Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/660
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNuanchan Saenkongen
dc.contributorนวลจันทร์ แสนกองth
dc.contributor.advisorSurasak Chaiyasongen
dc.contributor.advisorสุรศักดิ์ ไชยสงค์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Pharmacyen
dc.date.accessioned2020-05-19T06:40:29Z-
dc.date.available2020-05-19T06:40:29Z-
dc.date.issued9/12/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/660-
dc.descriptionMaster of Pharmacy (M.Pharm.)en
dc.descriptionเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)th
dc.description.abstractThis study aimed to assess impacts and social return on investment of long term care program under primary care cluster for dependent elderly in Nampong district, Khon Kean province. A mixed-methods study was conducted to gather data from dependent older people who received the program services at least two times since 1 August 2017 to 31 October 2018 (n=37), their care givers (n=37), family physician team members (n=11) and local administrator (n=1) together with secondary data collection. The study was divided into four part and its methods were described as followed.           Part 1 service activities of family physician team. A focus group discussion with 11 members of family physician team. Content analysis was performed. The results revealed that service activities included treatment, rehabilitation, health promotion and disease prevention as well as social activities including supporting occupation activities. These activities were served under a principle of primary care services.           Part 2 clinical outcomes of dependent older people who attended the program. A quasi-experimental research measuring before and after attending the program was carried out in 37 older people and their care givers. Appropriate statistics were applied. The results revealed that increasing Barthel ADL index from 6.78±3.20 to 10.68±6.08 (p<0.001) and decreasing emergency visit rate from 1.22±1.20 to 2.4±3.85 (p=0.05). The quality of life after attending the program was 4.14±1.03, 3.73±1.45, 2.94±1.43, 2.94±1.43 and 2.68±1.43 for mobility, self-care, usual care, pain/discomfort and depression/anxiety, respectively. Average utility score 0.22±0.03.           Part 3 social return on investment (SROI). Benefits and costs of the 9-month program were collected from older people and their care givers and recoded data of the hospital, healthcare center, long term care center and municipality government. SROI ratio was estimated for year 2018. Sensitivity analysis was performed. This study found that total cost of investment was 898,777.88 baht. Average willingness-to-pay of the care givers was 316.22±153.23 baht/service and total benefits for the return was 2,013,047.98 baht. The SROI ratio was 2.24. In all sensitivity analysis cases, this program would yield higher return compared with investment.           Part 4 barriers, facilitators and guides for improving the program. This part was a descriptive study carrying focus group discussion with 11 family physician team members and interview of 1 local administrator. Content analysis was performed. The major barriers included lacking information technology and high work burden. The major facilitators were strong social network, good working attitude to treat a patient as relative, humanized care service together with good system of community nurses which had long been founded from local people by Nampong hospital. In conclusion, long term care program of family physician team for elderly in Nampong is based on primary care principle. This program could improve older people’s life and it has high social return. The government and other sectors should support the program for its continuity and sustainability. en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัว ตามนโยบายการจัดกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และศึกษาผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุดังกล่าว ทำการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed-methods research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลจากทีมหมอครอบครัวอย่างน้อย 2 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 37 คน ญาติผู้ดูแล จำนวน 37 คน สมาชิกทีมหมอครอบครัว 11 คน และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน รวมทั้งข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอธิบายวิธีการและผลการศึกษาเป็น 4 ส่วน ดังนี้           ส่วนที่ 1 รูปแบบการดำเนินงานของทีมหมอครอบครัวตำบลสะอาด โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับทีมหมอครอบครัวและบุคลากรที่ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 11 คน ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ มีทั้งการตรวจรักษาโรค กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาวะ รวมถึงกิจกรรมด้านสังคมต่างๆ เช่นการส่งเสริมอาชีพ โดยการทำงานนั้นเป็นรูปแบบการทำงานภายใต้หลักการบริการสุขภาพปฐมภูมิ           ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลจากทีมหมอครอบครัว เป็นการวิจัยกึ่งทดลองวัดผลก่อนและหลังได้รับการดูแลในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด 37 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลและรวบรวมข้อมูลการรักษาพยาบาลที่บันทึกไว้ ทดสอบด้วยสถิติที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า Barthel ADL Index ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ช่วงก่อน 6.78 ± 3.20 และช่วงหลัง 10.68 ± 6.08, p<0.001) แต่อัตราการมารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ช่วงก่อน 1.22 ± 1.20 และช่วงหลัง 2.4±3.85, p=0.05) เมื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ในช่วงหลังการรับการดูแลพบว่า คุณภาพชีวิตในมิติการเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง การทำกิจกรรมประจำวัน ความปวด/ไม่สบาย ความเครียด/วิตกกังวง เท่ากับ 4.14±1.03, 3.73±1.45, 2.94±1.43, 2.94±1.43 และ 2.68±1.43 ตามลำดับ และมีค่าอรรถประโยชน์เท่ากับ 0.22±0.03           ส่วนที่ 3 ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนการดูแลผู้สูงอายุฯ โดยประเมินมูลค่าการลงทุนดูแลผู้สูงอายุฯ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีมหมอครอบครัวและค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลน้ำพองและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะอาด ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและเทศบาลตำบลสะอาด และประเมินมูลค่าผลตอบแทนการดูแลผู้สูงอายุฯ จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุฯ และญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุฯ ด้วยการประเมินความยินดีจ่าย คำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI ratio) เป็นมูลค่าในปี 2561 และทำการวิเคราะห์ความไว ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าการลงทุนโดยรวมเท่ากับ 898,777.88 บาทผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความยินดีจ่าย 316.22 ± 153.23 บาท/ครั้งในการรับบริการ มูลค่าผลตอบแทนโดยรวมเท่ากับ 2,013,047.98 บาท ค่า SROI ratio เท่ากับ 2.24 ในการวิเคราะห์ความไวเมื่อเปลี่ยนแปลงการลงทุนหรือผลตอบแทนในกรณีต่างๆ พบว่า การดูแลผู้สูงอายุฯ มีผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในทุกกรณี           ส่วนที่ 4 ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุนและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุฯ ส่วนนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการสนทนากลุ่มกับบุคลากรผู้ให้บริการจำนวน 11 คน และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 1 คน ทำการวิเคราะห์ชิงเนื้อหาและเรียบเรียงประเด็น ผลการศึกษาพบว่า สิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานได้แก่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ และภาระงานที่มากเกินไป ทำให้บุคลากรเหนื่อยล้า ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จคือเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง ทัศนคติในการทำงานของทีมที่ยึดหลัก “ผู้ป่วยคือญาติ” และการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ รวมถึงระบบ “พยาบาลชุมชน” ที่โรงพยาบาลน้ำพองดำเนินงานมาเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดบุคลากรที่เป็น “คนในพื้นที่” สามารถเข้าใจปัญหาของชุมชนอย่างลึกซึ้ง ทำงานในพื้นที่ได้อย่างราบรื่น และเข้าถึงปัญหาได้อย่างรวดเร็ว โดยสรุป รูปแบบการดำเนินงานของทีมหมอครอบครัวในการให้การดูแลผู้สูงอายุทำงานภายให้หลักการบริการสุขภาพปฐมภูมิ สามารถเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุได้และการทำงานภายใต้โปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุฯ ให้ผลตอบแทนทางสังคมที่คุ้มค่าจากการลงทุน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนของโปรแกรมต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงth
dc.subjectทีมหมอครอบครัวth
dc.subjectการจัดกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิth
dc.subjectผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนth
dc.subjectEldery peopleen
dc.subjectFamily physicianen
dc.subjectPrimary care clusteren
dc.subjectSocial return on investmenten
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleAn Evaluation of Dependent Elderly Care Program by Family Physician Team of Primary Care Cluster in Namphong District, Khon Kean Provinceen
dc.titleการประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัว ตามนโยบายการจัดกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ เขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010781006.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.