Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/807
Title: Recitations : The Language of Imagery and The Presentation of Ideology
บทอาขยาน : ภาษาจินตภาพและการนำเสนออุดมการณ์
Authors: Kanokwan Anonam
กนกวรรณ อโนนาม
keerati Dhanachai
กีรติ ธนะไชย
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: บทอาขยาน
ภาษาจินตภาพ
อุดมการณ์
recitations
the language of imagery
ideology
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis aims to study imaginary language and presenting the ideology in recitation by studying the book read more of Thai language department Thai reading recitation According to Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008), there are 63 chapters. The conceptual framework used in the study is the researcher applied the concept of imagery based on the concepts of Nittaya Kaewkalna (2008) and Kirati Thanachai (2018). As for the concept of ideology, the researcher based on Chai-Anan Samudavanich's ideology (1974, refer to Nattama Supachananan, 2017). The results of the research were summarized in 4 issues as follows: 1) the analysis of the imaginary language that appeared in the Thai recitations at each level could be concluded that at the early elementary school level, imaginary language was used with simple words that convey meaning clearly. In addition, expressions such as personification were used to convey emotions of love in animal behavior, metaphors to convey emotional determination in attention to study, etc. For the upper elementary school level, comparative expressions were used that convey a variety of emotions such as Metaphor images to express emotional determination in attention to work. The use of metaphor images to express love and sad emotions towards mothers. The use of metaphor images to arouse the emotions of patriotism and sacrifice for the nation, etc. The junior high school level used imaginary language with words that convey determination in attention to behave well. And the use of imaginary language to express the atmosphere, felling and image of metaphor outstandingly. And the senior high school level was used imaginary language to show comparisons, such as metaphors and analogies for to describe the doctrine Including the atmosphere and emotion. 2) The results of the analysis of values ​​and distinctive characteristics of the imaginary language in the Thai recitation could be summarized as follows: at the early elementary school level, in the scriptures, the main chapter focused on conveying emotions, determination in attention to implement in the needs of society. As for the scripts, the selections would use imaginary language that illustrates the comparison of two stories to indicate whether these things should be followed or should not be followed. At the upper elementary school level, the main recitation would focus on the recitation that conveys the story through the children's characters that convey the emotion of love for the mother and emotional determination in attention to study.  But the selections of recitation would focus on the praying verses that present the story as counterparts to show both similar and different results. The junior high school level, the main chapters of recitation highlight the doctrinal recitations. Therefore, the imaginary language was used as simple words that can convey meaning clearly and understanding easily.  But the selections of recitations would focus on the verses that are outstanding in language because it is recitation that describes the scene, atmosphere and emotion of the characters. The senior high school level, both the main recitation and the main verses were outstanding, both in the use of imaginary language to depict the atmosphere and emotions. By using images of comparative expressions such as analogies and metaphors to help create a clearer picture as well as showing astonishing emotions in the beauty of things that have been seen. As for the doctrinal type of prayers, there were words that were easy to understand. Rather, it clearly conveyed emotions in determination in attention to follow the doctrine. 3) The results of ideological analysis consistent with Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008), found that the national ideology, the good child ideology and the learning ideology. The national ideology was divided into 3 sets of ideas, namely, as follows; the ideology related to patriotism, the ideology related to religion and the ideology related to the King. For ideals about patriotism in the early elementary and upper elementary schools, imagery language was used with easy-to-understand words, clearly conveys patriotism. However, the recitation at the junior and senior high school level were hidden in patriotism through the presentation of Thai identity that is unique. For the ideology of religion in the early elementary school level, there was a direct mention of religious worship. At other levels, they would use imaginary language reflecting the ideology of religion by referring to religious beliefs and practices such as doing good, doing bad, etc. The ideology of the monarchy is clearly presented in the early elementary recitations. In which Thai people had to respect the monarchy. The chapters of recitation at the junior and senior high school level would present the ideology of the King in the form of conveying the story of the war of the King of Thailand who have been determined and wasn’t afraid to fight with the enemy. In cultivating good child ideology, it was found that gratitude, kindness, help and dependence unity among the group, sufficient living, etc. For the ideology of learning had cultivating to yearn of learning to apply knowledge to use in daily life as well as cultivating determination to study and work for the creation of successful works. 4) The results of ideological analysis consistent with the mission of the literature appearing in the recitation was found that there was an ideology of life and an ideology of using imaginary language according to the literature. For the ideology of life, such as speaking, having to speak well and thinking before speaking. For the trust, not having to trust anyone easily and about friendship, having to choose a friend that will lead to a good way.  For the ideology of using imaginary language according to the literature tradition, it was the use of language to describe the atmosphere and emotions of the characters, was found in the recitation at the upper elementary school from now on.
วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาษาจินตภาพและการนำเสนออุดมการณ์ในบทอาขยาน โดยศึกษาจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทอาขยานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 63 บท กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับจินตภาพตามแนวคิดของ นิตยา แก้วคัลณา (2551) และกีรติ ธนะไชย (2561) ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ ผู้วิจัยได้อาศัยแนวคิดอุดมการณ์ของชัยอนันต์ สมุทวนิช (2517, อ้างถึงใน ณัฐมา ศุภชนานันท์, 2560) ผลการวิจัยสรุปได้ทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ผลการวิเคราะห์ภาษาจินตภาพที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยของแต่ละระดับชั้นสรุปได้ว่า ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีการใช้ภาษาจินตภาพด้วยถ้อยคำง่าย ๆ สื่อความหมายโดยตรงชัดเจน รวมทั้งมีการใช้ภาพพจน์ เช่น บุคลาธิษฐานเพื่อสื่อถึงอารมณ์รักในพฤติกรรมของสัตว์ อุปลักษณ์เพื่อแสดงอารมณ์มุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน เป็นต้น สำหรับระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบที่สื่ออารมณ์อย่างหลากหลาย เช่น การใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์เพื่อแสดงอารมณ์มุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน การใช้ภาพพจน์อุปมาเพื่อแสดงอารมณ์รักและอารมณ์เศร้าที่มีต่อมารดา มีการใช้ภาพพจน์อติพจน์เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรักชาติและเสียสละเพื่อชาติ เป็นต้น ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้ภาษาจินตภาพด้วยถ้อยคำที่สื่อถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการประพฤติปฏิบัติตนที่ดี และการใช้ภาษาจินตภาพเพื่อแสดงบรรยากาศ อารมณ์ และภาพพจน์อุปมาอย่างโดดเด่น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีการใช้ภาษาจินตภาพเพื่อแสดงความเปรียบ ได้แก่ อุปลักษณ์และอุปมา เพื่อพรรณนาหลักคำสอนรวมทั้งบรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึก 2) ผลการวิเคราะห์คุณค่าและลักษณะเด่นของภาษาจินตภาพในบทอาขยานภาษาไทยสรุปได้ว่า ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในบทอาขยานบทหลักเน้นการสื่อถึงอารมณ์ความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามความต้องการของสังคม ส่วนบทอาขยานบทเลือกจะใช้ภาษาจินตภาพที่แสดงตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องราว 2 เรื่องราวเพื่อชี้แนะว่าสิ่งเหล่านี้ผู้เรียนควรกระทำตามหรือไม่ควรกระทำ สำหรับระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย บทอาขยานบทหลักจะเน้นบทอาขยานที่ถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวผ่านตัวละครเด็กที่สื่อถึงอารมณ์ความรักที่มีต่อมารดาและอารมณ์ความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน แต่บทอาขยานบทเลือกจะเน้นบทอาขยานที่นำเสนอเรื่องราวเป็นคู่เปรียบเทียบกัน เพื่อแสดงผลของการกระทำในทำนองเดียวกันและแตกต่างกัน ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น บทอาขยานบทหลักจะเน้นบทอาขยานที่เป็นหลักคำสอน ดังนั้นการใช้ภาษาจินตภาพจึงเป็นถ้อยคำง่าย ๆ สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน เข้าใจได้โดยง่าย แต่บทอาขยานบทเลือกจะเน้นบทอาขยานที่มีความโดดเด่นด้านการใช้ภาษา เพราะเป็นบทอาขยานที่พรรณนาฉากบรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งบทอาขยานบทหลักและบทอาขยานบทหลักมีความโดดเด่นทั้งการใช้ภาษาจินตภาพเพื่อพรรณนาบรรยากาศและอารมณ์ โดยนำภาพพจน์เปรียบเทียบ เช่น