Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/602
Title: Contemporary Sculptures : Decoding the Body of Aesthetic Knowledge Suitable for Public Parks in Thailand
ประติมากรรมร่วมสมัย : ถอดรหัสองค์ความรู้ทางสุนทรียภาพที่เหมาะสมกับสวนสาธารณะในประเทศไทย
Authors: Adool Booncham
อดุลย์   บุญฉ่ำ
Sastra Laoakka
ศาสตรา เหล่าอรรคะ
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: ประติมากรรมร่วมสมัย
สุนทรียภาพ
สวนสาธารณะ
contemporary sculpture
aesthetic
public parks
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to examine the background, current condition, problem and decoding the body of aesthetic knowledge of contemporary  sculptures suitable for public parks in Thailand. Approach: The research area covered  Bangkok, Chiang Mai, Phuket, Songkhla and Ubon Ratchathani provinces in which  there are constructions of contemporary sculpture permanently installed in the public parks. The research procedure used the qualitative research methodology. Data were collected from related literature and field studies using survey, interviews and focus group discussion from a group of totally 123 informants. The findings were presented by means of a descriptive analysis. Results : 1) The findings revealed that in Thailand there are constructions of  contemporary sculptures permanently installed in 15 parks with totally 102 pieces.  Saphan Hin Park in Phuket is the first place where there was a construction of a contemporary sculpture in 1969. In Bangkok there were 8 parks with totally 40 pieces  of sculpture. In Chiang Mai there were 2 parks with 43 pieces. In Phuket there were 2  parks with 2 pieces. In Songkhla there were 2 parks with 15 pieces and in Ubon Ratchathani there was 1 park with 1 piece. At present, it has been found that there are 99 contemporary sculptures in all the public parks. There is no 1 piece installed at Lumpini park, Bangkok. In Lanna King Rama IX Park, Chiang Mai province, 1 piece was stolen, 1 piece is not at the point of installation, Significantly, the installation of sculptures have been found in different positions in each public parks due to the contemporary sculptures works have been fitted in spaces according to the suitability of installation.  2) The current condition and problems of contemporary sculpture in the public parks in Thailand 2.1) The current condition of contemporary sculpture in the public parks in Thailand are estimated by an assessment of the current condition of the sculptures, installing base and installing area that is considered as the key elements in which affecting the aesthetics of contemporary sculptures in the public parks. This research also indicates that, it is using 3 criteria which are; criteria 1 means affecting; criteria 2 means having impact and criteria 3 means having the most impact. It is found that art works in which remain perfect proportions both 3 items resulting the sculptures reveal its 29 perfection of aesthetics. The current condition of sculptures which have affected to aesthetics of contemporary sculptures in the public parks. There are 70 works of contemporary sculptures which can be divided as follow: level 1=47 sculpture works, level 2 = 18 sculpture works and level 3=5 sculpture works. As such, it is indicating that contemporary sculptures in the public parks in Thailand, in current condition, have been effecting to aesthetics both direct and in-direct effect. 2.2) The problem of contemporary sculptures in public parks in Thailand, it is found that there are no problems with sculpture installed in the Bangkok Forest Park in Commemoration, Forest Park in Commemoration Bangkok, Nong Buag Had public park; Chiangmai and Seri park; Songkla province. The aesthetics of contemporary sculptures have been revealed perfectly. In addition, the contemporary sculpture works which have been installed in Lanna King Rama IX Park; Chiangmai province are the most problematic. The problematic found can be divided to (1) problem that has been affected to aesthetics of contemporary sculpture. It is involving with the maintenance of contemporary sculptures as well as problem with maintenance of component of sculpture and problems of sculpture scratching respectively. (2) Problems are effected to aesthetics in the relationship between contemporary sculptures and the environment condition in public parks which are: problem in decorating flowers leading to disturb the aesthetics condition in contemporary sculptures, mossy problem in pond, encroachment problem in contemporary sculptures and aesthetics problem in location of installation respectively. 