Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/658
Title: Effectiveness of Smoking Cessation by Community Pharmacies with Using Smartphone Application (PharmQuit)
ประสิทธิผลของการให้บริการเลิกบุหรี่ในร้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับการใช้สมาร์ทโฟนแอพพลิเคชั่น (PharmQuit)
Authors: Narong Asayut
ณรงค์  อาสายุทธ
Phayom Sookaneknun Olson
พยอม สุขเอนกนันท์ โอล์สัน
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: บริการเลิกบุหรี่
ร้านยา
แอพพลิเคชั่น
smoking cessation
community pharmacy
application
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background : In 2014, the Thai population of 15 years old and above has smoking rate of 20.7 %, but there is a limitation of the capacity of the service unit, which can accommodate smokers who wish to quit smoking. Only 250,775 people are expected to be able to increase access to 50,000 people per year. Therefore, it is necessary to develop a new smoking cessation service model to provide access to smokers who want to quit smoking and increase the efficiency of smoking. This research aims to develop and assess the effectiveness of the PharmQuit application in order to increase the rate of smoking cessation by using with the community pharmacy's smoking cessation service. Method : This study has conducted from August 2016 to August 2018. There were two phase. In the first phase, development of smartphone application “PharmQuit” for smoking cessation service. Once the development has been completed, bring it to trial with smokers. In the second phase, assessment of the effectiveness of the usual care in smoking cessation by community pharmacies with using smartphone application (PharmQuit) compared to usual care in the National Health Security Office Region 7 Khon Kaen by the recipient is 18 years of age or older, smoke at least 1 roll per day for 1 consecutive day or more continued 1 month or more, readiness to quit smoking, can answer questions and self report, available and can be used with smartphone applications and are welcome to participate in research studies and are willing to follow up. The recipient was allocated into the intervention group and the control group by stratified random sampling. 3 confounding variables, including sex, age and nicotine addiction. Then we provide smoking cessation service and assess the effectiveness of the service model. The intervention group is provided in a usual care with smartphone application “PharmQuit” and the control group is available in usual care only and follow up on the 7th, 14, 30, 60, 120 and 180 to assess the quit rate, number of cigarettes smoked per day, exhaled carbon monoxide levels, adherence rate, community pharmacies service’s satisfaction and PharmQuit application’s satisfaction. Results : There are seven community pharmacies participating the study in the province of Khon Kaen, Mahasarakham and Roi ed. We assessed 156 participants for eligibility and were randomized, of whom 78 smokers were allocated to the intervention and 78 were allocated to the control group. When receiving services according to the guidelines, the intervention group has 7-day point abstinence rate (17.95%) compared to the control group (19.23%), are not statistically significant difference. The intervention group has continuous abstinence rate (32.05%) compared to control group (34.62%), are not statistically significant difference, however, when comparing the quit rates within group at 180th day compared to the 7th day, the intervention group (32.05% and 19.95%) and the control group (34.62% and 19.23%) respectively, statistically significant difference (P < 0.05). The average number of cigarettes smoking per day, decreased as of 180th  day compared to the first day of the comparative service during the intervention group (7.97 + 7.65 roll) and control group (10.17 + 9.34 roll) are not statistically significant difference, but compared within the group as at 180th day, compared to the first day of service. It was found to be statistically significant differences (p < 0.001), both intervention group (7.97 + 7.65 roll and 11.82 + 6.78 roll) and control group (10.17 + 9.34 roll and 13.02 + 8.49 roll). The continuity of the adherence rate when comparing the intervention group and control group. There are no statistically significant difference, but the intervention group tends to continue for long-term service from the 30th to 180 days, much more than the control group. The intervention group has the highest average satisfaction of knowledge and service provider capability (4.71 + 0.44 points) and the control group is the most satisfaction of the service provider's dress (4.83 + 0.37 points). The satisfaction of the PharmQuit application of the intervention group has the highest average satisfaction in the application design (4.23 + 0.86 points) Conclusion : The PharmQuit application developed as an alternative to the smoking cessation services with the community pharmacies to enhance the efficiency of the service. It can increase the quit rate and continuous monitoring. The intervention group is highly satisfied with the application design, which PharmQuit application will quit reminder, friendly to use and easy to access.