อุปมา อุปลักษณ์ มาช่วยเสริมให้เกิดภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งแสดงอารมณ์อัศจรรย์ใจในความงดงามของสิ่งที่ได้พบเห็น ส่วนบทอาขยานประเภทหลักคำสอนมีการใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย แต่สื่ออารมณ์ให้เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติตามหลักคำสอน 3) ผลการวิเคราะห์อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบ อุดมการณ์ชาติ อุดมการณ์เด็กดี และอุดมการณ์การเรียนรู้ โดยอุดมการณ์ชาติแบ่งเป็นชุดความคิด 3 ชุดความคิด ได้แก่ อุดมการณ์ที่เกี่ยวกับความรักชาติ อุดมการณ์ที่เกี่ยวกับศาสนา และอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำหรับอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับความรักชาติ ในบทอาขยานระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีการใช้ภาษาจินตภาพด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่าย สื่อถึงความความรักชาติอย่างชัดเจน แต่บทอาขยานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและบทอาขยานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะแฝงความรักชาติผ่านการนำเสนอความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับศาสนาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นมีการกล่าวถึงการเคารพบูชาศาสนาโดยตรง ส่วนระดับชั้นอื่น ๆ จะใช้ภาษาจินตภาพที่สะท้อนถึงอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับศาสนาโดยการกล่าวถึงการยึดมั่นในหลักปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เช่น การทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น การนำเสนออุดมการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มีการนำเสนออย่างชัดเจนในบทอาขยานระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยประชาชนไทยต้องให้ความเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนบทอาขยานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนำเสนออุดมการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในลักษณะของการถ่ายทอดเรื่องราวการสงครามของพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้มุ่งมั่นตั้งใจและไม่เกรงกลัวในการต่อสู้กับข้าศึก ในการปลูกฝังอุดมการณ์เด็กดีพบว่า มีการกล่าวถึงเรื่องความกตัญญู ความมีน้ำใจ การช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน การมีความสามัคคีในหมู่คณะ การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เป็นต้น สำหรับอุดมการณ์การเรียนรู้ มีการปลูกฝังเรื่องการใฝ่รู้ใฝ่เรียนรู้ เพื่อการนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการปลูกฝังเรื่องความมุ่งมั่นในการเรียนการทำงานเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 4) ผลการวิเคราะห์อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของวรรณคดีที่ปรากฏในบทอาขยาน พบว่า มีอุดมการณ์การดำเนินชีวิตและอุดมการณ์การใช้ภาษาจินตภาพตามขนบวรรณคดี สำหรับอุดมการณ์การดำเนินชีวิต ได้แก่ เรื่องการพูด ต้องพูดจาดีและคิดก่อนพูด เรื่องการเชื่อใจ ต้องไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ และเรื่องการคบเพื่อน ต้องเลือกคบเพื่อนที่จะนำพาไปสู่ทางที่ดี ส่วนอุดมการณ์การใช้ภาษาจินตภาพตามขนบวรรณคดี เป็นการใช้ภาษาเพื่อพรรณนาบรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร โดยพบในบทอาขยานระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/807
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010182001.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.