3) Decoding the body of aesthetics knowledge of contemporary sculptures which are suitable to install in the public parks in Thailand can be concluded that the body of aesthetics knowledge of contemporary sculptures in Thailand as follow: 3.1) Aesthetics of contemporary sculptures, the sculptures are the first priority articulating with aesthetics. Without the condition of aesthetics in sculptures, the aesthetics value have significantly reduced in regards with the location of the public parks. It can be divided (1) Aesthetics of content, that content is easy to reach, that peoples are easy to perceive, good at meaning and not conflicting to cultural social context of spaces. (2) Aesthetics of form, that form occurs aesthetics unity, plainness, unsophisticated form and do not interpret complicated meaning. Realistic and Semi-Abstract sculptures are mostly responding to aesthetics perception. 3.2) Aesthetics of relationship between contemporary sculptures and condition of environment in the public parks can be explained as follow: (1) Location aesthetics; the installation area must be nice condition (2) The appearance of sculptures occur with size, material, colors and structure. It is manifested that then background of sculptures must be empty, not distracting, the foreground is empty, having a view of the open space as well as can be seen in the distance. (3) Maintenance is the most important thing that can allow audiences to experience aesthetics of environment in the public parks and sculptures in the same spaces. In summary, over the past 50 years, contemporary sculptures in the public parks are encouraging people to promoting public relaxing when they appreciate the aesthetics of contemporary sculptures. It is the fulfillment of quality of life of people in the city and promoting the city where it has a beautiful view, charming and inviting people to come visit. Therefore, contemporary sculptures in the public parks are a public treasure.  People who live in the society should be kept an eyes on helping maintenance in order to allow co-existence between contemporary sculptures and people in the city as a contemporary culture.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา  สภาพปัจจุบันและปัญหาของประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะในประเทศไทย  และถอดรหัสองค์ความรู้ทางสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัยที่เหมาะสมกับสวนสาธารณะในประเทศไทย  พื้นที่วิจัยคือสวนสาธารณะในประเทศไทยที่มีการจัดสร้างประติมากรรมร่วมสมัยติดตั้งถาวรในพื้นที่  ได้แก่  กรุงเทพมหานคร  จังหวัดเชียงใหม่  ภูเก็ต  สงขลา  กระบี่และอุบลราชธานี  วิธีการศึกษา  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากภาคสนาม  ใช้วิธีการสำรวจ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม  จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรวม  123  คน  แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์  ผลการศึกษาพบว่า  1)  ประเทศไทยมีการจัดสร้างประติมากรรมร่วมสมัยติดตั้งถาวรในสวนสาธารณะ 15  แห่ง  ใน  5  จังหวัดที่เป็นพื้นที่วิจัย  มีผลงานประติมากรรมรวม  102  ชิ้น  สวนสาธารณะสะพานหิน  จังหวัดภูเก็ต  เป็นแห่งแรกที่มีการจัดสร้างประติมากรรมร่วมสมัย  ในปี พ.