Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/61
Title: Sin Sai: Functions and Interaction between Classical Literature and Laos Society and Culture
สินไซ : บทบาทหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกกับสังคมวัฒนธรรมลาว
Authors: Phitsaphong Vongphachanh
Phitsaphong Vongphachanh
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: สินไซ
บทบาทหน้าที่
ปฏิสัมพันธ์
สังคมและวัฒนธรรมลาว
Sinxai
Functions
Interaction
Lao Cultural Society
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The literary work, ‘Sinxai’ is regarded as one of the greatest literary works of Lao people. It plays an interesting social and cultural function. The objectives of the research were 1) to study the functions and duties of the literary inheritance in Lao society, and 2) to explore the interaction between the inherited literature and social and cultural context of Laos. The research was based on nine versions of ‘Sinxai’ and field data combined. The concepts of functionalism and inter-texuality were applied in the research. The research found that the literary work, ‘Sinxai’ was represented via a variety of forms in different ages.  It indicated that the representation had been passed on for generations.  it was found that Sinxai played a vital functions in the following six aspects. 1) Entertainment, proverbs, sayings, folk performance and short tales: it can be assumed that  the literary work in the study were deeply rooted in the way of folk entertainment. 2) Education: the study found that Sinxai played a function in education of the generations of Lao people. The content as found in the work was used to instruct the young to be good according to the ideal goals as described in the work. 3) Tradition and rituals:  it was found that Sinxai played a crucial function in giving the sermons, sacrificing, and performing other several rituals. Apparently, Sinxai was the only work that was deeply ingrained in Lao culture and could provide a spiritual help to those in despaire. 4) Government:  the work taught both the rulers and the subordinates to live together peacefully and reciprocally. The study found that the ruler or leader in addition to being virtuous had to strictly observe the ten rules of the rulers as per the customs and traditions.  5)  Identity of Lao people:  Sinxai played a vital role in making being Lao more prominent, especially the characteristics and habits of Lao people.  As the work revealed, other identities were also found: dressing,  families, kinship, cultural geography. The work in the study was the melting pot in which the  entire population of Laos was molded,  diverse ethnic  groups were combined and the culture and traditions were shared. 6)  Social and cultural mirror:  records of the past society and livelihood of the Lao people were provided in the work. Sinxai had reflected the traditions and way of life, and beliefs of Lao people. Considering the interaction between the work, ‘Sinxai’ and the social and cultural  context,  five dimensions were found. 1)  Structured interaction:  the Lanna style structure was found.  The structure featured the high rank ‘monarch’,  the middle class ‘bourgeoisie’, and the low class ‘the poor’ and the underprivileged’. The interaction between the classes was represented in the work in question. 2) Political interaction:  Sinxai had characterized the political interaction before 1975, the liberation period of 1975 -1986, and the new era of 1986 –present. The concepts found in the work were wisely employed for the political purpose to strengthen the party’s goals. 3) Religious interaction:  the work showed a well-balanced combination of Buddhism, Brahmanism and indigenous beliefs. 4) Sex/ gender interaction: it was found that people were assigned according to the gender. Men were typically leaders, rulers and protectors. On the other hand, women were taught how to manage households and they were to preserve and maintain the family culture.  The concept and practice were even seen in the present day Lao society. 5) Ethnic interaction: it was found that the literary work in the study featured the Lao ethnic group being more dominant than other groups. To conclude, Sinxai had played a very important function in terms of functions, duties and cultural interaction in Lao society. As a result, it has been irretrievably related to Lao society and culture. 
