Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/65
Title: | A Comparative of Tale Literary work "Pla Bu Thong" in Thai Version with "Morana Mada" in Khmer Version การเปรียบเทียบวรรณกรรมนิทานเรื่องปลาบู่ทองฉบับภาษาไทยกับมรณมาตาฉบับภาษาเขมร |
Authors: | Peng Phat Peng Phat Pathom Hongsuwan ปฐม หงษ์สุวรรณ Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Keywords: | การเปรียบเทียบ วรรณกรรมนิทาน ปลาบู่ทอง มรณมาตา การรับรู้ Comparative The Story Telling Literture Pla Bu Thong Morana Mada Get a knowledge |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were to investigate the recognition of Morana Mada in Khmere culture with Pla Bu Thong in Thai culture and to compare the factors of literature in storyline, theme, players, scene and events in both story telling litertures. The researcher has studied in both story telling litertures: Pla-Bu-Thong in Thai (published in 2014) and Morana Mada in Khmere (published in 1964 and translated in Thai by the researcher). The research instrument was a folklore e.g. Concepts of comparing the story telling and the factors of literature.
The results of the study found that the recognition in both literatures of culture was similarity such as Pla Bu Thong in Thai in mouthpiece type means the story telling in believe, performance arts and songs. Besides, the cognition in written type means applying Pla Bu Thong written in variety styles such as folktale poem and children’s literature, etc. And the recognition of Morana Mada in Khmere was a similarlity with Pla Bu Thong in Thai in both types: mouthpiece type and written type.
Secondly, comparing the factors of literature revealed that both Thai and Khmer literature had similarities and differences. The title of storyline is deference such as Pla Bu Thong in Thai but in Cambodia is Morana Mada. The plot is deference is the storyline that has the beginning and the end of the storyline is similarity. However, comparing the players was similarity and difference. The similarity is the role of player as representative person in terms of good and bad behavior in real human society. And the difference are the names of players including with players as different plants e.g Bho-nguen- Bho thong tree in Pla Bu Thong, but Thong –larng tree in Morana Mada. It implied that the writers of both literatures could name both plant players differently because the writers applied their names according to believe and culture of each country.
Comparing the events found that most of events had similarities. Meanwhile there is different event e.g. a forest event, a thief village event and a rat bite Mrs. Chhanthea’s nose which revenged for Morana Mada. These events did not appear with Pla Bu Thong.
Then, comparing the scene found that that both Thai and Khmer literature had similarities and differences. The similarity is a river scene e.g. an episode of the king went to the forest, heroin walked down on engine board and living in the palace. On the other hand, the different scene is an episode of heroin’s parents scared when they escaped in the forest and a thief village episode where is a local village appearing in Khmer literature.
And comparing the theme reveled that that both Thai and Khmer literature had similar main theme in terms of heartburn theme such as a stepmother is jealous to a stepson, a mistress is jealous to the first wife. The main theme said was a cause of sub-theme e.g. a poor heroin encountered the difficulties and then she would get married with the king later, the sub-theme of karma rule in Buddhism.
According to the study of recognition under the title of Morana Mada in Khmer culture and Pla Bu Thong in Thai culture and comparing the factors of literature in terms of storyline, theme, players, scenes and events appearing in both literature demonstrated and realized in concepts, ways of life, believes, how to plot the story outline of the writer, how to create role’s players and writer’s concepts could apply the story appropriately with popularity and culture. The similarities and differences of both literature demonstrated that both Thailand and Cambodia are a good relationship neighborhood that there is a similar folktale storytelling to their children. But there is still different of both literatures because it is identity of the writer in each country in terms of different concept, believe and culture. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องมรณมาตาในวัฒนธรรมเขมรกับเรื่องปลาบู่ทองในวัฒนธรรมไทย และเพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณกรรม ในด้านโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก และเหตุการณ์ที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานเรื่องปลาบู่ทองฉบับภาษาไทยกับมรณมาตาฉบับภาษาเขมร โดยศึกษาจากวรรณกรรมนิทานสองฉบับ ได้แก่ วรรณกรรมนิทานเรื่องปลาบู่ทองฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2557 กับ วรรณกรรมนิทานเรื่องมรณมาตาฉบับภาษาเขมร ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2507 (แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้วิจัย) โดยใช้แนวคิดและระเบียบวิธีทางคติชนวิทยามาเป็นเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการเปรียบเทียบนิทาน กับแนวคิดองค์ประกอบทางวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้วรรณกรรมทั้งสองฉบับในแต่ละวัฒนธรรมนั้นจะมีการรับรู้มีลักษณะเหมือนคล้ายกัน เช่น ในวัฒนธรรมไทยการับรับรู้วรรณกรรมนิทานปลาบู่ทองในรูปแบบ มุขปาฐะ คือมีการบอกเล่า ในความเชื่อ ศิลปะการแสดง และในเพลง การับรับรู้วรรณกรรมนิทานปลาบู่ทองในรูปแบบลายลักษณ์ คือการที่นำนิทานเนื้อหาเรื่องปลาบู่ทองมาเขียนเป็นหนังสือต่างๆ เช่น ปลาบู่ทองในวรรณคดีร้อยกรอง ปลาบู่ทองในหนังสือนิทานพื้นบ้าน และปลาบู่ทองในวรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นต้น ส่วนการรับรู้วรรณกรรมนิทานเรื่องมรณมาตาในวัฒนธรรมของเขมรนั้น คือมีลักษณะเหมือนคล้ายกับเรื่องปลาบู่ทองของไทยทั้งสองรูปแบบ คือรูปแบบมุขปาฐะ และรูปแบบลายลักษณ์ ส่วนการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณกรรม พบว่ามีทั้งลักษณะเหมือนและแตกต่างในวรรณกรรมนิทานทั้งสองฉบับ คือ ในด้านการเปรียบเทียบชื่อเรื่อง พบว่ามีชื่อเรื่องต่างกัน วรรณกรรมนิทานฉบับภาษาไทย คือ ปลาบู่ทอง ซึ่งจากชื่อเรื่องผู้วิจัยสันนิฐานได้ว่า เรื่องปลาบู่ทองเป็นเรื่องที่นำเสนอเกี่ยวกับธรรมชาติที่นำเสนอผ่านสัตว์ คือ ปลาบู่ แต่ในวรรณกรรมนิทานฉบับภาษาเขมร คือ มรณมาตา ซึ่งเป็นการนำเสนอถึงหลักวัฒนธรรมที่นำเสนอผ่านตัวบุคคล เพราะเนื้อเรื่องโดยรวมคือเป็นหลักการสั่งสอนผู้คนให้รับรู้ถึงความเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ การเปรียบเทียบโครงเรื่องของวรรณกรรมนิทานทั้งสองฉบับมีลักษณะต่างกันในตอนเปิดเรื่อง ในด้านการเปรียบเทียบแก่นเรื่องของวรรณกรรมนิทานทั้งสองฉบับ พบว่าแก่นเรื่องหลักมีลักษณะต่างกัน เรื่องปลาบู่ทองคือความอิจฉาริษยาของแม่เลี้ยงต่อลูกเลี้ยงที่เป็นนางเอก แต่เรื่องมรณมาตาคือการสั่งสอนหลักศีลธรรม คือการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ ในด้านการเปรียบเทียบตัวละคร คือมีลักษณะเหมือนคล้ายและแตกต่าง ลักษณะเหมือนกัน คือหน้าที่และบทบาทของตัวละครในวรรณกรรมนิทานทั้งสองฉบับที่เป็นตัวแทนให้เห็นถึงคนดีและคนไม่ดีที่มีอยู่ในสังคมมนุษย์ที่แท้จริง ลักษณะแตกต่างในด้านตัวละคร คือจำนวนตัวละคร ชื่อตัวละคร ตลอดจนถึงตัวละครที่เป็นพืชก็ต่างกัน เช่น ในวรรณกรรมนิทานเรื่องปลาบู่ทองฉบับภาษาไทยจะปรากฏเห็นเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง แต่ในวรรณกรรมนิทานเรื่องมรณมาตาฉบับภาษาเขมรจะปรากฏเห็นเป็นต้นทองหลาง ซึ่งการที่ผู้แต่งนำเอาพืชทั้งสองชนิดมาเป็นตัวละครที่ต่างกัน คือผู้แต่งปรับตามความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรมนั้นเอง ในด้านการเปรียบเทียบฉาก พบว่าวรรณกรรมนิทานทั้งสองฉบับมีลักษณะเหมือนและแตกต่าง คือ ฉากที่มีลักษณะเหมือนกัน คือ ฉากแม่น้ำ ฉากป่า ฉากที่บ้านนางเอก และฉากในวังเป็นต้น ส่วนฉากที่ต่างกันนั้น คือ ฉากอยู่ในป่าที่กล่าวถึงความวาดกลัวของพ่อแม่นางเอกตอนที่หลบหนีในป่า และฉากตอนที่อยู่ในหมู่บ้านโจร คือหมู่บ้านชนบทที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานเรื่องมรณมาตาฉบับภาษาเขมร ในด้านการเปรียบเทียบเหตุการณ์ พบว่ามีเหตุการณ์ส่วนมากมีความเหมือนคล้ายกัน แต่ในขณะเดียวกันยังพบเหตุการณ์ที่ต่างกัน คือ เหตุการณ์ในป่า เหตุการณ์ ณ หมู่บ้านโจร และเหตุการณ์ตอนที่หนูกัดจมูกนางฉันเตียเป็นการแก้แคนแทนนางมรณมาตาเป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานเรื่องปลาบู่ทอง การศึกษาการรับรู้เรื่องมรณมาตาในวัฒนธรรมเขมรกับเรื่องปลาบู่ทองในวัฒนธรรมไทยและการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณกรรม ในด้านโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก และเหตุการณ์ที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานเรื่องปลาบู่ทองฉบับภาษาไทยกับมรณมาตาฉบับภาษาเขมร ทำให้ทราบและเข้าใจความคิด วิถีชีวิต ความเชื่อ และวิธีผูกมัดปัญหาของผู้แต่ง วิธีสร้างตัวละคร ตลอดจนถึงแนวคิดของผู้แต่งที่มีลักษณะเหมาะสมไปตามความนิยมของแต่ละวัฒนธรรม การที่วรรณกรรมสองฉบับมีลักษณะเหมือนคล้ายและแตกต่างนั้น จึงเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความจริง ความเหมือนคล้ายของนิทานทั้งสองฉบับอาจเนื่องจากประเทศไทยกับกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านกันจึงทำให้มีความสัมพันธ์อันดีงามต่อกันในด้านการเล่าเรื่องสู่กันฟังตลอดจนถึงทำให้มีนิทานที่คล้ายคลึงกัน ความแตกต่างของนิทานทั้งสองฉบับนั้นจึงแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ในการแต่งนิทาน และความคิด ความเชื่อที่แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรมนั้นเอง |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/65 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010180019.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.