Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/63
Title: Chao Anouvong Myths: The Politics of Narrative with the Construction of National Consciousness of Laoness
ตำนานเจ้าอนุวงศ์: การเมืองของเรื่องเล่ากับการสร้างสำนึกความเป็นชาติลาว
Authors: Rinlaphat Suebsimma
รินทร์ลภัส สืบสิมมา
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ตำนานเจ้าอนุวงศ์
การเมืองของเรื่องเล่า
การสร้างสำนึกความเป็นชาติลาว
Chao Anouvong Myths
Politic of Narrative
The National Consciousness of Laoness
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of “Chao Anouvong Myths: The Politics of Narrative with the Construction of National Consciousness of Laoness” are to study that how the Chao Anouvong Myths as a political history in Laos has presented the politics of the story and how Chao Anouvong Myths played a role in National Consciousness of Laoness. The scope of the study is legendary subfamily both as written information such as book, article, dissertation, encyclopedia, chronicle, learning book, related printing media, collected oral information, and additional field data collections such as tale, song, dance, social action, and rite. Only Laos written information and oral information were studied. The study found that the Chao Anouvong Myths is one of the narrative history about the heroic king who was resurrected from the country's development policy called "New imagination" or economic reform to the liberalism that is the opening of the country for being a part of globalization. Then, the government of Laos revived the heroic reverence to provoke the Lao nation's consciousness and being an implement for maintaining the power of the Lao Socialist Government significantly. The story of the Chao Anouvong Myths is made up of "discourse" under the nationalism concept by disguising the political ideology. In the other words, the story was created to disseminate discourse is a set of bedecked ideas to present knowledge or historical truth for being as a reference implement for government legitimacy dissemination and guide the political ideology to readers. The existence of the Chao Anouvong Myths has played a role in National Consciousness of Laoness through the production and creation information by creating a new importance for the chapter by the party and the state. The legendary stories content emphasizes the situation of the oppressed Lao society from the Siam feudal, causes of independence war, valiant brave in bringing people to fight for independence and sacrificing life for the nation, importance of the history of Chao Anouvong’s regaining is model for future generations to follow their intentions, and a production of a chapter that presents a set of ideas that such intentions were later inherited by the party and state through the linkage of Chao Anouvong’s national struggle. As for the role of the Chao Anouvong Myths who has built National Consciousness of Laoness, it was found that creating a space of memories about the legendary subfamily are in various forms through both pictures, Laos landmarks naming, historical landmarks, and social practices and Chao Anouvong rituals. The monument creation to the Chao Anouvong is very important in National Consciousness of Laoness. In addition to communicating with the Laos people, it also communicates with Thailand through the symbolism of the statue of Chao Anouvong. That was produced, creating meaning that represents forgiveness and friendliness to Thailand. According to the political dimension, the Chao Anouvong Monument also plays a role in the Lao folklore beliefs with the transformation of the important king of Laos like Chao Anouvong to become sacred and spiritual anchor of the Laos in the present and also found that the ritual linkage of the subfamily and the ritual of the state was ingenious In order to create Lao nationality and the unity of Laos under the diversities of Laos and tribes.
