Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/812
Title: Comparisons of Mathematics  Learning  Between  Constructivism  Theory  Learning  to  Promote  the Analytical Thinking  Ability and the Tradition Learning Activities on  Logic for Mattayomsuksa  4  Students
การเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  
Authors: Waraporn Wintasombut
วราภรณ์ วินทะสมบัติ
Maliwan Tunapan
มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์
Constructivism Theory Learning
Analytical Thinking Ability
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:     Organizing mathematics teaching activities to be effective and successful needed to require a variety of learning activity techniques that be suitable for the learner by basing on the principle that all learners had the ability to learn and develop themselves, in organizing activities it was necessary to focus on allowing students to practice thinking process skills and generate ideas on their own. These processes could help learners to achieve better learning and achievement. This research aimed 1) to develop a plan for mathematics learning activities based on constructivism theory that promoted student who studying at 1st grade of senior high school to have effectively critical thinking ability in logic according to criteria 75/75, 2) to study the effectiveness index of mathematics learning activity plan based on constructivism theory that promoted student who studying at 1st grade of senior high school to have effectively critical thinking ability in logic lesson, 3) to compare the learning achievement of students studying with a learning activity plan based on the constructivism theory concept that promotes critical thinking ability with normal learning activities on student who studying at 1st grade of senior high school, 4) to compare the critical thinking ability of students studying with a learning activity plan based on the constructivism theory concept that promotes critical thinking ability with normal learning activities in logic lesson of student who studying at 1st grade of senior high school. The sample groups used in this research were 2 classes that each had 36 students who studying at 1st grade of senior high school, Semester 1, Academic Year 2019 in Phayakkhaphum Witthayakhan School, Mahasarakham Province. The samples were obtained by Cluster Random Sampling to be divided into experimental and control groups. The research instruments were 1) 18 plans for mathematical learning activity plans based on the constructivism theory concept that promotes critical thinking ability and 18 plans for normal learning activities on students who studying at 1st grade of senior high school, 2) test for measuring the learning achievement of 1st grade of senior high school, a total of 30 items with the power classified each item from 0.26 - 0.99, the difficulty was from 0.22 - 0.78, and the confidence in the whole version was 0.84 3) A total of 20 critically acclaimed tests, each item was divided into 0.36 - 0.52, the difficulty was 0.32 - 0.70, and the entire confidence was 0.52. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, percentage and hypothesis using t - test (Independent Samples). The research results appear as follows: 1. Process efficiency was calculated as a percentage of the mean score. From the behavioral score assessment, a skill exercise and a sub-quiz, the end of the mathematical learning activities based on the constructivism theory that promoted critical thinking ability. It was equal to 78.07 percent and the results score was calculated from the percentage of mean score arising from the mathematical achievement test after the mathematical learning activities based on the constructivism theory concept submitted critical thinking ability was 76.48 percent. From the analysis results, it can be concluded that the efficiency of the learning management plan (E1/E2) of mathematical learning based on the constructivism theory that promoted analytical thinking ability was 78.07 / 76.48 2. The index of effectiveness of mathematics learning activities based on the constructivism theory concept that promoted critical thinking ability of 1st grade of senior high school was 0.6308 or 63.08 percent. 3. 1st grade of senior high school mathematics learning achievement by organizing learning activities based on the constructivism theory concept that promoted critical thinking ability was higher than normal learning activities, that was significant at the 0.05 level. 4. The results of the critical thinking ability test after the construction of constructivism theory based on learning activities promoting critical thinking ability were significantly higher than that of normal learning activities at 0.05 level.
    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยเทคนิคมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด สร้างแนวคิดได้ด้วยตนเอง กระบวนการเหล่านี้จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นห้องเรียน เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  อย่างละ 18 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.26–0.99 ค่าความยากตั้งแต่ 0.22–0.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.84 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.36–0.52 ค่าความยากตั้งแต่ 0.32–0.70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.58 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทะสิบสมมติฐานโดยใช้ t–test (Independent Samples)     ผลการวิจัยปรากฏดังนี้     1. ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ โดยคำนวณจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินคะแนนพฤติกรรม แบบฝึกทักษะและแบบทดสอบย่อยท้ายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าเท่ากับร้อยละ 78.07 และคะแนนประสิทธิภาพของผลลัพธ์ โดยคำนวณจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่เกิดจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มีค่าเท่ากับร้อยละ 76.48 สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) ของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 78.07/76.48       2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6308 คิดเป็นร้อยละ 63.08     3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05     4. ผลการทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/812
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010283016.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.