Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/609
Title: | Cultural Politics and Deconstruction of Literary in Lao Literatures การเมืองวัฒนธรรมกับการรื้อสร้างวรรณศิลป์ในวรรณคดีลาว |
Authors: | Rangsan Naiprom รังสรรค์ นัยพรม Pathom Hongsuwan ปฐม หงษ์สุวรรณ Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Keywords: | การเมืองวัฒนธรรม การรื้อสร้างวรรณศิลป์ วรรณคดีลาว Cultural Politics Deconstruction of Literary Lao Literature |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Lao literature is a cultural context that is crucial to the way of life in Lao society. It plays a key role in terms of entertainment, an expression of social system and patriotism as well as an implication of unequal power relations in the patterns of politics and cultures. In addition, literary arts in Lao literatures have become the important apparatus that the elite in power used to deconstruct the established meanings in order to dominate and legitimate a social order. Literary works are also used by the powerless to build a bargaining power. The present work aimed 1) to study political and cultural issues in Loa literature and 2) to explore the characteristics of deconstruction in Lao literatures. Data used in the research were classified into two types: written data during the Lanxang Kingdom, and cultural data pertaining to Lao literatures in the present-day Lao society. The present research was modeled on the methodology used in literary studies, ethnology, and sociology. The work employed the concepts derived from cultural politics, deconstruction, politics of language and literary techniques.
The research findings were as follows. Loa literatures and cultural politics showed five aspects. 1) Class politics: to this category belonged the power establishment by the ruling class, a hereditary ruler, a discourse on knowledge, traditions and rituals, daily activities, exploration and creation of a political network; to the class power bargaining belonged foods, wisdom and disguise by the characters for bargaining. 2) Ethnic politics: to this category belonged self-justification, maintenance of an ethnic identity, an ethnic blending, ethnic prejudice and assimilation. The ethnic power bargaining was conveyed through the ethnic groups that destroyed Buddhism and through the meanings on the ethnic kinships. 3) Religious politics: it was found that a religion played a vital role in establishing the power. They might be the rulers who were charismatic leaders, cultural leaders and imperial kings. Religious power bargaining included recognition and reconciliation through religious patronage, impersonating by literary characters, ritual performance, prediction, narratives and use of symbols. Religious conflicts meant the ones in fighting a war and creating otherness in the Jataka tales. 4) Politics on gender: it was found that the gender domination was eminently characterized: sexually objectifying a woman’s body, a woman born from a man, and a woman as a wild creature. A power bargaining concerning a gender included a woman and a political establishment, domination over the knowledge discourse, using a physical body to obtain more meanings, and competition for religious space. 5) Politics on space referred to urban space and natural space and struggle for the class significance, natural space and gender significance. Spiritual space included a sacred space and competition for ethnic and religious meanings. Social politics were social space and competition for gender and ethnic signification.
Considering a deconstruction of literacy arts in Lao literatures, five characteristics were found. 1) There was a deconstruction of literary works through representation. Poetic works were turned into prose ones; dramatic works were changed into the ethnic messages. 2) Literary arts were deconstructed by using words. In the process, foreign words were reduced and changed; royal words were normally employed along with nationalistic dimensions; pronouns and nouns were used to distinguish ethnic identities. 3) Literary works were deconstructed by using images. It was found that symbols, similes, metaphors, personification, hyperbole, and allusions were used to associate politics with power. 4) Literary works were deconstructed through the literary components: nationalism, ethnicity, and gender. Deconstruction of literary works through characters was conducted through nationalism, ethnicity and gender. Deconstruction through scenes was done by deconstructing scenes and nationalistic dimensions and ethnics. 5) Deconstruction through changes in the present-day Lao society showed the deconstruction through performance art, Buddhist forum and lessons.
