Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/622
Title: | Development of the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล |
Authors: | Chattrakan Thaneepoon ฉัตรกาญจน์ ธานีพูน Nongluk Viriyapong นงลักษณ์ วิริยะพงษ์ Mahasarakham University. The Faculty of Science |
Keywords: | บาร์โมเดล โจทย์ปัญหาเลขคณิต bar model arithmetic problem |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this research was to (1)development of learning management plan by the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model with efficiency according to criteria 75/75. (2) To study the development of academic achievement by the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model by using the criteria of 50 percent of the points that were deducted from the test before class.(3) To compare about mathematics learning achievement by the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model with 75 percent criteria. (4) To compare the ability to solve arithmetic problems about the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model with 70 percent criteria. The sample group consisted of students in Prathomsuksa 3, room 2, 30 people, 2nd semester, academic year 2018, Anuban Chom Phra School Surin Province which is derived from group(Cluster random sampling). The instrument used in this study was a learning management plan by the arithmetic problem solving abilities using Polya’s problem solving process with bar model , Mathematics achievement test and a test to measure the ability to solve mathematical problems.
The research results were as follows:
1. Learning management plan by the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model with more efficiency according to criteria 75/75.
2. Development of academic achievement by the arithmetic problem solving abilities of Prathomsuksa 3 students using Polya’s problem solving process with bar model with an average score from the post-test test equal to 17.20 points which is higher than the specified criteria.
3. Students who have been learning by using Polya’s problem solving process with bar model to develop learning achievement in arithmetic problem solving of Prathomsuksa 3 having higher learning achievement than 75 percent at a statistically significant of .05 level.
4. Students who have been learning by using Polya’s problem solving process with bar model to develop the ability in arithmetic problem solving of Prathomsuksa 3 having higher ability than the 70 percent at a statistically significant of .05 level. การศึกษาค้นคว้านี้มีความมุ่งหมาย(1)เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของ โพลยาร่วมกับบาร์โมเดล โดยใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 50 ของคะแนนที่ถูกหักออกจากการทดสอบก่อนเรียน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล กับเกณฑ์ร้อยละ 75 (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเลขคณิต เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2.พัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 17.20 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดลเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/622 |
Appears in Collections: | The Faculty of Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010283009.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.