวง  4.4) ลองพื้นด้วยดินสอพองผสมน้ำ ขัดเสี้ยนออกแล้วลองพื้นด้วยเชลแลคเกล็ด ขัดอีกครั้งหนึ่ง 4.5) ตีเส้นหวายสำหรับผูกลูกฆ้อง ทาสี ปิดทอง ล่องชาด ประดับกระจก เขียนหน้าให้สวยงาม แนวทางในการสืบสานและเผยแพร่ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า ผู้นำชุมชน ช่างฝีมือ และคนในชุมชนปิ่นแก้ว ต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญ ของภูมิปัญญาในการในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญ เพื่อนำเสนอต่อบุคลภายนอก หรือขอสนับสนุนงบประมาณจากทางภาครัฐในการจัดทำ สื่อ สารสนเทศต่างๆ  หรือการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภายในชุมชน รวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญาในการแกะสลักร้านฆ้องมอญ เผยแพร่ ให้เป็นที่รู้จัก เป็นแหล่งข้อมูลของผู้ที่สนใจ สืบค้นได้ง่าย นำภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่ในระบบการศึกษา โดยการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น สนับสนุนและส่งเสริม ให้เยาวชนรุ่นใหม่ทราบถึงประวัติความเป็นมา เห็นคุณค่า ความสำคัญ สร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตน  จัดการอบรมหลักสูตรในระยะเวลาสั้นๆ ให้กับผู้ที่มีความสนใจ เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐาน และสามารถพัฒนาต่อยอดจนเป็นอาชีพของตนเองได้ โดยสรุป แนวทางในการเผยแพร่และสืบทอดภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญชุมชนปิ่นแก้ว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่รวมศาสตร์และศิลป์อันทรงคุณค่าแขนงต่างๆ ของไทยเข้าไว้ด้วยกัน มีความเป็น อัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งมีแนวโน้มว่าภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญบางอย่างอาจสูญหายไปจากชุมชน สมควรที่หน่วยงานของรัฐ ช่างฝีมือ และคนในชุมชน ต้องตระหนักถึงความสำคัญ และช่วยกันเผยแพร่และสืบทอดภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ร้านฆ้องมอญให้คงอยู่กบชุมชน และเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/599
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012180003.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.