Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/877
Title: | Conditions for women to be selected as an assistant to the village headman in Rongkham district, Kalasin province เงื่อนไขที่ทำให้ผู้หญิงถูกเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Authors: | Thikamporn Saenjek ทิฆัมพร แสนเจ๊ก Nattakant Akarapongpisak ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ Mahasarakham University. The College of Politics and Governance |
Keywords: | สตรีนิยม การเมืองในชีวิตประจำวัน เพศสภาพ Feminism Politics of Everyday Life Sex |
Issue Date: | 13 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this thesis were (1) to study the condition of positioning an assistant village headman of a woman in Rong Kham district of Kalasin province, and (2) to study the negotiation and adjustment of an assistant village headman to circumstance and obstacle which were determined by sex factor in Rong Kham district of Kalasin province through the implementation of qualitative research method. The results of this study reflected the condition that a woman was selected as an assistant village headwoman from the conditions of a village headman as a selector and of a selected woman herself. The selector’s condition consisted of an acquaintanceship with a selected person, also a close relative, leadership behavior, experience with work for public, a well-respected person of a village and family support so these the conditions of an assistant village headwoman were to benefit a village headman and this must be approved by villagers to simplify a village headman’s work. The condition that a woman accepted a role of an assistant village headwoman was the generation of a certain income to increase her bargaining power in a family and a good acquaintanceship with a village headman which could be an acquaintance, neighbor, relative, husband, wife, or old colleague. And an assistant village headwoman was as a village leader leading a woman to feel accepted. From her prior housework and family care, but after positioning an assistant village headwoman it led in working outside the home and feeling more accepted. An assistant village headwoman often had a self-motivation for local development, social work, and participation in a village.
The work of an assistant village headwoman was about the administration-related work which originally a man was selected for such work and until now more women were selected to work as leaders but, however, some problems and obstacles at work occurred. With a female sex, a woman had to bargain and adjust to circumstance and obstacle which were determined by sex factor. An assistant village headwoman adjusted and bargained through an expression of support, compliance, adaptation or adjustment to receive an acceptance in terms of dressing, family and work performance to succeed in her responsible task. When problems occurred, an assistant village headwoman’s expression was through a refusal and behavior of daily resistance i.e., gossip, self-disclosed behavior and complaint with friends or family members. However, the housework of family care still remained when she was an assistant village headwoman. Therefore, this needed to create her social space to receive an acceptance for both crucial roles of a housewife and an assistant village headwoman and for woman’s capability to successfully perform both tasks. The adjustment of an assistant village headwoman was the creation of sexual identity which was as self-identity for developing her social space to gain bargaining power and a change to get socially accepted. วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาเงื่อนไขในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของผู้หญิงในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) เพื่อศึกษาการต่อรองและปรับตัวของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านต่อสถานการณ์และอุปสรรคที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยเพศสภาพในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นถึงเงื่อนไขที่ทำให้ผู้หญิงได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาจากเงื่อนไขของผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้เลือก และเงื่อนไขของผู้หญิงที่ถูกเลือก เงื่อนไขของผู้เลือกนั้นประกอบด้วยมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ที่ถูกเลือก รวมถึงเป็นญาติใกล้ชิดกัน และต้องมีความเป็นผู้นำ ทำงานเพื่อส่วนรวมมาก่อน เป็นคนที่เป็นที่นับหน้าถือตาของหมู่บ้าน และมีครอบครัวให้การสนับสนุน ทั้งนี้เงื่อนไขที่นำมาใช้ในการเลือกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนั้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใหญ่บ้าน และต้องได้รับความเห็นชอบจากชาวบ้านเพื่อความง่ายต่อการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน ส่วนเงื่อนไขที่ผู้หญิงรับเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นเพราะงานผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในครอบครัวให้แก่ผู้หญิง และต้องมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ใหญ่บ้านเป็นอย่างดี โดยความรู้จักคุ้นเคยนี้ อาจจะเป็นคนรู้จัก เพื่อนบ้านกัน หรือเป็นญาติพี่น้อง เป็นสามี ภรรยา หรือเคยทำงานร่วมกันมาก่อน และการเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านยังทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากเดิมที่งานที่ทำคืองานในบ้านดูแลครอบครัว แต่เมื่อได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำงานนอกบ้าน ทำให้เกิดความรู้สึกได้รับการยอมรับมากขึ้น และในผู้หญิงที่รับทำงานนี้นั้นมักมีแรงจูงใจส่วนบุคคลที่ต้องการเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น อยากทำงานช่วยเหลือสังคม ต้องการมีส่วนร่วมในหมู่บ้านของตน โดยที่งานผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นงานด้านการปกครองที่แต่เดิมจะมีผู้ชายได้รับเลือกจนปัจจุบันที่มีการเปิดรับให้ผู้หญิงเข้ามาทำงานเป็นผู้นำมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในการทำงานย่อมมีปัญหา อุปสรรค และด้วยความเป็นเพศหญิงทำให้ต้องต่อรอง ปรับตัว ต่อสถานการณ์และอุปสรรคที่กำหนดโดยปัจจัยเพศสภาพ โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านผู้หญิงมีการปรับตัวและต่อรองด้วยการแสดงออกด้วยการสนับสนุน ยอมตาม ปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลง เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานรวมทั้งชาวบ้านที่ตนเป็นผู้นำ ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวเริ่มตั้งแต่การแต่งกาย ด้านครอบครัว และด้านการทำงาน เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จด้วยดี และเมื่อเผชิญกับปัญหา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจะแสดงออกโดยการบ่ายเบี่ยง และการต่อต้านขัดขืนในชีวิตประจำวัน เช่นการนินทา การปรับทุกข์ การบ่นกับเพื่อนร่วมงานหรือคนในครอบครัว อย่างไรก็ตามเมื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแล้วงานในหน้าที่แม่บ้านดูแลครอบครัวของผู้หญิงนั้นยังต้องทำอยู่ ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างพื้นที่ในสังคมเพื่อให้ได้รับการยอมรับโดยเป็นการสร้างบทบาททั้งในฐานะเป็นแม่บ้านและบทบาทในฐานะเป็นช่วยผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้สังคมยอมรับในความสามารถของผู้หญิงที่ทำหน้าที่ได้ทั้งสองอย่างโดยสมบูรณ์ การปรับตัวอีกอย่างของผู้หญิงที่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคือการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศคือการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนขึ้นมาก็เพื่อจะสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับตนเอง เป็นการต่อรองอำนาจและเกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้รับการยอมรับในสังคม |
Description: | Master of Political Science (M.Pol.Sc.) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/877 |
Appears in Collections: | The College of Politics and Governance |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60011380007.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.