Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/865
Title: Costs and Outcomes of Home Health Care in Patients with Schizophrenia by Multidisciplinary Team of Donmoddaeng District  Health Service Network in Ubonratchathani
ต้นทุนและผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Ariya Tangmanokun
อาริยา ตั้งมโนกุล
Surasak Chaiyasong
สุรศักดิ์ ไชยสงค์
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การเยี่ยมบ้าน
โรคจิตเภท
ผลลัพธ์
ต้นทุน
ต้นทุน-ประสิทธิผล
home health care
schizophrenia
outcomes
costs
cost-effectiveness
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Introduction: Treatment discontinuation and medication non-adherence are critical problems in caring patients with schizophrenia; this could cause recurrence and serious consequences of schizophrenia. A multidisciplinary team in Donmoddaeng district, Ubonratchathani province developed a home health care, proactive approach, to promote patient care and treatment continuity. This study aims to determine outcomes, costs and cost-effectiveness of home health care in patients with schizophrenia provided by a multidisciplinary team in Donmoddaeng district, Ubonratchathani province. Methods: A randomized controlled trial was conducted in 60 schizophrenia patients (30 in study group and 30 in control group), using size-4 permuted block to allocate patients to the groups. All patients received usual care in the hospital. The patients in study group received three visits of home health care by a multidisciplinary team and brief motivation counseling by a pharmacist. This study was a 6-month trial, run during July – December 2019. Clinical outcomes, quality of life and costs were measured. Problem-solving and satisfaction pertaining to home health care were collected. Cost-effectiveness of this home health care was determined under societal perspective.   Results: Most patients were male (study group 60% vs. control group 63%), aged above 30 years (93% vs. 67%), single (47% vs. 63%), graduated primary school (67% vs. 53%), employed (57% vs. 57%), living with family (77% vs. 90%) and disease duration higher than 5 years (73% vs. 53%). Brief motivation counseling revealed that it increased doctor visit from 86.67% before the study to 100% in month 1 and 2 (p=0.043), increased medication compliance from 86.67% to 100% in month 1 and 2 (p=0.043). Patients were highly satisfied with home health care (4.37±0.49 points). At month 6, this study found that home health care significantly improved patient’s outcomes in terms of reduced recurrence (0% vs. 16.67%, p=0.020), lower mean BPRS score (18.67±1.32 vs. 21.50±7.29, p=0.021), reduced hospitalization due to recurrence (0% vs. 13.33%, p=0.038), and increased quality of life score (11.00±10.86 vs. 9.50±9.13, p<0.001). Average home health care cost was 3,588.45 baht/patient. Total costs were 8,502.97 baht/patient in study group and 6,004.41 baht/patient in control group. Incremental cost-effectiveness ratios (ICERs) were 14,988.36 baht for reduced recurrence, 18,743.89 baht for decreased hospitalization due to recurrence, 88,288.34 baht for reduced Brief Psychotic Rating Scale (BPRS) and 166,570.67 baht for increased quality of life which lower than 1 GDP of Thailand in 2019 (248,257.40 baht/person/year). In several sensitivity analyses, the ICERs remained cost-effective. Conclusion: Home health care by multidisciplinary team in patients with schizophrenia is effective and cost-effective. Therefore, healthcare facilities should support this proactive approach in order to improve efficiency and effectiveness of schizophrenia patient care.
ปัญหาสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท คือ ผู้ป่วยไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง    ทำให้ขาดยาจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการจิตเภทกำเริบซ้ำ ทีมสหสาขาวิชาชีพในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี จึงพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบเชิงรุกอย่างเป็นระบบโดยการออกเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนผลลัพธ์และต้นทุน-ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ในผู้ป่วยโรคจิตเภท 60 คน (กลุ่มศึกษา 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน) ใช้ permuted block size 4 จัดสรรตัวอย่างเข้ากลุ่ม ทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลที่โรงพยาบาลตามปกติ กลุ่มศึกษาได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 3 ครั้งและการให้คำปรึกษาในการสร้างแรงจูงใจแบบสั้นโดยเภสัชกรในขณะเยี่ยมบ้าน ดำเนินการวิจัยเป็นเวลา 6 เดือน ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2562 วัดผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิต และต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม และวัดผลของการแก้ไขปัญหาและความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้านในกลุ่มศึกษา ประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านโดยใช้มุมมองของสังคม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (กลุ่มศึกษา ร้อยละ 60 vs. กลุ่มควบคุม ร้อยละ 63) อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 93 vs. ร้อยละ 67) สถานภาพโสด (ร้อยละ 47 vs. ร้อยละ 63) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 67 vs. ร้อยละ 53) ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 57 vs. ร้อยละ 57) พักอาศัยอยู่กับครอบครัว (ร้อยละ 77 vs. ร้อยละ 90) เป็นโรคจิตเภทมากกว่า 5 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 73 vs. ร้อยละ 53)   ผลการสร้างแรงจูงใจแบบสั้นในกลุ่มศึกษา พบว่า อัตราการมาพบแพทย์ตามนัดเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.67 ก่อนเข้าการศึกษา เป็นร้อยละ 100 ในเดือนที่ 1 และร้อยละ 100 ในเดือนที่ 2 (p=0.043) และอัตราการรับประทานยาตามแพทย์เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.67 ก่อนเข้าการศึกษา เป็นร้อยละ 100 ในเดือนที่ 1 และร้อยละ 100 ในเดือนที่ 2 (p=0.043) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้านอยู่ในระดับมาก (4.37±0.49 คะแนน) เมื่อติดตามผลลัพธ์ในเดือนที่ 6 พบว่า กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม มีอัตราการเกิดอาการจิตเภทกำเริบ (ร้อยละ 0 vs. ร้อยละ 16.67, p=0.020) ค่าเฉลี่ยระดับคะแนนอาการทางจิต (BPRS) (18.67±1.32 vs. 21.50±7.29, p=0.021) อัตราการนอนโรงพยาบาลจากอาการจิตเภทกำเริบ  (ร้อยละ 0 vs. ร้อยละ 13.33, p=0.038) และคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 11.00±10.86 vs. ร้อยละ 9.50±9.13, p<0.001) ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ต้นทุนของการเยี่ยมบ้านเฉลี่ย เท่ากับ 3,588.45 บาทต่อคน ต้นทุนรวมเฉลี่ย เท่ากับ 8,502.97 บาทต่อคน ในกลุ่มศึกษา และ 6,004.41 บาทต่อคน ในกลุ่มควบคุม อัตราส่วนของต้นทุนส่วนเพิ่มต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (ICER) ในการลดการเกิดอาการจิตเภทกำเริบ เท่ากับ 14,988.36 บาทต่อคน ในการลดการเข้านอนโรงพยาบาลจากการเกิดอาการจิตเภทกำเริบ เท่ากับ 18,743.89 บาทต่อคน ในการลดคะแนนระดับอาการทางจิต (BPRS) เท่ากับ 88,288.34 บาทต่อคน และในการเพิ่มคุณภาพชีวิต เท่ากับ 166,570.67 บาทต่อปีสุขภาพวะหรือปีที่ปรับด้วยคุณภาพชีวิต ซึ่งน้อยกว่า 1 GDP ของประเทศไทยในปี 2562 (248,257.40 บาท/คน/ปี) เมื่อวิเคราะห์ความไวในกรณีต่าง ๆ ค่า ICER ยังอยู่ในช่วงที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยสรุป การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผลและมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นหน่วยบริการสุขภาพควรสนับสนุนการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/865
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010781010.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.