Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/874
Title: The Relationship between Accounting Professional Skills in the Digital Era and Work Success of Accounting Executives of Listed Companies  in Thailand
ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Authors: Jaruwan Saetao
จารุวรรณ แซ่เต้า
Nattawut Tontiset
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล
ความสำเร็จในการทำงาน
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Accounting Professional Skills in the Digital Era
Work Success
Listed Companies in Thailand
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to study the relationship between accounting professional skills in the digital era and work success of accounting executives of listed companies in Thailand. The sample  who were surveyed using a questionnaire, consisted of 131 accounting executives of listed companies in Thailand. The statistical techniques applied to analyze the data were t-test, F-test (ANOVA and MONOVA), multiple correlation analysis and multiple regression analysis. The research results showed that the opinions towards accounting professional skills in the digital era of accounting executives of listed companies in Thailand were at a high level. When individual aspects were considered, professional accounting ethics was at the highest level; at a high level were accounting knowledge and capability, personnel and communication, analysis and problem solving, digital technology and organizational management skills.  Additionally, their opinions about overall work success and individual aspects were at a high level, including advancement, recognition, good operations processes, and work achievement. The accounting executives of listed companies in Thailand who had received different amounts of accounting professional skills in the digital era  had significantly different opinions about continuing professional development (CPD) as a whole and about its individual aspects, including personnel and communication, analysis and problem solving, and organizational management skills.  In addition,  accounting executives with different salary levels had significantly different opinions about overall work success and recognition.  Analysis of the relationship and effects indicated that 1) accounting professional skills in the digital era in the aspect of accounting knowledge and capability had a positive relationship and effect on work success as a whole. 2) Accounting professional skills in the digital era in the aspect of professional accounting ethics had a positive relationship and effect on work success in the aspects of recognitin and work achievement. 3) Accounting professional skills in the digital era in the aspect of personnel and communication had a positive relationship and effect on work success as a whole. 4) Accounting professional skills in the digital era in the aspect of analysis and problem solving had a positive relationship and effect on work success in the aspect of advancement. 5) Accounting professional skills in the digital era in the aspect of digital technology had a positive relationship and effect on work success in the aspects of advancement, good operations processes, and work achievement. 6) Accounting professional skills in the digital era in the aspect of organizational management skills had a positive relationship and effect on work success as a whole, and in the aspects of advancement, recognition, good operations processes, and work achievement. In conclusion, accounting professional skills in the digital era had positive relationships and effects on work success of accounting executives of listed companies in Thailand. Therefore, accounting executives of listed companies in Thailand should prioritize  development of accounting professional skills in the digital era. The findings from this study can be applied to improve  professional accounting skills by attending training and seminars, along with developing knowledge, capabilities and professional expertise that will facilitate adaptation to current situations and lead to future work success.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 131 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความรู้และความสามารถทางการบัญชี ด้านบุคลากรและการสื่อสาร ด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านทักษะการจัดการองค์กร และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความสำเร็จในการทำงานโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า ด้านการเป็นที่ยอมรับ ด้านกระบวนการปฏิบัติงานที่ดี และด้านผลสัมฤทธิ์ในงาน ผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีจำนวนชั่วโมงการเข้ารับการอบรมด้านวิชาชีพการบัญชีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลโดยรวมและเป็นรายด้าน ด้านบุคลากรและการสื่อสาร ด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และด้านทักษะการจัดการองค์กร แตกต่างกัน นอกจากนี้ผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวมและเป็นรายด้าน ด้านการเป็นที่ยอมรับ แตกต่างกัน   จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบพบว่า 1) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านความรู้และความสามารถทางการบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวม 2) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ และด้านผลสัมฤทธิ์ในงาน 3) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านบุคลากรและการสื่อสาร มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวม 4) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้า 5) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้า ด้านกระบวนการปฏิบัติงานที่ดี และด้านผลสัมฤทธิ์ในงาน 6) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านทักษะการจัดการองค์กร มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า ด้านการเป็นที่ยอมรับ ด้านกระบวนการปฏิบัติงานที่ดี และด้านผลสัมฤทธิ์ในงาน โดยสรุปทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงาน ของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้นผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงควรให้ความสำคัญกับทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล โดยใช้ข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้วยการเข้าร่วมการอบรมและสัมมนา พัฒนาความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในวิชาชีพ เพื่อปรับตัวให้พร้อมทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานต่อไป
Description: Master of Accountancy (M.Acc.)
บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/874
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010950001.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.