Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/612
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorAdun Udombuaen
dc.contributorอดุลย์  อุดมบัวth
dc.contributor.advisorPilanut Phusawisoten
dc.contributor.advisorพิลานุช ภูษาวิโศธน์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciencesen
dc.date.accessioned2020-05-19T06:25:10Z-
dc.date.available2020-05-19T06:25:10Z-
dc.date.issued11/12/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/612-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe purposes of this study were to investigate the effects of using the Jigsaw technique on students’ English reading comprehension skill and how to Jigsaw technique helped the students improve their English reading comprehension skill. This study was a quasi-experimental design. The participants consisted of sixty eleventh graders from two classrooms at a secondary school in Khon Kaen, Thailand. The control group consisted of thirty eleventh graders and the experimental group consisted of thirty eleventh graders selected by simple random sampling. Four lesson plans were designed based on the Jigsaw technique with the cycles of Task-based language learning. The instruments were a pre-test and a post-test, a questionnaire, a semi-structured interview, and a diary. The data were analyzed using independent t-tests, paired t-tests, content analysis, and triangulation technique. The findings revealed that the post-test scores of the students learning through the implementation of the Jigsaw technique with Task-based learning were higher than those who learned via the traditional approach. The dynamic of the “Home Group” and the “Expert Group” facilitated students’ interaction and enhanced students’ reading comprehension. The findings suggest pedagogical implications for reading instruction in Thai EFL classroom settings.en
dc.description.abstractสืบเนื่องจากปัญหาการอ่านเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับนักเรียนในโรงเรียน เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมการอ่าน นักเรียนไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ นักเรียนไม่สามารถจำแนกส่วนประกอบของบทอ่านที่ประกอบด้วยหัวเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง ข้อมูลสนับสนุน ตัวละครหลักและตัวละครอื่นๆ ของเรื่อง สถานที่ที่เกิดขึ้นและบทสรุปของเรื่อง จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผู้วิจัยต้องการหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว จุดประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาผลการใช้เทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนและศึกษาว่าเทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) มีผล อย่างไรต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน รูปแบบการวิจัยคือการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้เข้าร่วมการวิจัยประกอบด้วยประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน ของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ซึ่งมีการจัดห้องเรียนในลักษณะคละความสามารถทางการเรียน และถูกเลือกแบบง่ายให้เข้าร่วมการวิจัยอย่างเท่าเทียมกัน เครื่องมือในการทดลองคือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบกิจกรรมโดยยึดเทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงาน จำนวน 4 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและบันทึกของนักเรียน สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย independent t-tests, paired t-tests, content analysis, และ triangulation technique จากผลของแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน พบว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงาน มีคะแนนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติ ซึ่งบ่งชี้ได้ว่านักเรียนพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังจากเรียนผ่านเทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงาน นอกจากเทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มบ้าน (Home group) และกลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) กลุ่มการเรียนดังกล่าวช่วยส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสืบเนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน นอกจากนี้นักเรียนเข้าใจบทอ่านจากการอ่านส่วนของบทอ่านไปยังส่วนประกอบทั้งหมดของบทอ่านและได้ฝึกการหาส่วนประกอบของบทอ่านจาก กิจกรรมจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจในบทอ่านมากยิ่งขึ้นth
dc.language.isoen
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectเทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw)th
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานth
dc.subjectการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจth
dc.subjectJigsaw Techniqueen
dc.subjectTask-Based Learningen
dc.subjectReading Comprehension Skillen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleThe Effect of Jigsaw Technique on English Reading Comprehension Skill in a Thai Secondary School en
dc.titleผลการใช้เทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010181003.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.