Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/803
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKittiya Khunaraken
dc.contributorกิตติยา คุณารักษ์th
dc.contributor.advisorJaruwan Thammawatraen
dc.contributor.advisorจารุวรรณ ธรรมวัตรth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciencesen
dc.date.accessioned2021-06-08T13:55:55Z-
dc.date.available2021-06-08T13:55:55Z-
dc.date.issued27/12/2020
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/803-
dc.descriptionMaster of Arts (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractThe thesis on "The Sacred Space in Magical Realistic Novels of Tree Apirum: Meaning and Construct" aims to study the sacred space in the magical realistic novels, including studying strategies for constructing sacred spaces in magical realistic novels. The scope of the data analysis has eleven novels, namely the story of the glass wool steel, Tayard Asoon, Nakee Nakee part 2, Chintawanee, the daughter of Satan, Nang Phaya snake, Phutphayak, Marityu Phayong, the serpent, the third dimension, and Grounddin story written by Tree Apirum using the concept of sacred space (sacred space), and the magical realistic concept is the main framework for the study. The results of the study showed that Tree Apirum, or Thep Chum Sai at Ayudhya, had an ancestor, Krom Khunrat Sihavikrom or the Phra Borom her royal highness Chum Sia, who has a particular identity adhering to the doctrine of Buddhism and with creative power based on goodness, beauty, and truth, the origin of Tree Apirum's magical realistic novels. This creativity was inspired by the story of the magical thief, Phuttabut, and the ghost in the palace, which is the author's identity, who is the royal family. The study of the sacred space in magical realistic novels of Tree Apirum found that the sacred space that appeared in the novel interacts with both society and community, traveling, and entertaining business. Whereas content characteristics of the sacred space in the magical realistic novels, it was found that the spaces appeared in various ways: 1) the class of conflict space which is a conflict between the upper class with the middle class and the lower class or the ordinary people; 2) the clashing spaces between urban and rural, which are the relegation of local knowledge to strangeness, humility, absurdity instead, presentation of the capitalist modern knowledge package; 3) the debating spaces between men and women which presents the aggressive and violent power of men and demonstrating women's power in various aspects according to the circumstances; 4)  the various spaces based on the local history of the major ethnic groups in the northeast and north which are the local wisdom presenting marginalized community identities of good and evil; 5) Spaces of re-production, tribal and Buddhist concepts presenting western philosophy of life. There is an important ideology that is a belief, the law of karma, faith in the precepts, meditation, and wisdom expressed through events and actions without conflict, bargaining thinking, and behavior of the characters. A study of the strategy for constructing sacred spaces in magical realistic novels of Tree Apirum articulated that all 11 novels contain strategies for constructing sacred spaces through language strategies, namely, the narrative of the truth, creating surrealism, emotion, offensive language, communication, political thought, borrowing languages and through conversational strategies. These can be done by using characters with particular consciousness such as priests, nuns, leaders, and senior characters to tell the story. The strategies of narrating this story are a unique characteristic of the senses through language. As for the construction of sacred spaces in the magical realistic novels, it was found that it was created through places and time as a community, religious places and natural sources, which as an assembly through a sacred ritual, ancient prayers, and scriptures, sacred objects constructing through sacred characters, representing power through two different characters: One character is a human and another is inhuman and assembly through phenomena and magical behavior. Strategies and construction of the sacred space passed through the processes. The information reflects that the sacred space in magical realistic novels of Tree Apirum conveys the significance of phenomenal language. The series of this literature leads to conclusions based on the study of texts and theoretical concepts. By presenting the message through the plot, story, scene, and characters, which is a unique way of expressing truth and surrealist, the special feature is to insert stories about power, miracle, holiness, and mainly supernatural power. The general characteristics of interaction, collision, acceptance, response, mixture manifest the dominance of mainstream culture. The universal characteristics are to resist and liberate oneself from cultural domination, which is not subdued under the colonial Western stereotype's power. These are the contributions to creating the magical realistic novels of Tree Apirum, based on cultural roots that are based on truth and miracle.