Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/85
Title: Senior Monks in the Lower-Northeastern Thailand:  Processes of Identity, Faith, Power, and Community Security Creation
พระเกจิอาจารย์อีสานใต้  :  กระบวนการสร้างอัตลักษณ์  พลังศรัทธาและความมั่นคงของชุมชน
Authors: Sangkharukkhun Sirisamrarn (Supajaro)
สังฆรักษ์ คุณ ศิริสำราญ (สุภาจาโร)
Montri Srirajlao
มนตรี ศรีราชเลา
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: พระเกจิอาจารย์
ศรัทธา
ความมั่นคงของชุมชน
Senior Monks
Confidence
Community Security
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed at investigating the following:  1) the backgrounds of senior monks in the lower-northeastern Thailand and 2) the processes of identity and faith power of senior monks in the lower-northeastern Thailand for creating community security.  Research areas were Thung Mon Sub-district, Prasat District, Surin Province, Phrai Phattana Sub-district, Phu Sing District, Sisaket Province, and Sung Noen Sub-district, Krasang District, Buriram Province where the senior monks such as Luang Pu Hong Phrompanya, Luang Pu Suang Mahamuni, and Luang Pu Rit Rattana Choto used to  live.   Research tools were a survey form, an observation form, an interview form, and a focus group form.  Research data were collected by means of a survey, an observation, an interview, and a focus group.   A sample of 120 people was selected by means of a purposive sampling consisted of a group of key informants, a group of casual informants, and a group of general informants.  The data were analyzed by means of a triangulation technique.  And the results were presented by means of a descriptive analysis.  the results have revealed the following: Senior monks in the lower-northeast had been through rigorous practices and edification by various expert abbots who possess sophisticated wisdom and perceptiveness.   The senior monks had also accomplished and sharpened themselves in mentalities and meditations until achieving the highest morals.  As a result, they spread the words and drew people to have faith in valuable precepts, principles, and instructions through sagacity and talismans. As for identity and faith power creation for creating community security there are 5 aspects, it reveals that each community usually holds a ritual for making religious articles, a place for preserving non-deteriorated dead body of a senior monk in order to be the image of community soul center helping people to relieve their suffering and fear, prepares a place for allowing people walk through a space under a coffin of a dead body of senior monk, bathe scented water on the dead body and change a set of monk's robes for him, take holy water for drinking or bathing and possess religious articles that the senior monk created and recited incantations.  This is a reason affecting people to believe in the senior monk in terms of protecting them from accidents and perils, helping them to succeed in work, business and happiness.  In terms of community development, it indicates that the senior monks in the lower-northeastern Thailand are the leaders of development, they provide their communities with roads, bridges, water sources, weirs and dams helping people to have fertilized lands for livelihood, community products for selling, stability of income, and sufficient food sources.  In terms of community welfare, it indicates that the senior monks support educational grants for monks, novices, people who are interested in learning, poor and disadvantage people in order to reduce parents expenditure.  They support money for constructing preschool children centers, patient houses, purchasing medical devices, donate lands and funds to nursing homes and communities, and tell lottery numbers to people.  They provide better education and quality of life for people.  In terms of Dhamma propagation, it indicates that the senior monks give a sermon to people by including moral sayings, they conduct themselves as the good examples and teach people to conduct themselves in accordance with the Buddha's doctrines.  And the five aggregates, perseverance, tolerant for leading their life.  Although the senior monks passed away, their teachings have been perpetuated.  People increasingly come to practise Dhamma at the places where the senior monks used to live  every year.  indicate that It indicates that their teachings are good principles helping people to get away from suffering and enhancing them to reach happiness in their ways of life.  In terms of cultural and traditional perpetuation, it indicates that the senior monks have perpetuated culture and traditions from the past to the present and they allow people to participate in traditional activities, they allow people to use spaces for selling community products and souvenirs.  Thus, people in each community have gained income and the better life stability for them and their families.   
การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อศึกษา  1)  ความเป็นมาของพระเกจิอาจารย์อีสานใต้  2)  การสร้างอัตลักษณ์และพลังศรัทธาของพระเกจิอาจารย์อีสานใต้เพื่อความมั่นคงของชุมชน พื้นที่วิจัยคือ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพระเกจิอาจารย์อีสานใต้อาศัยอยู่คือ หลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ หลวงปู่สรวง มหามุนี และหลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสำรวจ  แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกต  การสัมภาษณ์  และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง  จำนวนทั้งหมด  120 รูป/คน  ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้  กลุ่มผู้ปฏิบัติ  และกลุ่มประชาชนทั่วไป  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า  และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์  ผลการวิจัยพบว่า พระเกจิอาจารย์อีสานใต้ ผ่านกระบวนการเรียนสรรพวิชาจากบูรพาจารย์ที่เป็นผู้ทรง วิทยาคุณ จากนั้นได้มาฝึกฝนตนเองจนชำนาญในวิชารวมถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อบรรลุถึงธรรมขั้นสูง จึงได้แสดงเมตตาแก่ผู้ศรัทธาด้วยวิทยาคุณและหลักธรรมผ่านกุสโลบายการนำเครื่องรางของขลังมาเป็นจุดดึงคนเข้าสู่ธรรมะ การสร้างอัตลักษณ์และพลังศรัทธาของพระเกจิอาจารย์อีสานใต้เพื่อความมั่นคงของชุมชนมี 5 ด้านคือ ด้านพิธีกรรม มีการสร้างวัตถุมงคล  สร้างสถานที่เก็บสรีระสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยเพื่อให้เป็นตัวแทน เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้คลายจากความทุกข์ ความหวาดกลัว การจัดสถานที่ให้ประชาชนได้ลอดใต้โลงศพ  สรงน้ำด้วยน้ำอบน้ำหอม เปลี่ยนผ้าไตร บูชาน้ำมนต์ไปกินไปดื่ม ไปอาบ หรือการได้ครอบครองวัตถุมงคลที่พระเกจิอาจารย์อีสานใต้สร้างและทำพิธีปลุกเสกขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้มีความศรัทธาต่อพระเกจิอาจารย์อีสานใต้เชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ภัยอันตรายใดๆ ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การทำมาค้าขายดียิ่งขึ้น ทำให้ชีวิตมีความสุข ด้านการพัฒนาชุมชน พระเกจิอาจารย์อีสานใต้เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้สร้างถนน สะพาน ขุดสระน้ำ สร้างฝาย/เขื่อนกั้นน้ำ  ทำให้ชาวบ้านมีที่ทำกินอุดมสมบูรณ์ มีการจำหน่ายผลผลิตจากชุมชน และมีหลักประกันจากการมีรายได้ สามารถเข้าแหล่งอาหารเลี้ยงชีพที่พอเพียง ด้านการสงเคราะห์ชุมชน  พระเกจิอาจารย์อีสานใต้ได้ให้ทุนการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ สามเณร ผู้สนใจการศึกษา ผู้มีฐานะยากจน  ผู้ด้อยโอกาส เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง สร้างศูนย์อบรมสำหรับเด็กก่อนเกณฑ์  สร้างอาคารที่พักสำหรับผู้ป่วย ซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ บริจาคที่ดิน เงินให้กับสถานพยาบาลและชุมชน และให้โชคลาภจากการเสี่ยงตัวเลข ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้านการเผยแผ่ธรรมะ  พระเกจิอาจารย์อีสานใต้ มีการเทศนาอบรม สั่งสอนด้วยการสอดแทรกข้อคิด คติธรรม ปฏิบัติตัวให้เห็น ให้ดู ให้ยึดหลักในขันธ์ 5 ให้มีความอดทน ความเพียรพยายามในการดำรงชีวิต ให้ยึดหลักคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้า  แม้พระเกจิอาจารย์อีสานใต้ได้ละสังขารไปแต่หลักธรรมคำสอนของท่านยังสืบทอดเจตนารมณ์ ยังมีผู้คนหลั่งไหลมาปฏิบัติธรรมยังสถานที่ท่านเคยพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่าการเผยแผ่ธรรมะของพระเกจิอาจารย์ใต้เป็นหลักการที่ดีงาม เป็นคติธรรมที่สามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้เป็นหนทางในการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างมีความสุข ด้านการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี  พระเกจิอาจารย์อีสานใต้ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ให้ขาด ชุมชนเข้าร่วมประเพณีกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือได้ว่าท่านได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีให้อยู่กับชุมชนตลอดไป มีการจัดประเพณีหรือไม่มีทางวัดได้อนุญาตให้ชุมชนมาใช้พื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าในชุมชนและของที่ระลึก ทำให้ชุมชนมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวจึงเกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากขึ้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/85
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012160002.pdf10.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.