Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/667
Title: | Effect of rock salt on development and phytochemical contents in Karanda leaves (Carissa carandas) ผลของเกลือสินเธาว์ที่มีต่อพัฒนาการและสารพฤกษเคมีในใบมะนาวโห่ (Carissa carandas) |
Authors: | Suputtra Sarasaen สุพัตรา สารแสน Sakunkan Simla สกุลกานต์ สิมลา Mahasarakham University. The Faculty of Technology |
Keywords: | ความเค็ม ความเครียดจากเกลือ สัณฐานวิทยาของใบ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ sanility salt stress leaf morphology antioxidant activity |
Issue Date: | 13 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Growing salt-tolerant or salt-preference crops were a good way to rehabilitation saline soils in crop production. The effect of rock salt on development of Karanda leaves were evaluated. Karanda leaves are available throughout the year. It also had the medical properties such as anti-cancer, anti-inflammatory and anti-microbial. Six concentration of rock salt consisting of 0, 25, 50, 75, 100 and 125 mM with four leaves developing stages such as leaflet, early mature, mature and late mature leaf were examined. The result founded that Karanda plant could tolerate to salinity from rock salt concentration at 50 mM High concentrations of rock salt (50 mM) was not effected to the days to bud burst and four stages of leaves unfolding and some morphological traits such as leaf width, leaf length, leaf area, leaf fresh weight, specific leaf area and L* value but it effected to leaf dry weight and SCMR. The concentration of rock salt at 25 mM is a level that promotes the highest accumulation of phytochemicals and antioxidant activity. The development of leaves effected on leaf morphology. The mature leaves had the largest leaf size, while the late mature leaves had the most greenness leaves. The development stages of leaves effected on the accumulation of phytochemicals and antioxidant activity. Leaflet had the highest triterpen yield and DPPH antioxidant activity. Immature leaves had the highest vitamin C and triterpene content. Mature leaves had the highest terpenoid yield. And late mature leaves had the highest content of chlorophyll, phenolic compounds, flavonoid compounds, anthocyanins and tannins, and ABTS antioxidant activity. The results of this study can be used as an alternative way for salinity soil utilization of farmers and also increasing the planting area of Karandas. การปลูกพืชทนเค็ม หรือพืชชอบเกลือ เป็นวิธีการแก้ไขฟื้นฟูดินเค็มให้กลับมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชได้ จึงได้ทำการประเมินผลของเกลือสินเธาว์ที่มีต่อพัฒนาการของใบมะนาวโห่ ซึ่งใบเป็นชิ้นส่วนที่มีตลอดทั้งปี และมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ คือ มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ต้านอาการอักเสบและลดไข้ และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ โดยทำการประเมินความเข้มข้นของเกลือสินเธาว์ 6 ระดับ คือ 0, 25, 50, 75, 100 และ 125 mM ที่ 4 ระยะพัฒนาการของใบ คือใบอ่อน ใบเพสลาด ใบเจริญเต็มที่ และใบแก่ ผลการศึกษาพบว่า ต้นมะนาวโห่สามารถทนความเค็มได้ถึงความเข้มข้น 50 mM โดยเมื่อมีความเค็มเพิ่มมากขึ้น (50 mM) ไม่ส่งผลให้ระยะเวลาการเกิดยอดใหม่ และระยะเวลาในการพัฒนาใบ 4 ระยะแตกต่างกัน และไม่ส่งผลให้ลักษณะความกว้าง ความยาว ขนาดพื้นที่ใบ น้ำหนักสด ค่าพื้นที่ผิวเฉพาะ และค่าความสว่างของใบแตกต่างกัน แต่มีผลทำให้น้ำหนักแห้งของใบและค่า SCMR ลดลง ความเข้มข้นของเกลือสินเธาว์ที่ 25 mM เป็นระดับที่ส่งเสริมให้มีการสะสมสารพฤกษเคมี และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้มากที่สุด ระยะพัฒนาการของใบส่งผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาใบ โดยใบเจริญเต็มที่เป็นใบที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ในขณะที่ใบแก่เป็นใบที่มีความเขียวของใบมากที่สุด ระยะพัฒนาการของใบส่งผลต่อการสะสมปริมาณสารพฤกษเคมี และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสสระของใบ ใบอ่อนเป็นใบที่มีผลผลิตไตรเตอพีน และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสสระแบบ DPPH มากที่สุด ใบเพสลาดเป็นใบที่มีปริมาณวิตามินซี และไตรเทอพีนมากที่สุด ใบเจริญเต็มที่เป็นใบที่มีผลผลิตเทอพีนอยด์มากที่สุด และใบแก่เป็นใบที่มีปริมาณคลอโรฟิลล์ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด สารแอนโธไซยานินทั้งหมด สารประกอบแทนนินทั้งหมด และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสสระแบบ ABTS มากที่สุด ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นทางเลือกในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็ม และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกมะนาวโห่ให้มากขึ้นอีกด้วย |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/667 |
Appears in Collections: | The Faculty of Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010882002.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.