Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/786
Title: | Developing a Program to the Teacher Development of Student Centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 |
Authors: | Sunisa Tungtrakun สุนิสา ตังตระกูล Sinthawa Khamdit สินธะวา คามดิษฐ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนาโปรแกรม การพัฒนาครู การจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนเป็นสำคัญ Program development Teacher-development Learning management Student Centered |
Issue Date: | 13 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) To study the current conditions Desirable condition And the need for student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2. 2) To develop teacher development programs in student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2. With research and development processes Which is divided into 2 phases. Phase 1 Current conditions, desirable conditions And the need for student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2. Phase 2: The program development of teacher development in student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2. The sample group used in the research Phase 1, 5 experts. School administrators and teachers at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2., 308 persons. By stratified random sampling method. Phase 2 The program was evaluated by 7 experts. Tools used for data collection consisted of Suitability Assessment Form Current condition query Desirable condition Which is a rating scale questionnaire with 5 levels for evaluating the appropriateness. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, Essential Needs Index And classification power Content precision.
The results of the study revealed the following ;
1. Current study results Desirable conditions and necessary needs of student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2. Consists of 6 components 85 indicators which are 1) learning management 14 indicators 2) learner 11 indicators 3) management 14 indicators 4) teachers 18 indicators 5) Evaluation and evaluation 13 indicators and 6) curriculum 15 indicators. The results of assessing the suitability of the components and indicators of student-centered learning were found to be suitable at the highest level. At present, learning management which is student-centered is found to be at a medium level. As for the desirable conditions, the student - centered learning management found that the overall was suitable at a high level. The results of the needs analysis of learner - centered learning management found that the needs which are in order of highest order are 1) learning management 4) teachers 2) learners 3 ) Management 5) Curriculum and 6) Evaluation and evaluation.
2. Program development for teacher development in student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2. Consisting of 1) principles 2) objectives 3) content 4) implementation and 5) evaluation. The development of programs for student-centered learning management are 1) to study the problems and needs of teacher development 2) to determine the purpose of teacher development 3) planning for teacher development 4) implementation Teacher development and 5) teacher development evaluation. Methods of teacher development include learning from practice, training, education and observation. The development of teacher development consists of 3 parts, which are part 1 pre-development assessment, part 2 development and part 3 post-development assessment. The result of evaluating the suitability of the teacher development program in student-centered Management at the Schools in Kalasin Primary Educational Service Area 2, it was found that the overall was at the highest level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยมีกระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผู้บริหาร และครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 308 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 ประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสม แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เพื่อประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยงเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 85 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ 14 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านผู้เรียน 11 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการบริหารจัดการ 14 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านครู 18 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล 13 ตัวบ่งชี้ และ 6) ด้านหลักสูตร 15 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ 4) ด้านครู 2) ด้านผู้เรียน 3) ด้านการบริหารจัดการ 5) ด้านหลักสูตร และ6) ด้านการวัดผลและประเมินผล 2. การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การดำเนินการ และ 5) การประเมินผล การพัฒนาโปรแกรมในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ 1) ศึกษาการศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาครู 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนาครู 3) การวางแผนในการพัฒนาครู 4) การดำเนินการพัฒนาครู และ 5) การประเมินผลการพัฒนาครู วิธีการพัฒนาครู ได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การอบรม การศึกษาดูงาน การดำเนินการพัฒนาครู ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนา ส่วนที่ 2 การพัฒนา และส่วนที่ 3 การประเมินหลังการพัฒนา ผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/786 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010586042.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.