ศ. 2512  ในกรุงเทพมหานครมี  8  แห่ง  มีผลงานประติมากรรม  40  ชิ้น  จังหวัดเชียงใหม่  2  แห่ง 43  ชิ้น  จังหวัดภูเก็ตมี  2  แห่ง  2  ชิ้น  จังหวัดสงขลามี   2  แห่ง  15  ชิ้น  และจังหวัดอุบลราชธานีมี  1  แห่ง 1  ชิ้น  ปัจจุบันพบผลงานประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะ  99  ชิ้น  ไม่พบผลงานที่สวนลุมพินี  กรุงเทพมหานคร  1  ชิ้น  สวนล้านนา ร.9  จังหวัดเชียงใหม่  ถูกจารกรรม  1  ชิ้น  และไม่อยู่ในจุดติดตั้ง  1  ชิ้น  ผลงานที่พบติดตั้งในตำแหน่งต่างๆ  ของสวนสาธารณะแต่ละแห่งตามความเหมาะสมของผลงานและพื้นที่  2)  สภาพปัจจุบันและปัญหาของประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะในประเทศไทย  2.1)  สภาพปัจจุบันของประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะในประเทศไทย  เป็นการประเมินสภาพปัจจุบันของประติมากรรม  ฐานและสถานที่ติดตั้งอันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะ  โดยใช้เกณฑ์  3  ระดับ  คือระดับที่ 1  หมายถึงมีผลกระทบ  ระดับที่ 2  หมายถึงมีผลกระทบมาก  และระดับที่ 3  หมายถึงมีผลกระทบมากที่สุด  พบว่าผลงานที่มีสภาพสมบูรณ์ทั้ง  3  ส่วน  ทำให้ประติมากรรมปรากฏสุนทรียภาพโดยสมบูรณ์มี  29  ชิ้น  ส่วนผลงานที่มีสภาพปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะมี 70  ชิ้น  แบ่งเป็นระดับที่ 1=47  ชิ้น  ระดับที่ 2=18 ชิ้น  และระดับที่ 3=5  ชิ้น  ซึ่งบ่งชี้ว่าปัจจุบันประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะในประเทศไทยมีผลกระทบต่อสุนทรียภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม  2.2) สภาพปัญหาของประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะในประเทศไทย  พบว่าผลงานที่ติดตั้งในสวนป่ากรุงเทพมหานครเฉลิมพระเกียรติ  สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ  กรุงเทพมหานคร  สวนสาธารณะหนองบวกหาด  จังหวัดเชียงใหม่  และสวนเสรี  จังหวัดสงขลา  ไม่มีปัญหาใดๆ  ทำให้ประติมากรรมปรากฏสุนทรียภาพโดยสมบูรณ์  ส่วนผลงานที่ติดตั้งในสวนล้านนา ร.9  จังหวัดเชียงใหม่  มีปัญหามากที่สุด  ทั้งนี้ปัญหาที่พบ  แบ่งเป็น  (1)  ปัญหาที่ส่งผลต่อสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัย  ได้แก่  ปัญหาเกี่ยวกับการดูแลรักษาประติมากรรมร่วมสมัย  ปัญหาการดูแลรักษาส่วนประกอบของประติมากรรม  และปัญหาการขูดขีดประติมากรรม  ตามลำดับ  (2)  ปัญหาที่ส่งผลต่อสุนทรียภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมร่วมสมัยกับสภาพแวดล้อมในสวนสาธารณะ  ได้แก่  ปัญหาไม้ประดับรบกวนสุนทรียภาพของประติมากรรม  ปัญหาการเกิดตะไคร่น้ำในบ่อน้ำ  ปัญหาการรุกล้ำประติมากรรม  และปัญหาสุนทรียภาพของสถานที่ติดตั้ง  ตามลำดับ  3)  ถอดรหัสองค์ความรู้ทางสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัยที่เหมาะสมกับสวนสาธารณะในประเทศไทย  สรุปได้ว่าองค์ความรู้ทางสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัยที่เหมาะสมกับสวนสาธารณะในประเทศไทย  มีดังนี้  3.1)  สุนทรียภาพของประติมากรรม  ผลงานประติมากรรมเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีสุนทรียภาพ  หากประติมากรรมไม่มีสุนทรียภาพจะลดคุณค่าทางสุนทรียภาพของสถานที่ลงด้วย  แบ่งเป็น  (1) สุนทรียภาพด้านเนื้อหา  มีเนื้อหาในมุมกว้างที่ประชาชนรับรู้ได้ง่าย  มีความหมายที่ดีงาม  ไม่ขัดแย้งกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่  (2)  สุนทรียภาพด้านรูปทรง  เกิดจากรูปทรงที่มีเอกภาพ  เรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน  ไม่ต้องแปลความหมายที่ยุ่งยาก  โดยประติมากรรมแบบเหมือนจริง  และแบบกึ่งนามธรรม  จะสนองตอบการรับรู้สุนทรียภาพมากที่สุด  3.2)  สุนทรียภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมร่วมสมัยกับสภาพแวดล้อมในสวนสาธารณะ  แบ่งเป็น  (1)  สุนทรียภาพของสถานที่  บริเวณติดตั้งผลงานต้องมีความสวยงาม  (2)  การปรากฏชัดของประติมากรรม  เกิดจากขนาด  วัสดุ  สี  และลักษณะของรูปทรง  โดยฉากหลังต้องไม่รบกวนสายตา  ฉากหน้าต้องเป็นที่ว่าง  มีมุมมองที่โล่งกว้างสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล  (3)  การดูแลรักษา  เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  ทำให้ประชาชนได้สัมผัสทั้งสุนทรียภาพของสภาพแวดล้อมในสวนสาธารณะและประติมากรรมในสถานที่เดียวกัน  ตลอดระยะเวลากว่า  50  ปีที่ผ่านมา  ประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะได้ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้ผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการได้ชื่นชมสุนทรียภาพของประติมากรรมร่วมสมัย  เป็นการเติมคุณภาพชีวิตของคนในสังคมเมือง  และยังส่งเสริมให้เมืองมีมุมมองที่สวยงาม  มีเสน่ห์ชวนให้ผู้คนมาเที่ยวชม  ดังนั้นประติมากรรมร่วมสมัยในสวนสาธารณะจึงเป็นสาธารณะสมบัติที่คนในสังคมควรต้องช่วยกันดูแลรักษา  เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยสืบไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/602
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012160008.pdf32.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.