การวิจัยเรื่อง “ตำนานเจ้าอนุวงศ์: การเมืองของเรื่องเล่ากับการสร้างสำนึกความเป็นชาติลาว” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ตำนานเจ้าอนุวงศ์ในฐานะที่เป็นเรื่องเล่าทางการเมืองลาวมีการนำเสนอการเมืองของเรื่องเล่าอย่างไร รวมถึงเพื่อศึกษาว่าตำนานเจ้าอนุวงศ์มีบทบาทต่อการสร้างสำนึกความเป็นชาติลาวในรูปแบบใด ผู้วิจัยมีขอบเขตการศึกษาตำนานเจ้าอนุวงศ์ที่ทั้งที่เป็นข้อมูลลายลักษณ์ ได้แก่หนังสือ บทความ งานวิจัย สารานุกรม พงศาวดาร หนังสือแบบเรียน และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลมุขปาฐะทั้งที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้วและข้อมูลสนามที่ผู้วิจัยเก็บเพิ่มเติมได้แก่ นิทาน เพลง บทฟ้อน ปฏิบัติการทางสังคมและพิธีกรรม โดยจะศึกษาเฉพาะข้อมูลลายลักษณ์และข้อมูลมุขปาฐะที่เป็นภาษาลาวเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่าตำนานเจ้าอนุวงศ์เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวเกี่ยวกับวีรกษัตริย์ที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นจากนโยบายในการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า “จินตนาการใหม่” หรือการปฏิรูปเศรษฐกิจสู่แนวทางเสรีนิยม  เป็นการเปิดประเทศเพื่อเชื่อมโยงลาวให้เป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ รัฐบาลลาวจึงรื้อฟื้นการเชิดชูวีรกษัตริย์เพื่อปลุกเร้าสำนึกความเป็นชาติลาวและเป็นเครื่องมือในการธำรงอำนาจการปกครองของรัฐบาลสังคมนิยมลาวอย่างมีนัยสำคัญ เรื่องเล่าตำนานเจ้าอนุวงศ์ถูกประกอบสร้างขึ้นจาก “วาทกรรม” ภายใต้แนวความคิดชาตินิยม โดยแฝงอุดมการณ์ทางการเมือง กล่าวคือ เรื่องเล่าตำนานเจ้าอนุวงศ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่วาทกรรม ซึ่งเป็นชุดความคิดที่ถูกตกแต่งขึ้นเพื่อนำเสนอความรู้หรือความจริงทางประวัติศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงความชอบธรรมในการปกครอง เพื่อเผยแพร่และชี้นำอุดมการณ์ทางการเมืองแก่ผู้อ่าน การดำรงอยู่ของเรื่องเล่าตำนานเจ้าอนุวงศ์มีบทบาทในการสร้างสำนึกความเป็นชาติของลาว ผ่านการผลิตสร้างข้อมูลโดยมีการสร้างความหมายใหม่ให้กับตัวบทโดยพรรคและรัฐ การนำเสนอเนื้อหาในเรื่องเล่าตำนานเจ้าอนุวงศ์ถูกเน้นย้ำในเรื่องของสภาพการณ์ของสังคมลาวที่ถูกกดขี่จากศักดินาสยาม สาเหตุการทำสงครามกู้เอกราช วีรกรรมที่องอาจกล้าหาญในการนำพาประชาชนต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราช และการพลีชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง และความหมายของประวัติศาสตร์การต่อสู้กู้ชาติของเจ้าอนุวงศ์อันเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังสืบทอดเจตนารมณ์ต่อไป อีกทั้งยังมีการผลิตสร้างตัวบทที่นำเสนอชุดความคิดที่ถูกสืบทอดต่อมาโดยพรรคและรัฐ ผ่านการเชื่อมโยงการต่อสู้กู้ชาติของเจ้าอนุวงศ์ ในส่วนของบทบาทของตำนานเจ้าอนุวงศ์ที่มีต่อการสร้างสำนึกความเป็นชาติลาวนั้น พบว่ามีการสร้างพื้นที่แห่งความทรงจำเกี่ยวกับตำนานเจ้าอนุวงศ์ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งผ่านรูปภาพ การตั้งชื่อสถานที่สำคัญของลาว สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และผ่านปฏิบัติการทางสังคมและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าอนุวงศ์ การสร้างอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสำนึกความเป็นชาติลาว นอกจากจะเป็นการสื่อสารกับประชาชนลาวแล้วยังเป็นการสื่อสารกับประเทศไทยผ่านสัญลักษณ์ของอิริยาบถอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ ที่ถูกผลิตสร้างความหมายที่สื่อถึงการให้อภัยและความเป็นมิตรกับประเทศไทย นอกจากมิติทางการเมืองแล้วอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ยังมีบทบาทต่อความเชื่อทางคติชนของคนลาว โดยมีการเปลี่ยนวีรกษัตริย์องค์สำคัญของลาวอย่างเจ้าอนุวงศ์ให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นรูปเคารพอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชนลาวในปัจจุบัน อีกทั้งยังพบว่ามีการเชื่อมโยงพิธีกรรมเจ้าอนุวงศ์กับพิธีกรรมของรัฐอย่างแยบยล ทั้งนี้เพื่อสร้างสำนึกความเป็นชาติลาวและความเป็นเอกภาพของชาติลาวภายใต้ความหลากหลายของประชาชนลาวบรรดาเผ่า
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/63
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180018.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.