Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/828
Title: | The Development of Supervisory Model to Create Teacher Professional Learning Community in the North Eastern Area การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Kornchawan Somphakdee กรชวัล สมภักดี Boonchom Srisa-ard บุญชม ศรีสะอาด Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนารูปแบบ การนิเทศ ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู Model Development Supervision Teacher Professional Learning Community |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The present study aimed to develop and to evaluate the effectiveness of the supervisory model to create teacher professional learning community in schools of the north eastern area. The research design was research and development divided into 3 phases. Phase 1 was the study of the current situations and desirable situations of the supervision to create teacher professional learning community in schools of the north eastern area. The study of this phase was related to the element analysis by document and related studies synthesis and in-depth interview. The participants were 760 comprised of school administrators and teachers in schools. Phase 2 was the development supervisory model to create teacher professional learning community in schools. It was the study related to the schools where there was best practicing selected by purposive sampling with the criteria of selection. The supervisory model to create teacher professional learning community in schools was assessed in terms of quality, appropriateness, possibility and benefits of the model through the seminar of the experts. Phase 3 was the evaluation results of the implementation a supervisory model to create teacher professional learning community in schools which was implemented with 45 participants consisted of school administrators and teachers in schools. The instruments used to collect data were questionnaire, structured interview, working performance evaluation form and satisfaction evaluation form. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation.
The results of the study revealed that
1. The results of the study related to current situations and desirable situations of the supervision to create teacher professional learning community in schools of the north eastern area pointed out as follows; 1) overall of the current situations rated in more level (mean 3.60) when considered into each aspect found that all of the elements rated in more level, 2) overall of the desirable situations rated in the most level (mean 4.70) when considered into each aspect found that all of the elements rated in the most level.
2. The results of the development a supervisory model to create teacher professional learning community in schools of the north eastern area shown that there were 4 elements of the supervisory model comprised of 1) making relationship, 2) planning, 3) performance and 4) evaluation for enhancing. The processes of teacher professional learning community in schools consisted of 6 elements as follows; co-vision, team working, leadership, learning for professional development, friendship community and structure of community supports. The appropriateness, the possibility and the benefits of the supervisory model was shown in the most level.
3. The results of implementing the supervisory model to create teacher professional learning community in schools of the north eastern area revealed that 1) the results of the workshop yielded that all participants passed the criteria and gained higher scored after the participation the workshop, 2) the participants who were supervised satisfied with the supervisory model to create teacher professional learning community in schools of the north eastern area in the most level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู ของโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 760 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู เป็นการศึกษาโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยมีวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง และมีข้อบ่งชี้ในการคัดเลือก และพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู ด้วยการตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นโดยการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูในโรงเรียน เป็นการศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 45 คน และเป็นการสรุปภาพรวมของการใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบประเมินการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.60) และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ สภาพที่พึงประสงค์ในนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุก (ค่าเฉลี่ย 4.70) และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ 2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการนิเทศประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ 2) การวางแผน 3) การปฏิบัติ และ 4) ประเมินสู่การพัฒนา ส่วนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม 2) ทีมร่วมแรงร่วมใจ 3) ภาวะผู้นำร่วม 4) การเรียนรู้พัฒนาวิชาชีพ 5) ชุมชนกัลยาณมิตร และ6) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน และรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้น 1) ผลการเรียนรู้โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้ร่วมพัฒนามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน ซึ่งมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 2) ผู้รับการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Doctor of Education (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/828 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010566005.pdf | 6.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.