Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/607
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorTuanjit Moolinen
dc.contributorเตือนจิต มูลอินทร์th
dc.contributor.advisorJiraporn Chanoen
dc.contributor.advisorจิระพร ชะโนth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2020-05-14T06:04:32Z-
dc.date.available2020-05-14T06:04:32Z-
dc.date.issued23/7/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/607-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThis study aimed to 1) investigate the indicators of components of inclusive education management, 2) study the current state and desirable state of inclusive education management for the school under the office of educational service area in Roi–et province, 3) develop guideline of inclusive education management of the school under the office of educational service area in Roi–et province. The study was divided into 3 phases, 1) Study indicators of components of inclusive education management, key informants were 7 luminaries and research instrumentation was the indicators and components suitability assessment form. 2) Study the current state and the desirable state of inclusive education management, the group of samples were 377 administrators and teachers of inclusive school under the office of educational service area in Roi–et province in academic year 2017, research instrumentation were the current state and desirable state of inclusive education management questionnaire. And 3) development guideline of inclusive education management, key informants were 14 luminaries including 7 focus group luminaries and 7 guidelines assessment luminaries and research instrumentations were 1) focus group recording form, and 2) guidelines assessment form. The statistics used for data analysis were frequency, mean, standard deviation and the priority needs index (PNImodified). The results were as follows:                       1. The result of the components and the indicators of inclusive education management were 5 components 20 indicators including 1) preparation 6 indicators, 2) survey and separation 6 indicators, 3) create individualized education program (IEP) and individual implementation plan (IIP) 2 indicators, 4) teaching implementation 2 indicators, and 5) assessment implementation 4 indicators. The result of suitability assessment were at high level onwards.                                             2. The current state and the desirable state of inclusive education management for the school under the office of educational service area in Roi–et province were found: the current state overall at moderate level, and all aspects were also at moderate levels, the desirable state overall at highest level, and all aspects were also at highest levels.                                                                 3. The guideline of inclusive education management of the school under the office of educational service area in Roi–et province were found; the guideline’s handbook was appropriated and effected to the student quality development efficacy in 5 steps were as follows:                                                  3.1 Guideline of preparation included 6 method/steps guidelines, 17 activities.           3.2 Guideline of children survey and separation included 5 method/steps guidelines, 16 activities.                                                                          3.3 Guideline of create individualized education plan (IEP) and individual implementation plan (IIP) included 5 method/steps guidelines, 6 activities.                    3.4 Guideline of teaching implementation included 1 method/steps guideline, 5 activities.                                                                              3.5 Guideline of assessment implementation included 7 method/steps guidelines, 7 activities.                                                                                  The result of inclusive education management guideline for schools under the office of educational in Roi-et province: The suitability assessment overall at highest levels (Mean = 4.73, S.D. = 0.44) and the possibility assessment overall at highest levels (Mean = 4.72, S.D. = 0.45).en
dc.description.abstractความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และเครื่องมือ คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 377 คน และเครื่องมือ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การเตรียมการ มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 การสำรวจและการคัดแยกเด็ก มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำแผนการจัดการศึกษารายบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มี 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินการจัดการเรียนการสอน มี 2 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 5 การประเมินผลการดำเนินการ มี 4 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากขึ้นไป                2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด                  3. แนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า แนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้คู่มือแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่เหมาะสม และส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเรียนรวมเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้                                        3.1 การเตรียมการ ประกอบด้วย แนวทางวิธีการ/ขั้นตอน 6 แนวทาง 17 กิจกรรม           3.2 การสำรวจและคัดแยกเด็ก ประกอบด้วย แนวทางวิธีการ/ขั้นตอน 5 แนวทาง 16 กิจกรรม                                                                                                      3.3 การจัดทำแผนการจัดการศึกษารายบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ประกอบด้วย แนวทางวิธีการ/ขั้นตอน 5 แนวทาง 6 กิจกรรม                                  3.4 การดำเนินการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย แนวทางวิธีการ/ขั้นตอน 1 แนวทาง 5 กิจกรรม                                                                                                  3.5 การประเมินผลการดำเนินการ ประกอบด้วย แนวทางวิธีการ/ขั้นตอน 7 แนวทาง 7 กิจกรรม                                                                                                   ผลการประเมินแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเแลี่ย = 4.73, S.D. = 0.44) และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเแลี่ย = 4.72, S.D. = 0.45)th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectแนวทางการจัดการศึกษาth
dc.subjectการศึกษาแบบเรียนรวมth
dc.subjectGuideline of Education Managementen
dc.subjectInclusive Educationen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Developing of the Guideline of Inclusive Education Management for the  School in the Office of Educational Service Area in Roi – et Provinceen
dc.titleการพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม  สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586016.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.