Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/866
Title: Development of Process to Solve Ya-Chud Use Problems in Community by Community Organizations Council of Tambon Ban-Ku, Yangsisurat District, Mahasarakham Province
การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาการใช้ยาชุดในชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Atchara Meeduang
อัจฉรา มีดวง
Somsak Arparsrithongsagul
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: สภาองค์กรชุมชนตำบล
ปัญหายาในชุมชน
ยาชุด
ชุมชน
The Tambon Community Organization Council
community
Ya-chud
the problem of drug use in communities
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The Tambon Community Organization Council is the central area for acknowledging the needs of the people and jointly developing the community. This participatory action research aims to develop an activity pattern of the Ban Ku Community Organization Council to solve the problem of drug use in communities, and study the effect of such activity pattern at Ban Non Rang, Ban Ku Subdistrict, Yang Si Surat District, Mahasarakham Province. Data collected by in-depth interviews, group meeting, and community survey. The study found that the chairman of the Tambon Community Organization Council (Leader of Tambon Ban Ku passed a resolution approving the Tambon Ban Ku Sub-District Council Chairman) and President of the Ban Ku Sub-District Administrative Organization understand the importance of drug use in the community and support the Tambon Community Organization Council to resolve drug use problems in communities. The Tambon Community Organization Council meeting analyze the drug problem in the community and created a 3-year action plan. In the year 2020, the Ya-chud problem is selected to solve at Ban Non Rang as a pilot project. This will continue to complete 9 villages and resolve other drug problems in the coming years. This action plan receives budget support from the Ban Ku Subdistrict Administrative Organization. The activity pattern for solving drug use problems at Ban Non Rang was 1) a training for community leaders / public health volunteers by a hospital pharmacist, 2) educating each household on a monthly basis by public health volunteers, 3) Education through the news distribution tower 4) survey of grocery stores and educating shop owners by community leaders / public health volunteers, 5) set up community rules such as prohibiting the sale of drug sets in shops, grocery stores, carriages, 6) signing "no peddler and drug hawkers" at the entrance to both villages. After 3 months of operation, knowledge scores of community leaders / public health volunteers and people increased statistically (p <0.001, p <0.001, respectively), attitude scores of community leaders / public health volunteers and people increased statistically (p <0.001, p <0.001, respectively). The distribution of Ya-chud was not found in grocery stores. Before the operation, 4 Ya-chud (Ya-chud Mor-Ta-Harn, Ya-chud for pain, Ya-chud for waist pain, and Ya-chud for influenza flu) were found in 3 grocery stores out of a total of 4 grocery stores. The results make a conclusion that the Tambon Community Organization Council had the potential to solve the drug problem in the community. However, the working context of each Tambon Community Organization Council is so different. Therefore, research studies in other Tambon should be conducted to reveal the various activity pattern for solving drug use problems of the Tambon Community Organization Council.
สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นพื้นที่กลางสำหรับการรับรู้ความต้องการของประชาชนและร่วมกันพัฒนาชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการแก้ปัญหาการใช้ยาในชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกู่ และศึกษาผลของรูปแบบกิจกรรมดังกล่าว ที่บ้านโนนรัง ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่ม และการสำรวจชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำตำบลบ้านกู่ คือ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล (กำนันตำบลบ้านกู่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกู่) และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกู่ เห็นความสำคัญของปัญหาการใช้ยาในชุมชน และสนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชนตำบลดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในชุมชน การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลได้วิเคราะห์ปัญหายาในชุมชนและจัดทำแผนปฏิบัติการ 3 ปี โดยในปี 2563 ได้ทำการแก้ปัญหาเรื่องยาชุดที่บ้านโนนรังเป็นโครงการนำร่อง และจะดำเนินการต่อจนครบ 9 หมู่บ้าน และทำการแก้ไขปัญหายาอื่น ๆ ในปีต่อ ๆ ไป แผนปฏิบัติการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกู่ รูปแบบกิจกรรมการแก้ปัญหาการใช้ยาชุดที่บ้านโนนรัง คือ 1) การอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขโดยเภสัชกรโรงพยาบาล 2) การให้ความรู้แก่ประชาชนแต่ละครัวเรือนเป็นประจำทุกเดือนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 3) การให้ความรู้ทางหอกระจ่ายข่าว สปอต 4) การสำรวจร้านชำและให้ความรู้แก่เจ้าของร้านชำโดยผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุข 5) การกำหนดกติกาชุมชน เช่น ห้ามจำหน่ายยาชุดในร้านชำ รถเร่ เป็นต้น 6) การติดป้ายห้ามรถเร่คนเร่ขายยาชุดที่หน้าทางเข้าหมู่บ้านทั้ง 2 ทาง หลังจากการดำเนินงาน 3 เดือน คะแนนความรู้ของผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขและของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001 ตามลำดับ) คะแนนทัศนคติของผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขและของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001 ตามลำดับ) ไม่พบการจำหน่ายยาชุดในร้านค้าร้านชำ (ก่อนการดำเนินงานพบยาชุด 4  ชนิด คือ ยาชุดหมอทหาร ยาชุดแก้ปวด ยาชุดแก้ปวดเอว ยาชุดแก้ไข้หวัดใหญ่ ในร้านชำ 3 ร้านจากจำนวนทั้งหมด 4 ร้าน) ผลการศึกษาทำให้สรุปได้ว่าสภาองค์กรชุมชนตำบลมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหายาในชุมชน อย่างไรก็ตาม บริบทการทำงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน จึงควรทำการศึกษาวิจัยในตำบลอื่น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายของสภาองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในชุมชน
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/866
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010781008.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.