วรรณคดีเรื่องสินไซถือได้ว่าเป็นวรรณคดีมรดกชั้นยอดของกลุ่มชนชาวลาว  และมีบทบาทในทางสังคมวัฒนธรรมได้อย่างน่าสนใจ  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซในสังคมลาว และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมลาว โดยใช้ตัวบทวรรณคดีลาวเรื่องสินไซสำนวนร้อยกรองจำนวนทั้งสิ้น 9 สำนวนและข้อมูลพื้นที่ภาคสนามที่ปรากฏเรื่องเล่าเกี่ยวกับสินไซซึ่งสัมพันธ์กับบริบทสังคมและวิถีวัฒนธรรมลาวในพื้นที่ประเทศลาว โดยใช้แนวคิดบทบาทหน้าที่ (Functionalism) และแนวคิดสหบท (Intertextuality) ผลการวิจัยพบว่า วรรณคดีมรดกเรื่องสินไซ  ได้รับการนำเสนอผ่านรูปแบบที่หลากหลายต่างยุคต่างสมัยกัน  ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการสืบทอดและพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องว่าเรื่องสินไซเป็นวรรณคดีมรดกที่ฝังแน่นอยู่ในความทรงจำและปรากฏในสายธารวัฒนธรรมของคนลาวมาโดยตลอด มิติดังกล่าวถือเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซ  จากการศึกษาพบว่าสินไซเป็นวรรณคดีที่มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่อสังคมวัฒนธรรมลาว 6 ประการ คือ 1) บทบาทหน้าที่ต่อความบันเทิงในลาวทั้งต่อผญาภาษิต  หมอลำ คำกลอน ละคร เรื่องสั้นลาว เป็นต้น มิติเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าสินไซเป็นวรรณคดีที่เข้ามาแทรกซึมอยู่ในวิถีความบันเทิงแบบลาว 2) ด้านการศึกษาและคำสอนพบว่า สินไซมีบทบาทหน้าที่สำคัญต่อการศึกษาของลูกหลานชาวลาวทั่วประเทศ เนื้อหาที่ใช้ในวงการศึกษาลาวจะเน้นหลักคำสอนที่คอยกล่อมเกลาจิตใจลูก หลานชาวลาวให้เป็นคนดีตามอุดมคติของสังคม และทำหน้าที่เสนอระเบียบกฎเกณฑ์ ที่เป็นบรรทัดฐานต่อเยาวชนลาว จึงถือได้ว่าสินไซเป็นวรรณคดีสร้างชาติและมีบทบาทหน้าที่ต่อการศึกษา 3) ด้านประเพณี พิธีกรรมพบว่า สินไซมีบทบาทต่อประเพณีพิธีกรรมการเทศน์ การบวงสรวงแถน การรำบวงสรวงปู่สินไซ การสู่ขวัญ บทบาทหน้าที่ดังกล่าวทำให้สินไซเป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญเรื่องเดียวที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนและช่วยแก้ไขปัญหาความคับข้องของชีวิตและเยียวยาความสิ้นหวังของผู้คนในลาว 4) ด้านการปกครองสินไซได้มีบท บาทหน้าที่ต่อระบบการปกครองลาวทั้งในแง่ของคำสอนเรื่องระบบการปกครองที่มุ่งเน้นสอนให้ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย  ซึ่งตัวบทเสนอว่าผู้นำหรือเจ้ามหาชีวิตลาวนอกจากเป็นนักปกครองที่มีบุญบารมีแล้วยังจำเป็นต้องดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมตามขนบจารีตลาว 5)  ด้านการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาวพบว่า มีบทบาทหน้าที่ต่อการสร้างความเป็นลาวให้เด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะการสร้างอัตลักษณ์เกี่ยวกับคุณลักษณะและอุปนิสัยของคนลาวให้มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว  ทั้งในส่วนของอัตลักษณ์การแต่งกาย  อัตลักษณ์ทางครอบครัวและเครือญาติ  อัตลักษณ์ทางภูมิวัฒนธรรม และการสร้างอัตลักษณ์ทางวรรณคดีของเรื่องสินไซโดยรื้อฟื้นวรรณคดีเรื่องสินไซและสัญญะทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องขึ้นมาใหม่ ในฐานะวรรณคดีและมรดกของชาติร่วมกัน  โดยมี “สินไซ” เป็นตัวกลางในการหลอมรวมประชาชนชาวลาวทั้งประเทศ และกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งประเทศให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีวัฒนธรรมประเพณีอันยาวนานร่วมกัน และ 6) ด้านภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม ชี้ให้เห็นว่ายังมีการบันทึกภาพสังคมลาวในอดีตอย่างน่าสนใจ และสินไซได้ส่งผ่านภาพสะท้อนประเพณีชีวิต วิถีชีวิตและระบบความเชื่อต่าง ๆ ของลาว ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนเข้าใจความนึกคิดของบรรพชนลาว  ส่วนการศึกษาด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมลาวมีการปฏิสัมพันธ์ใน 5 มิติด้วยกัน คือ 1) การปฏิสัมพันธ์ทางชนชั้นมีโครงสร้างชนชั้นแบบอาณาจักรล้านช้าง ดังพบว่า มีชนชั้นสูงแบบกษัตริย์ ชนชั้นกลางแบบพวกกระฎุมพี และชนชั้นล่างแบบสามัญชนคนยากจนและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ด้อยกว่า และการปฏิสัมพันธ์ทางชนชั้นยังได้ถูกนำเสนอผ่านการนำตัวบทวรรณคดีมาปรับใช้โดยนักธุรกิจ นักปราชญ์ นักศึกษา กวี  ผู้นำ รัฐชาติ เป็นต้น 2) การปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองพบว่า สินไซได้มีปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งในระบอบเก่า ก่อนปี ค.ศ. 1975 การเมืองในช่วงปลดปล่อย ปี ค.ศ. 1975–1986 และการเมืองในยุคจินตนาการใหม่  ปี ค.ศ.1986- ปัจจุบัน  วรรณคดีเรื่องสินไซได้ถูกนำเอาแก่นความคิดและระบบการเมืองแบบสินไซเข้ามามีปฏิสัมพันธ์เข้ากับแนวคิดสำคัญ ๆ ของพรรคและรัฐ กล่าวคือ นำเอาแนวคิดในสินไซมาปรับใช้ในภารกิจการปฏิวัติและก่อสร้างสังคมนิยมในลาวได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง 3) การปฏิสัมพันธ์ทางศาสนามีการปฏิสัมพันธ์ทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์และคติความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัว 4) การปฏิสัมพันธ์ทางเพศพบว่า เพศได้ถูกกำหนดบทบาทตามสถานะเพศกำเนิด ดังจะพบว่า ผู้ชายในวัฒนธรรมสินไซแบบลาวมีความเป็นผู้นำผู้คุ้มครองในสังคมลาว ขณะที่ผู้หญิงจะได้รับการให้ความสำคัญในแง่ของวิชาความรู้ในการครองเรือน และเป็นผู้สร้างและรักษาวัฒนธรรมในครอบครัว ทั้งในแง่ของความรักความผูกพัน รวมถึงความสามัคคีของคนในครอบครัวและเครือญาติแบบลาวเก่า คติเช่นนี้ได้ส่งผลมาถึงผู้คนในสังคมลาวปัจจุบัน และ 5) การปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ พบว่า มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เผ่าลาว ทั้งเผ่าลาวเทิง (ข่า) เผ่าลาวสูง (ม้ง) และเผ่าลาวลุ่ม โดยตัวบทวรรณคดีได้นำเสนอให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ชาติพันธุ์เผ่าลาวลุ่มมีเหนือชาติพันธุ์อื่น โดยสรุป วรรณคดีลาวเรื่องสินไซมีบทบาทหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมวัฒนธรรมลาวมาโดยตลอดจากอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ลักษณะดังกล่าวทำให้วรรณคดีมรดกสินไซมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมลาวในฐานะวรรณคดีของประชาชาติและวรรณคดีในวิถีวัฒนธรรมลาวสินไซ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/61
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010161506.pdf9.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.