Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/665
Title: | Culture of AF earthworms for the production of Bio-fertilizer for Chinese Flowering Cabbage (Brassica rapa var. parachinensis) การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์ AF เพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพสำหรับผักกวางตุ้งดอก (Brassica rapa var. parachinensis) |
Authors: | Pongsuda Chanwichaypote พงษ์สุดา ชาญวิชัยพจน์ Benjawan Chutichudet เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช Mahasarakham University. The Faculty of Technology |
Keywords: | อาหารเพาะเลี้ยง มูลไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ระยะเวลาในการหมัก การเจริญเติบโตและผลผลิต ผักกวางตุ้งดอก feed vermicompost fermented liquid vermicompost fermentation time growth and yield chinese flowering cabbage |
Issue Date: | 31 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Due to the accumulation of community’s refuse, especially the organic wastes, there are attempts to use these organic wastes as food supply for the earthworm. Thus, the aims of this research were to study the utilization of organic wastes for culturing AF earthworms (African night crawler, Eudrilus eugeniae) which were beneficial for the production of bio-fertilizer for Chinese flowering cabbage (Brassica rapa var. parachinensis). This research contained 3 experiments. The first experiment was to study of the effects of different culture feeds on the growth of AF earthworms and the chemical properties of their vermicompost. The second experiment was to study of the effects of the amount of time used for fertilization on the physical and chemical properties of fermented liquid vermicompost derived from AF earthworms. The third experiment was to study the effects of this fermented liquid vermicompost derived from using different materials for culturing the earthworms, including the control, dried brewer’s yeast, rice straw, residues from sunflower sprout planting, and dried water hyacinth, on the growth, yield and quality of Chinese flowering cabbage. The results indicated that the AF earthworms fed by rice straw could have the highest number of population (53.75 earthworms per container), total earthworm weight (6.69 g per container), total contents of vermicompost (25.02 g per container), and total contents of organic matters (11.10 percent) after feeding for 90 days. The fermented liquid vermicompost derived from the AF earthworm cultivation by using rice straw gave the maximal contents of organic matter after fermentation for 7 days (0.34 percent). Moreover, the growth and yield of Chinese flowering cabbage were promoted by using fermented liquid vermicompost derived from the AF earthworm fed by rice straw, which resulting in the highest plant height, number of leaves, leaf length, leaf width, stem diameter, root length, fresh weight, fresh root weight, dry weight and dry root weight. In addition, for the consumers’ satisfaction on the texture, smell, taste and overall liking of the Chinese flowering cabbage, the results suggested that the highest scores were found in that Chinese flowering cabbage which received the fermented liquid vermicompost from rice straw. จากปริมาณวัสดุเหลือทิ้งโดยเฉพาะวัสดุอินทรีย์ซึ่งเป็นกากของเสียในชุมชนที่มีปริมาณมากขึ้นในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นต้องหาทางนำมาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์ AF เพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพสำหรับการผลิตผักกวางตุ้งดอก (Brassica rapa var. parachinensis) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของชนิดอาหารเพาะเลี้ยงไส้เดือนที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธุ์แอฟริกันไนท์คลอเลอร์ (Eudrilus eugeniae) และสมบัติทางเคมีของมูลไส้เดือนดิน การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของระยะเวลาในการหมักที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีของน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และการทดลองที่ 3 ศึกษาผลของน้ำหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของผักกวางตุ้งดอก ซึ่งจะประกอบด้วย Control กากยีสต์ ฟางข้าว วัสดุเหลือใช้จากการเพาะทานตะวันงอก และผักตบชวา ซึ่งผลการทดลองพบว่าการให้อาหารไส้เดือนดินในรูปของฟางข้าวช่วยส่งเสริมให้ไส้เดือนดินมีจำนวนประชากร น้ำหนักตัวรวม ปริมาณมูลไส้เดือนดิน และปริมาณอินทรียวัตถุที่พบในมูลไส้เดือนดินสูงที่สุดภายหลังเลี้ยงนาน 90 วัน (53.75 ตัวต่อภาชนะ 6.69 กรัมต่อภาชนะ 25.02 กรัมต่อภาชนะ และ 11.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) นอกจากนี้ในน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้รับอาหารในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินจากฟางข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุด (0.34 เปอร์เซ็นต์) ภายหลังหมักทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 7 วัน ขณะที่ต้นกวางตุ้งดอกที่ได้รับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินจากฟางข้าวช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นผักกวางตุ้งดอกในด้านความสูงต้น จำนวนใบ ความยาวใบ ความกว้างใบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ความยาวราก น้ำหนักลำต้นสด น้ำหนักรากสด น้ำหนักลำต้นแห้ง และน้ำหนักรากแห้งเฉลี่ยสูงที่สุด และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อต้นผักกวางตุ้งดอกในด้านเนื้อสัมผัส กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่าผู้บริโภคให้กาiยอมรับต้นผักกวางตุ้งดอกที่ได้รับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินจากฟางข้าวโดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/665 |
Appears in Collections: | The Faculty of Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010852002.pdf | 3.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.