Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/696
Title: The Creation of Cultural Dance "Rabum Leela Lai Sangkalok" (The Dance of Sangkalok Celadon Patterns)
การประดิษฐ์วัฒนธรรมด้านนาฏยศิลป์"ระบำลีลาลายสังคโลก"
Authors: Anothai Som-um
อโนทัย   ส้มอ่ำ
Kosit  Phaengsoi
โฆษิต แพงสร้อย
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การประดิษฐ์วัฒนธรรม
ระบำลีลาลายสังคโลก
The Creation of Cultural
Rabum Leela Lai Sangkalok
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Sukhothai is a province with a long history in the arts, culture, traditions and way of life of people. It is a unique cultural heritage of the nation. Long live prosperity. Sangkalok is also the pottery produced in the present Sukhothai province. A culture that can nurture the art to live in the creative process of the Thai dance through dance, reflecting the beauty of the Sangkalok celadon. In this research, the researcher aims to study the history of Rabum Leela Lai sangkalok Dance, to study of the succession process and to study the value of social and cultural customs. The area of ​​study is Sukhothai Province and data were collected from  samples of  33 gurus, 28 practitioners, 16 local people and tourists that make 77 people all togethe. The research tools consisted of a survey form, observation form, structured and unstructured interview form  and presented the research results with descriptive analysis. The research found that the wisdom of the Thai ancestors are intelligent with high skills. The beauty of mind presents through in the art of molding or making celadon, writing these hidden is the pride of the Thai people. We have ancestors who are more equal to civilized countries. The precious hidden in the shape and patterns of Sangkalok celadon which has inspired to the teachers of the Sukhothai College of Dramatic Arts to create a cultural dance in the form of performance to conserve, publish the performance. The purpose is to maintain the aesthetics of the music and dance with sustainable values. The performance has been created since 1998 and has been performed regularly in the arts and culture until present. The process of Rabum Leela Lai Sangkalok dance inheritance  has the standard design of the dance. Focus on the beauty of dance movements, row moving patterns, costumes and the melody. It is based on the mainstream dance tradition of Thai dance, which combines the dance style with the melody of the newly invented music. Music melodies are both slow and fast based on the style of the dance and played by the ancient style of the Sukhothai music band. It takes 7 minutes to dance by all 8 women showing the beauty and grace. The dance pattern is depicted in the pattern appears on Sangkalok celadon. The emphasis is on the unmistakable row movements that harmonizes with the melody. The design of the dancing posture is consistent with the principles and methods of the dance of many teachers of Thai dance. The process of inheriting dance moves to achieve communication and to understand between the instructors and learners in the dance process. The dance gestures or movements are named by imagination for easier recognition and for understanding the meaning. They also communicate clearly in each dance steps.
สุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความยาวนานทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คน จนเกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่มีเอกลักษณ์ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างช้านาน สังคโลกยังเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในเขตจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน วัฒนธรรมหนึ่งที่สามารถหล่อหลอมให้ศิลปะมีชีวิตขึ้นตามกระบวนการสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ไทย ผ่านการร่ายรำโดยสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามของเครื่องถ้วยสังคโลก การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับระบำลีลาลายสังคโลก ศึกษากระบวนการสืบทอดระบำลีลาลายสังคโลก ศึกษาคุณค่าของระบำลีลาลายสังคโลกที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม โดยมีพื้นที่ในการศึกษาคือ จังหวัดสุโขทัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รู้จำนวน 33 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 28 คน ผู้ให้ข้อมูลประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวจำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 77 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบที่มีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลงานการวิจัยด้วยการพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่มีความเฉลียวฉลาด มีเทคนิคความเป็นช่างที่สูงส่ง มีความงดงามของจิตใจที่สื่อออกมาทางศิลปะการปั้น การเขียน สิ่งที่แฝงเร้นเหล่านี้คือความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งมวล ที่เรามีบรรพบุรุษที่เจริญยิ่งเทียบเท่านานาอารยะประเทศ สิ่งล้ำค่าที่ซ่อนอยู่ในรูปทรงของเครื่องถ้วยสังคโลกเป็นแรงบันดาลใจให้คณาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ต้องการประดิษฐ์วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ในรูปแบบของการแสดงเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ การแสดงระบำลีลาลายสังคโลกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คงความงดงามทางสุนทรียภาพด้านนาฏศิลป์ดนตรีไว้อย่างทรงคุณค่าและคู่ควรให้ยั่งยืนต่อไป การแสดงชุดนี้ได้มีการสร้างสรรค์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 และมีการแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอยู่เป็นประจำจนถึงปัจจุบันนี้ กระบวนการสืบทอดระบำลีลาลายสังคโลก ได้ออกแบบการแสดงให้เป็นระบำในแนวระบำมาตรฐาน มุ่งเน้นความสวยงามของท่ารำ การแปรแถว เครื่องแต่งกาย และความไพเราะของท่วงทำนองเพลง กำหนดขอบเขตและรูปแบบในการสร้างสรรค์การแสดง โดยยึดหลักตามนาฏยจารีตเกี่ยวกับหลักในการประดิษฐ์ท่ารำไทยที่มีลีลาท่ารำผสมผสานให้สอดคล้องกับท่วงทำนองเพลงที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ท่วงทำนองเพลงมีทั้งช้าและเร็วตามรูปแบบการแสดง บรรเลงโดยวงโบราณที่มีลักษณะเฉพาะแบบของสุโขทัย ใช้เวลาในการแสดง 7 นาที โดยใช้ผู้หญิงแสดงล้วนจำนวน 8 คน เพื่อความสวยงามและอ่อนช้อยตามรูปแบบการรำ กระบวนท่ารำสื่อให้เห็นภาพตามลวดลายเส้นบนเครื่องสังคโลก เน้นการแปรแถวที่พร้อมเพรียงสวยงามที่สอดคล้องกลมกลืนกับทำนองเพลง  ซึ่งการกำหนดรูปแบบในการสร้างสรรค์กระบวนท่ารำมีความสอดคล้องกับหลักและวิธีประดิษฐ์ท่ารำของบรมครูด้านนาฏศิลป์ไทยหลายท่าน กระบวนการสืบทอดท่ารำเพื่อให้เกิดการสื่อสาร และความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้ถ่ายทอดท่ารำ และผู้รับการสืบทอดท่ารำ ในกระบวนการรำระบำลีลาลายสังคโลก จึงกำหนดชื่อท่ารำ หรือตั้งชื่อท่ารำตามจินตนาการ เพื่อการจดจำที่ง่ายขึ้น ต่อการเข้าใจในความหมาย ตลอดจนสื่อสารกันอย่างชัดเจนขึ้นในแต่ละกระบวนท่ารำ คุณค่าของระบำลีลาลายสังคโลกที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม นับเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาและคำนึงถึงในกระบวนการประดิษฐ์วัฒนธรรมด้านนาฏยศิลป์ “ระบำลีลาลายสังคโลก” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือความสำคัญของวัฒนธรรมการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณค่าที่มีต่อสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ และเล็งเห็นคุณค่าของการแสดงนั้นๆได้อย่างถูกต้อง การประดิษฐ์วัฒนธรรมด้านนาฏยศิลป์ “ระบำลีลาลายสังคโลก” สามารถนำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในเชิงรุกด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์  กระทรวงวัฒนธรรม สร้างศักยภาพในการบริหารจัดการวัฒนธรรมของวิทยาลัยนาฏศิลป์ ให้สามารถนำเสนอผลงานการแสดงเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม อนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ ศิลปะของไทยในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ทั้งยังสามารถนำไปบูรณาการให้เกิดคุณค่าในการจัดการแสดงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ทางมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/696
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012160009.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.