Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/861
Title: The Development of Active Learning Management Program of Mathematics Teacher Surin Secondary Educational Service Area Office
โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
Authors: Supawadee Senphunga
สุภาวดี เสนภูงา
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์
Program Development
Development of Active Learning of Mathematics Teacher
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were : 1) to investigate current conditions, desirable conditions and the necessity of active learning of mathematics teacher under Surin Secondary Educational Service Area Office and, 2) to develop programs of active learning management of mathematics teacher under Surin Secondary Educational Service Area Office. The research was carried out into 2 phases. Phase 1 was to study the current conditions, desirable conditions and the necessity of active learning management of mathematics teacher under Surin Secondary Educational Service Area Office. The samples were 205 mathematics teachers using stratified random sampling technique and research instrument was questionnaire. Phase 2 was to of active learning management of mathematics teacher under Surin Secondary Educational Service Area Office. The target group were 3 administrators, 3 mathematics teachers from School with best practices and 5 educational experts using purposive sampling method and research instrument were semi-structure interview and assessment of appropriateness and feasibility of the program. The statistics used in this research is percentage, mean and standard deviation.   The results showed that; 1. The results of the examining of the current conditions of active learning of mathematics teacher was overall in moderate level and the desirable condition was overall in the highest level. The necessity assessment to the development of active learning of mathematics teacher which ordered of the needs assessment from more to less were Learning management design, Learning by doing and thinking, The application of medias and technology learning management, and learning measurement and evaluation. 2. The Active Learning Management Program for Mathematics Teacher Development under Surin Secondary Educational Service Area Office were consisted of 1) principle 2) objective 3) content 4) development activities and 5) measurement and evaluation. The content consists of 4 modules : Module 1 Learning management design, Module 2 Learning by doing and thinking, Module 3 The application of medias and technology learning management, and Module 4 learning measurement and evaluation. The results of overall program evaluation were highest level appropriate and the possibilities are at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพ สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 205 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 3 คน ครูคณิตศาสตร์จำนวน 3 คน จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหาประกอบด้วย มี 4 Module ได้แก่ Module 1 การออกแบบการเรียนรู้ Module 2 การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ Module 3 การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ Module 4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/861
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586066.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.