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม : ความหมายและการประกอบสร้าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ รวมถึงศึกษากลวิธีประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์ ขอบเขตข้อมูลที่ศึกษาวิเคราะห์คือ นวนิยายจำนวน 11 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแก้วขนเหล็ก ทายาทอสูร นาคี นาคีภาค2 จินตวาณี ลูกสาวซาตาน นางพญาอสรพิษ ภูตพยัคฆ์ มฤตยูผยอง มิติที่สาม และเรื่องบาดาลดิน ประพันธ์โดย ตรี อภิรุม โดยใช้แนวคิดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (sacred space) แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ (magical realistic) เป็นกรอบหลักในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ตรี อภิรุม หรือ เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา มีต้นตระกูลคือกรมขุนราชสีหวิกรม หรือพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าชุมสาย มีอัตลักษณ์พิเศษคือ ยึดมั่นเชื่อถือในหลักคำสอนพุทธศาสนาและด้วยพลังสร้างสรรค์ที่ตั้งบนรากฐานของ ความดี ความงาม ความจริง จุดก่อเกิดของนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม สรรค์สร้างจากการรับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับเรื่องเล่าโจรขมังเวทย์ มือปราบพุทธบุตร และเรื่องผีในวัง เหล่านี้คือตัวตนของผู้เขียนที่เป็นราชนิกุลในตระกูลเจ้า การศึกษาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม พบว่า พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในนวนิยายมีปริบทสัมพันธ์กับสังคมทั้งต่อชุมชน การท่องเที่ยว และธุรกิจบันเทิง ส่วนลักษณะด้านเนื้อหาของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์ พบว่า ปรากฏพื้นที่ในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ 1) พื้นที่ความขัดแย้งทางชนชั้น เป็นความขัดแย้งของชนชั้นสูงกับชนชั้นกลางและชนชั้นล่างหรือสามัญชน 2) พื้นที่ปะทะประสานระหว่างความเป็นเมืองและความเป็นชนบท เป็นการผลักไสความรู้แบบท้องถิ่นให้เป็นความแปลกประหลาด ความต้อยต่ำ ความไร้เหตุผล แล้วนำเสนอชุดความรู้ความทันสมัยแบบทุนนิยมแทนที่ 3) พื้นที่การต่อสู้ต่อรองระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศ นำเสนอพลังอำนาจที่ก้าวร้าวรุนแรงของบุรุษเพศ และเสนอพลังสตรีหลายลักษณะตามกาลเทศะ 4) พื้นที่ความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนออัตลักษณ์ชุมชนชายขอบที่มีทั้งความดีและความชั่ว 5) พื้นที่ของการผลิตซ้ำแนวคิดแบบไตรภูมิและพุทธศาสนา นำเสนอปรัชญาชีวิตแบบจิตนิยมตะวันออก มีอุดมการณ์สำคัญคือความเชื่อกฎแห่งกรรม ความศรัทธาในศีล สมาธิ ปัญญา ที่แสดงผ่านเหตุการณ์และการดำเนินเรื่อง โดยมีความขัดแย้ง การต่อสู้ต่อรอง ทางความคิดและพฤติกรรมของตัวละคร การศึกษากลวิธีประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม พบว่า นวนิยายทั้ง 11 เรื่อง มีกลวิธีประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านกลวิธีทางภาษา คือ ภาษาเล่าความจริง ภาษาสร้างความเหนือจริง ภาษาสร้างอารมณ์ ภาษาสื่อความก้าวร้าวรุนแรง ภาษาสื่อความคิดทางการเมือง ภาษาคำยืม และผ่านกลวิธีทางบทสนทนา โดยใช้ตัวละครที่มีญาณพิเศษ เช่น พระสงฆ์ แม่ชี ผู้นำ และตัวละครอาวุโสเป็นผู้เล่าเรื่อง กลวิธีเหล่านี้เป็นลักษณะพิเศษสื่อสัญญะผ่านภาษา ส่วนการประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ พบว่า ประกอบสร้างผ่านสถานที่และเวลา เป็นชุมชน ศาสนสถาน และแหล่งธรรมชาติ เป็นการประกอบสร้างผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ผ่านบทสวดมนต์และคัมภีร์โบราณ ผ่านวัตถุมงคล การประกอบสร้างผ่านตัวละครศักดิ์สิทธิ์ นำเสนอพลังอำนาจผ่านตัวละครคนสองร่าง ตัวละครคนร่างเดียว และตัวละครอมนุษย์ และการประกอบสร้างผ่านเหตุการณ์และพฤติกรรมมหัศจรรย์ กลวิธีและการประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านกระบวนการดังกล่าวข้างต้น สื่อสะท้อนว่าพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม ถ่ายทอดนัยสำคัญจากปรากฏการณ์ทางภาษา วรรณกรรมชุดนี้นำไปสู่ข้อสรุปตามการศึกษาตัวบทและแนวคิดทฤษฎี ด้วยการนำเสนอสารผ่านโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก และตัวละคร ซึ่งเป็นความพิเศษที่สื่อแสดงความจริงและความเหนือจริง ลักษณะพิเศษ คือมุ่งสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอำนาจอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจเหนือธรรมชาติเป็นหลัก ลักษณะทั่วไป คือการปฏิสัมพันธ์ปะทะสังสรรค์ ยอมรับ ตอบโต้ ผสมผสาน แสดงให้เห็นความพยายามครอบงำของวัฒนธรรมกระแสหลัก และลักษณะสากล คือมุ่งต่อต้านและปลดปล่อยตนเองจากการครอบงำทางวัฒนธรรม ไม่สยบอยู่ใต้อำนาจของแบบแผนตะวันตกที่ทำตัวเป็นเจ้าอาณานิคม เหล่านี้เป็นส่วนสนับสนุนการสร้างนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม จากรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงกับความจริงและความมหัศจรรย์เป็นพื้นฐานth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์th
dc.subjectนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์th
dc.subjectนวนิยายของตรี อภิรุมth
dc.subjectการประกอบสร้างth
dc.subjectSacred spaceen
dc.subjectMagical realistic novelsen
dc.subjectNovels of Tree Apirumen
dc.subjectConstructen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleThe Sacred Space in Magical Realistic Novels of Tree Apirum : Meaning and Constructen
dc.titleพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ตรี อภิรุม : ความหมายและการประกอบสร้างth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010180008.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.