Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/643
Title: The Effectiveness Supervision Model in Thai Instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand
รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Samart Pongsri
สามารถ   ผ่องศรี
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผล
การจัดการเรียนรู้
การสอนภาษาไทย
Effectiveness Supervision Model
Learning Management
Thai Instruction
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research of the effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand was purposed 1) to study current and desirable conditions of the effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand Supervision ; 2 to develop the effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand 3) to do an assessment of the effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand. The findings ; 1. The finding of the study of current and desirable conditions of The effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand showed that the current condition of the teacher in practice, on the whole, was in the middle level. In addition, desirable condition of supervision to enhance teachers competency in English instruction of private school teachers, on the whole, was in the highest level. 2. The result of the development of There were 3 big problems in supervision of school, personal, supervision planning, Supervision organizing and supervision model. which passed the quality inspection of supervision model from the experts, consisting of 5 major elements as following; element 1 principle of model; element 2 purpose of model; element 3 supervision process consisting of Survey 2) Educate 3) Plan 4) Implement 5) Reflect and 6) Evaluation element 4 Reflect ,element 5 model assessment, and element 6 success condition of model application. 3. The result of the development of the supervision model for teacher competency improvement on English learning instruction of teachers in private schools which passed the quality inspection of supervision model from the experts, consisting of 6 major elements as following; element 1 principle of model; element 2 purpose of model; element 3 supervision content; element 4 supervision process consisting of  Planning : P, Supervision Organizing :O, Reflecting :R and Evaluating : E, element 5 model assessment, and element 6 success condition of model application. 4. The assessment result on the effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand found that 1) knowledge and understanding test result of the teachers who were provided the supervision was higher than before; 2) the teachers who are provided the supervision's assessment result of instructional capability after receiving the supervision was higher than before, and their instructional capability was good 3) the result of teachers’ satisfaction towards The effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand, on the whole, was in the highest level; 4) the result of the students' opinions towards Thai language learning was overall in the highest level; and 5) the result of The effectiveness Supervision Model in Thai instruction of Private Primary School in The Northeastern Part of Thailand was overall in the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อประเมินผลโดยการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (1) ศึกษาความสามารถในการนิเทศการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผล (2) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผล (3) ศึกษาความคิดเห็นหรือทัศนคติของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนภาษาไทยโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 จังหวัด ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การเปรียบเทียบจากตารางกำหนดขนาด ตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan จำนวน 132 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 264 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารและครูผู้สอนภาษาไทยที่นำรูปแบบการนิเทศไปใช้ในชั้นเรียน 8 คน และนักเรียน 189 คน เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการเกี่ยวกับวิธีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินร่างรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินสมรรถนะการนิเทศการจัดการเรียนรู้ 6) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ 8) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 9) เครื่องบันทึกเสียง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Need Index (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน อยู่ในระดับมากที่สุด  2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีองค์ประกอบหลัก 5 ประการ คือ 1. หลักการของรูปแบบ 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. กระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผล มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน (Survey = S) 2) การจัดการให้ความรู้ (Educate = E) 3) การวางแผนการนิเทศ (Plan = P) 4) การปฏิบัติการนิเทศ (Implement = I) 5) การสะท้อนผลการนิเทศ (Reflect = R) และ6) การประเมินผล (Evaluation = E)  4. การประเมินรูปแบบ และ5. เงื่อนไขความสำเร็จของการนำรูปแบบไปใช้ 3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจของในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 2) ครูผู้รับการนิเทศมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 3) ครูผู้นิเทศมีความสามารถในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลอยู่ในระดับดี 4) ครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับมากที่สุด 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด และ 6) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/643
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010566003.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.