In conclusion, Lao literatures as the cultural text had shown the implication of the cultural politics in a wide variety of dimensions. They included dynamic signification that can all the times deconstruct things according to social contexts and historical periods. It was apparent that Lao literatures have become a set of discourses employed by culturally different groups to compete for meaning and space for their respective groups. วรรณคดีลาวถือเป็นตัวบททางวัฒนธรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมลาว ทั้งในส่วนของการให้ความบันเทิง เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงระบบสังคมและความเป็นชาติ รวมไปถึงแสดงนัยความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันของผู้คนในรูปแบบการเมืองวัฒนธรรม นอกจากนี้วรรณศิลป์ในวรรณคดีลาวยังได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่กลุ่มผู้มีอำนาจนำมารื้อสร้างความหมาย เพื่อการครอบงำและสร้างความชอบธรรมในการจัดระเบียบสังคม ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือของผู้ไร้อำนาจเพื่อสร้างอำนาจต่อรองด้วย วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการนำเสนอประเด็นการเมืองวัฒนธรรมในวรรณคดีลาว และ 2) เพื่อศึกษาลักษณะการรื้อสร้างวรรณศิลป์ในวรรณคดีลาว ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วรรณคดีประเภทลายลักษณ์สมัยอาณาจักรล้านช้างและข้อมูลทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีลาวในสังคมลาวปัจจุบัน การวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางวรรณกรรมศึกษา คติชนวิทยา และสังคมวิทยา โดยใช้แนวคิดหลักคือ แนวคิดการเมืองวัฒนธรรม (Cultural Politic) แนวคิดการรื้อสร้าง (Deconstruction) แนวคิดการเมืองของภาษา (Politic of Language) และแนวคิดการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ (Literary Technique) ผลการวิจัยพบว่า ด้านวรรณคดีลาวกับการนำเสนอประเด็นการเมืองวัฒนธรรม พบว่าได้ปรากฏ 5 ลักษณะคือ 1) การเมืองเรื่องชนชั้น พบการครอบงำทางชนชั้น ได้แก่ การสถาปนาอำนาจทางชนชั้นผู้ปกครองผ่านการกำเนิดและการตาย วาทกรรมความรู้ ประเพณีพิธีกรรม กิจกรรมในชีวิตประจำวัน อนุภาคการทดสอบ และการสำรวจและการสร้างเครือข่ายทางการเมือง ส่วนการต่อรองอำนาจทางชนชั้น ได้แก่ การใช้อาหาร ปัญญา และการปลอมตัวเพื่อต่อรองทาง ชนชั้น 2) การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ พบการธำรงชาติพันธุ์ ได้แก่ การพิสูจน์ตัวตนกับการธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การผสมผสานทางชาติพันธุ์และอคติกับการกลืนทางชาติพันธุ์ ส่วนการต่อรองอำนาจทางชาติพันธุ์ ได้แก่ การต่อรองผ่านความหมายว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทำลายพุทธศาสนา และการต่อรองผ่านความหมายว่าด้วยความเป็นเครือญาติทางชาติพันธุ์ 3) การเมืองเรื่องศาสนา พบว่าศาสนาได้มีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจของผู้ปกครอง ทั้งผู้นำแบบผู้มีบุญ ผู้นำทางวัฒนธรรม และผู้นำแบบจักรพรรดิราช ด้านการต่อรองอำนาจทางศาสนา ได้แก่ การยอมรับและการประนีประนอมผ่านการเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนา การแปลงกายของตัวละคร การประกอบพิธีกรรม การพยากรณ์ การอ้าง เรื่องเล่า และการใช้สัญลักษณ์ ส่วนความขัดแย้งทางศาสนา ได้แก่ ความขัดแย้งของพฤติกรรมการสู้รบและการสร้างความเป็นอื่นในประชุมชาดก 4) การเมืองเรื่องเพศสถานะ พบการครอบงำทางเพศสถานะ ได้แก่ การประกอบสร้างร่างกายผู้หญิงในฐานะวัตถุทางเพศ ผู้หญิงกำเนิดมาจากผู้ชาย และผู้หญิงเป็นสัตว์ป่า ส่วนการต่อรองอำนาจทางเพศสถานะ ได้แก่ ผู้หญิงกับการสถาปนาอำนาจทางการเมือง การครอบครองวาทกรรมความรู้ การใช้ร่างกายเพื่อช่วงชิงความหมาย และการช่วงชิงพื้นที่ทางศาสนา และ 5) การเมืองเรื่องพื้นที่ พบการเมืองเรื่องพื้นที่ทางกายภาพ ได้แก่ พื้นที่เมืองและพื้นที่ธรรมชาติกับการช่วงชิงความหมายทางชนชั้น และพื้นที่ทางธรรมชาติกับการช่วงชิงความหมายทางเพศสถานะ ด้านการเมืองเรื่องพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ได้แก่ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับการช่วงชิงความหมายทางชาติพันธุ์และศาสนา ส่วนการเมืองเรื่องพื้นที่ทางสังคม ได้แก่ พื้นที่ทางสังคมกับการช่วงชิงความหมายทางเพศสถานะ และชาติพันธุ์ ด้านการรื้อสร้างวรรณศิลป์ในวรรณคดีลาว พบว่าได้ปรากฏ 5 ลักษณะ ได้แก่ การรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านรูปแบบการนำเสนอ พบการรื้อสร้างวรรณคดีร้อยกรองให้เป็นวรรณคดีร้อยแก้วกับมิติชาตินิยม การรื้อสร้างกลอนบทละครให้เป็นโคลงสารกับมิติชาติพันธุ์ และการรื้อสร้างประเภทของวรรณคดีกับมิติชาตินิยม 2) การรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านการใช้คำ พบการลดทอนและเปลี่ยนแปลงคำภาษาต่างประเทศ คำราชาศัพท์กับมิติชาตินิยม การใช้คำขึ้นต้นกับการช่วงชิงความหมายทางชาติพันธุ์ และการใช้คำสรรพนามและคำนามเพื่อแบ่งแยกอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 3) การรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านการใช้ภาพพจน์ พบการใช้สัญลักษณ์ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัทพจน์ และการอ้างถึงที่ถูกทำให้สัมพันธ์กับการเมืองเรื่องอำนาจ 4) การรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านองค์ประกอบทางวรรณคดี พบการรื้อสร้างโครงเรื่องกับมิติชาตินิยม ด้านการรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านตัวละคร พบการรื้อสร้าง ตัวละครกับมิติชาตินิยม ชาติพันธุ์ และเพศสถานะ ส่วนการรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านฉาก พบการ รื้อสร้างฉากกับมิติชาตินิยมและชาติพันธุ์ และ 5) การรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านการปรับเปลี่ยนในสังคมลาวปัจจุบัน พบการรื้อสร้างวรรณศิลป์ผ่านศิลปะการแสดง เวทีพุทธศาสนาและแบบเรียน โดยสรุป วรรณคดีลาวในฐานะตัวบททางวัฒนธรรมได้แฝงนัยการเมืองวัฒนธรรมในมิติที่หลากหลาย รวมไปถึงมีความหมายที่เป็นพลวัตที่สามารถรื้อสร้างใหม่ได้อยู่ตลอดเวลาตามบริบททางสังคมและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ อันแสดงให้เห็นว่าวรรณคดีลาวได้กลายเป็นวาทกรรมชุดหนึ่งที่ผู้คนต่างกลุ่มต่างวัฒนธรรมนำมาปรับใช้เพื่อช่วงชิงความหมายให้กลุ่มตนได้มีพื้นที่ในทางสังคม |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/609 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010161002.pdf | 4.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.