Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/86
Title: Mangement of Tourist Areas in the Culture of Borderlands Khemarat Ubon Ratchathani Province
การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในมิติวัฒธรรมเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 
Authors: Rerngsak Keawpeth
เริงศักดิ์   แก้วเพ็ชร
Sisikka Wannajun
ซิสิกกา วรรณจันทร์
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว
มิติวัฒนธรรม
เมืองปลายแดนเขมราฐ
Management of Tourist Areas
Cultural Dimension
Borderlands of Khemarat
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:   This study had purposes to 1) study the history and the culture of  borderlands Khemarat Ubon Ratchathani province  2) study the resources for tourist attraction in the culture of  borderlands Khemarat Ubon Ratchathani province and  3) study the management of tourist areas the culture of  borderlands Khemarat Ubon Ratchathani province.  The study, a qualitative one, was conducted in Khemarat which was a purposively selected tourist attraction in Khemarat district.  The target group was made up of 42 people, which was selected purposively, comprising 14 primary informers, 14 operational informers, and 14 general informers.  The data was gathered from documents and from field operation and was written in descriptive analysis. The results of study : 1) From its history and development, it was found that the culture of  borderlands Khemarat was once a superior town to the other towns around and, unlike other towns, it came under Bangkok instead of Ubon Ratchathani.  The culture of  borderlands Khemarat itself had many towns coming under it such as Amnat Charoen and Khamkuenkaew.  2) Tourist attraction resources in the culture of  borderlands Khemarat Ubon Ratchathani came in 2 types :  the natural and religios way.  The natural way came up with Haad Sai Sung, Kaen khang Morb,  and Phu-ang while the religios way with Prachao-yai-ongsaen, Prachao-yai-ongmoen, and Prachao-yai-ongtue. There were public-relation, a journey to the tourist’s places, and food services as the woes to its tourism.  3) Management of the tourist areas in culture dimensions the culture of  borderlands Khemarat Ubon Ratchathani had much in the following details : For its arts and painting saw the management of an ancient 2000 - year civilization source in Tambo Jiad. it was open to the tourists to study its relics or ancient ruins. There were also a gathering of information on artwork, painting, and ancient ruins.  For its food services, there were attempts to improve the image of food services. The vital part to draw the tourists’ attention were an offer of a wide selection of dishes and desert.  The food on offer at the food shops and the walking street were indigenous food, including the one that was cooked fresh.  For its local clothing, there were also attempts to enhance the local cotton clothing which was worth a support from the tourists as a gift or a souvenir inasmuch as they should be made known publicly, for example, staging an at-dusk catwalk of indigenous clothing at the walking street in Khemarat.  For its tourist zone, many things were done as follows : tourist maps were made available containing various tourist places, there was also the opening ceremony and the public press of the Khemarat walking street by a group of Khemarat Lovers, the opening of the Culture and Tourism Conservation club, culture registration between Rangsit University and the Khemarat Lovers, a meeting for global tourist attraction development in Khemarat, and a cultural field-trip mutual study to build on the cultural road of Khemarat walking street. 
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาประวัติเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาทรัพยากรท่องเที่ยวเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเลือกแบบเจาะจงได้แก่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวของอำเภอเขมราฐ รวมกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน  42  คน เลือกแบบเจาะจงประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 14 คน ผู้ให้มูลเชิงปฏิบัติจำนวน 14 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 14 คน ข้อมูลการวิจัยได้รวบรวมจากเอกสาร และการปฏิบัติการภาคสนามโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า  1) จากการศึกษาประวัติเมืองปลายแดนเขมราฐพบว่า อำเภอเขมราฐ เดิมมีฐานะเป็นเมือง และเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญต่อเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นเมืองที่เทียบได้กับหัวเมืองเอก ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ถนนคนเดินเขมราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ถนนวิศิษฏ์ศรี ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมเป็นถนนสายเศรษฐกิจมีการค้าขายคึกคักมาก เพราะเป็นเมืองท่าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐปะชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อปี พ.ศ. 2518  2) สภาพปัจจุบันทรัพยากรการท่องเที่ยวเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้านศาสนวัตถุ ส่วนปัญหาทรัพยากรการท่องเที่ยวเมืองปลายแดนเขมราฐ ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ การเดินทางไปยังที่ท่องเที่ยว และบริการด้านอาหาร  3) การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในเมืองเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ด้านศิลปะจิตรกรรม มีการจัดการแหล่งอารยธรรมโบราณ 2000ปี ตำบลเจียด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาถึงโบราณวัตถุ และมีการศึกษาหาข้อมูลภายในวัดที่มีภาพ จิตรกรรมและโบราณวัตถุ ที่มีให้กลุ่มคนที่สนใจมาศึกษาศิลปะโบราณสถาน โบราณวัตถุในเขตอำเภอเขมราฐได้  ด้านอาหารเพื่อมีบริการนักท่องเที่ยว มีการจัดการด้วยการสร้างภาพลักษณ์อาหารให้เกิดความน่าสนใจกับนักท่องเที่ยว และส่วนที่สำคัญซึ่งเป็นจุดดึงดูดกับนักท่องเที่ยวนั้นประกอบไปด้วยการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร คาวหวาน ที่นำมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ร้านค้าและตลาดถนนคนเดินจะเป็นอาหารพื้นเมือง ที่มีเป็นการปรุงแบบสดและใหม่ ด้านการแต่งกาย มีการจัดการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายพื้นเมือง เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยว และการจับจ่ายซื้อเป็นของฝากโดยการประชาสัมพันธ์ ด้านสถานที่ มีการจัดการด้วยการทำแผนที่ท่องเที่ยวบอกเส้นทางไปท่องเที่ยวยังที่ต่างๆและการจัดการประชุมและแถลงข่าวเปิดงานการท่องเที่ยวถนนคนเดินเขมราฐของทางกลุ่มคนรักษ์เขมราฐ การจัดให้มีชมรมรักษ์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเมืองปลายแดนเขมราฐ การจดทะเบียนทางวัฒนธรรมและทำข้อตกลงระหว่างกันของมหาวิทยาลัยรังสิตกับกลุ่มคนรักษ์เขมราฐ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเขมราฐเพื่อความก้าวหน้าสู่สากล และเป็นที่ศึกษาดูงานของนักศึกษา ในด้านการศึกษาดูงานทางวัฒนธรรม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/86
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012160006.pdf6.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.