Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/659
Title: | Development of the System for Caring Schizophrenic Patients within Community by Multidisciplinary Team of Health Network of Amphoe Ban Thaen, Chaiyaphum Province การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ |
Authors: | Kamonwan Seechiangsa กมลวรรณ สีเชียงสา Juntip Kanjanasilp จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์ Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | ระบบการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยจิตเภท ทีมสหวิชาชีพ ชุมชน ความร่วมมือในการใช้ยา patient care system schizophrenic patients multidisciplinary healthcare team community medication adherence |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Thailand national mental health survey in 2008 reported that the prevalence of psychiatric disorder was at 1.2%. Forty one percent experienced antipsychotic medication non-adherence problems. Schizophrenia is a chronic psychiatric disorder being found the most. If treatment is discontinued, relapse can harm to the life or other caregivers; moreover, violent crime may be happened in community and also society. The objective of this study is to develop the system for caring psychiatric patients in the community by multidisciplinary health care team focusing on schizophrenic patients in 3 sub-district health promotion hospitals in Bantan District, Chaiyaphum Province. There is no serious relapses with the patients and this system can manage adverse drug reactions (ADRs) including drug related problems (DRPs) in order to propose medication adherence, the healthcare team can also give the patients a follow-up care and coordinate with each other continuously. The study was an action research. The participants included healthcare providers, 4 village health volunteers, 13 schizophrenic patients and 6 family caregivers. The study, conducted from October 2017 to May 2018, consisted of 2 phases as follows: 1) searching and analyzing problems of the patients and 2) developing caring system of schizophrenic patients in the community. The finding revealed that an average of Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) score increased from 21.69±4.309 to 21.92±4.821, and also had higher average score of psychiatric symptoms 0.254 (p-value=0.799). However, there were no patients with relapse taking serious harm to the life, body, or property of themselves or others. A score of frequency of ADRs decreased from 24.00±3.808 to 18.77±3.982, and also had lower an average score of ADRs 2.670 (p-value=0.008). The ADRs interfering daily life such as daily excessive drowsiness reduced from 46.2% to the absence of the ADRs. Good adherence of schizophrenic patients in the community improved from 46.2% to 61.5%. Nonadherence of schizophrenic patients was associated with 6 factors as follows: 1) medication factors, e.g. ADRs, 2) illness factors, e.g. insight, positive and negative symptoms, 3) patient factors, e.g. patient attitudes to an illness or medicine, lack of education and vision, poorly reading medication labels, 4) caregiver factors, e.g. lack of ability to supervise/remind patient about medication, 5) health care team/health system factors, e.g. personal attitudes to an illness or medicine, lack of skills about how to communicate to patients effectively and 6) community factors, e.g. being treated different from others in community. Development of caring system by health professional team for schizophrenic patients can improve both drug-related problems and medication non-adherence leading to continuous care, absence of relapse and integration with the community. การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตระดับประเทศในปี พ.ศ. 2551 โดยกรมสุขภาพจิตพบว่า ความชุกของโรคจิตเป็นร้อยละ 1.2 จากการศึกษาในอดีตพบว่า ความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาต้านโรคจิตพบได้สูงถึงร้อยละ 41 ซึ่งโรคจิตโดยเฉพาะโรคจิตเภทที่พบมากที่สุดและเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการกำเริบซ้ำ จนเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ดูแลรวมทั้งก่อความรุนแรงอาชญากรรมในชุมชนและสังคมได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนร่วมกับทีมสหวิชาชีพโดยศึกษาเฉพาะผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 3 แห่งของอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเภทได้รับการประเมินความรุนแรงของอาการทางจิตไม่มีอาการทางจิตกำเริบอาละวาดสามารถจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาที่พบในผู้ป่วยจิตเภทเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาได้และทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบสามารถติดตามดูแลผู้ป่วย ประสานเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ 8 คน อสม. 4 คน ผู้ป่วยจิตเภท 13 คน และญาติผู้ดูแล 6 คน การวิจัยดำเนินการตั้งแต่ ตุลาคม 2560 ถึงพฤษภาคม 2561 โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย 2) การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน พบว่าผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงอาการทางจิต Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) เพิ่มขึ้นจาก 21.69±4.309 เป็น 21.92±4.821 มีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงอาการทางจิตเพิ่มขึ้น 0.254 (p-value=0.799) แต่ไม่พบผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตกำเริบจนก่อความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น มีคะแนนของความถี่ของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse drug reaction (ADR)) ในผู้ป่วยโรคจิตเภทลดลงจาก 24.00±3.808 เป็น 18.77±3.982 มีคะแนนเฉลี่ย ADR ลดลง 2.670 (p-value=0.008) อาการไม่พึงประสงค์ที่รบกวนชีวิตประจำวันลดลง เช่น อาการง่วงนอนมากทุกวันที่พบจากร้อยละ 46.15 เป็นไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยโรคจิตเภทในชุมชนมีความร่วมมือจากการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.2 เป็นร้อยละ 61.5 โดยปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในการศึกษานี้มี่ 6 ปัจจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านยา เช่น ADR 2) ปัจจัยด้านภาวะการเจ็บป่วย เช่น การยอมรับการเจ็บป่วย อาการทางจิต 3) ปัจจัยด้านผู้ป่วย เช่น ทัศนคติต่อโรคและยา ไม่รู้หนังสือหรือสายตาไม่ดีทำให้มีปัญหาในการอ่านฉลากยา 4) ปัจจัยด้านผู้ดูแล เช่น ความสามารถในการกำกับการกินยา ทัศนคติต่อโรคและยา 5) ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์และระบบบริการ เช่น ทัศนคติต่อโรคและยา ความสามารถในการสื่อสารกับผู้ป่วย 6) ปัจจัยด้านชุมชน เช่น การถูกปฏิบัติตัวจากคนในชุมชนแตกต่างจากคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาและความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ไม่มีอาการกำเริบ และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/659 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010780001.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.