ในปี 2557 ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 20.7 แต่มีข้อจำกัดเรื่องศักยภาพของหน่วยบริการซึ่งสามารถรองรับผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ทำได้เพียง 250,775 คน โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มการเข้าถึงได้ 50,000 คนต่อปี จึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบบริการเลิกบุหรี่ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของแอพพลิเคชั่น PharmQuit ในการช่วยเพิ่มอัตราการเลิกสูบบุหรี่โดยใช้ร่วมกับบริการเลิกบุหรี่ของร้านยา วิธีศึกษา การศึกษานี้ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม 2559 - เดือนสิหาคม 2561 แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแอพพลิเคชั่น PharmQuit สำหรับให้บริการเลิกบุหรี่โดยเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วนำไปทดลองใช้กับผู้สูบบุหรี่ ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการปกติ (usual care) ในการช่วยเลิกบุหรี่ของร้านยาร่วมกับการใช้สมาร์ทโฟนแอพพลิเคชั่น (PharmQuit) เทียบกับการได้รับบริการปกติ (usual care) ในพื้นที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น โดยผู้รับบริการเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่อย่างน้อย 1 มวนต่อวัน ต่อเนื่อง 1 เดือนขึ้นไป มีความพร้อมในการเลิกบุหรี่ สามารถตอบคำถามและบันทึกข้อมูลได้ด้วยตัวเอง มีและสามารถใช้สมาร์ทโฟนแอพพลิเคชั่นได้และยินดีเข้าร่วมการศึกษาวิจัยและยินดีให้มีการติดตาม การจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะควบคุมตัวแปรกวน จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการติดนิโคติน และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) ให้บริการเลิกบุหรี่และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการโดยกลุ่มทดลองได้รับบริการในรูปแบบบริการปกติร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่น PharmQuit และกลุ่มควบคุมได้รับบริการในรูปแบบบริการปกติเพียงอย่างเดียว และนัดรับบริการต่อเนื่องในวันที่ 7, 14, 30, 60, 120 และ 180 เพื่อประเมินอัตราการเลิกสูบบุหรี่ จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก การร่วมมือตามนัดหมาย ความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับและความคิดเห็นต่อแอพพลิเคชั่น PharmQuit ผลการศึกษา มีร้านยาเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 7 แห่ง จากจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด มีผู้สูบบุหรี่ที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 156 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 78 คน เมื่อรับบริการครบตามแนวทางพบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการเลิกสูบบุหรี่ ณ วันที่ 7 (7-day point abstinence rate: PAR) ร้อยละ 17.95 เทียบกับกลุ่มควบคุม ร้อยละ 19.23 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีอัตราการหยุดสูบบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่อง (continuous abstinence rate: CAR) 180 วัน ร้อยละ 32.05 เทียบกับกลุ่มควบคุม ร้อยละ 34.62 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบอัตราการเลิกสูบบุหรี่ภายในกลุ่มวันที่ 180 เทียบกับวันที่ 7 ทั้งกลุ่มทดลอง (ร้อยละ 32.05 และ 19.95) และกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 34.62 และ 19.23) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันเฉลี่ยลดลง ณ วันที่ 180 เทียบกับวันแรกที่เข้ารับบริการ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง (7.97+7.65) และกลุ่มควบคุม (10.17+9.34) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ณ วันที่ 180 เทียบกับวันแรกที่มารับบริการ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทั้งกลุ่มทดลอง (7.97+7.65 และ 11.82+6.78) และกลุ่มควบคุม (10.17+9.34 และ 13.02+8.49) อัตราความต่อเนื่องในการมาติดตามการเลิกบุหรี่ (adherence rate) เมื่อเปรียบเทียบจำนวนวันเฉลี่ยของการมารับบริการเลิกบุหรี่ต่อเนื่องระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่กลุ่มทดลองมีแนวโน้มการมารับบริการต่อเนื่องในระยะยาวตั้งแต่วันที่ 30 ขึ้นไปจนถึงวันที่ 180 มากว่ากลุ่มควบคุม ด้านความพึงพอใจต่อการเข้ารับบริการเลิกบุหรี่ในร้านยาพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุดด้านความรู้ ความสามารถของผู้ให้บริการ ในระดับมากที่สุด (4.71+0.44 คะแนน) ส่วนกลุ่มควบคุมพึงพอใจมากที่สุดด้านการแต่งกายของผู้ให้บริการ ระดับมากที่สุด (4.83+0.37 คะแนน) และความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชั่น PharmQuit ของกลุ่มทดลองพบว่ามีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุดด้านการออกแบบแอพพลิเคชั่น ในระดับมาก (4.23+0.86 คะแนน) สรุป แอพพลิเคชั่น PharmQuit ที่พัฒนาขึ้น เป็นทางเลือกสำหรับการให้บริการเลิกบุหรี่ร่วมกับการให้บริการของร้านยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ โดยสามารถเพิ่มอัตราการเลิกสูบบุหรี่และการมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจสูงด้านการออกแบบแอพพลิเคชั่น โดยแอพพลิเคชั่น PharmQuit นี้สามารถเข้าถึงการใช้ได้ง่าย มีการแจ้งเตือนการเลิกสูบบุหรี่ มีความท้าทายในการใช้ และสวยงามน่าใช้งาน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/658
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010760001.pdf10.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.