Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/912
Title: The Music Learning Management Processes According to the TPACK MODEL for Grade 4 Students in Ban Nong Du School, Thawat Buri District, Roi Et Province
กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Kamonchanok Kaewsrisai
กมลชนก แก้วศรีใส
Sayam Chuangprakhon
สยาม จวงประโคน
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: กระบวนเรียนรู้รายวิชาดนตรี
TPACK MODEL
ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
Learning management process
Music courses
TPACK MODE
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to develop a learning management plan for music courses in order to achieve the efficiency criteria of 80/80, 2) to compare the academic achievement of students between pretest and posttest, and 3) to study students' satisfaction with the TPACK MODEL-based learning management process. The sample of this research was nine grade 4 students at Ban Nong Du School, Thawat Buri District, Roi Et Province in the second semester, academic year 2019. The sample was selected based on a purposive sampling. The research instruments were 1) The learning management plan based on TPACK MODEL with an Index of Item – Objective Congruence (IOC) of 0.82, indicating that according to experts’ opinion, the developed learning management plan could be efficiently applied, 2) The four-choice multiple-choice achievement test contained 30 items with a difficulty index and discrimination index between 0.40- 0.59, which was suitable and testable,  3) The questionnaire on students' satisfaction with the developed music learning management process with  15 items with an Index of Item – Objective Congruence (IOC) of 0.76. Data were analyzed using statistics, including mean, percentage, efficiency index  (E1 / E2) and  effectiveness index ( E.I.). The results of this research indicated as follows: 1.The efficiency index (E1 / E2) of the developed TPACK MODEL-based learning management process for the sample was 85.18/84.07, which was higher than the set criteria of 80/80. 2.The effectiveness index (E.I.) of the developed TPACK MODEL-based learning management process for the sample was 0.70, indicating that the sample’s academic progress was accounted for 70%. 3. The sample’s satisfaction with the developed TPACK MODEL-based learning management process was at a highest level with a mean of 4.78. In conclusion, the developed TPACK MODEL-based learning management process for the sample of grade 4 students at Ban Nong Du School, Thawat Buri District, Roi Et Province was efficient and effective to be used in teaching in music courses.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาตามกรอบ TPACK MODEL กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาตามกรอบ TPACK MODEL มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.83 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.40-0.59 มีความเหมาะสมสามารถนำไปทดสอบได้ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี จำนวน 15 ข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.76 และค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness index : E.I.) ผลการวิจัยปรากฎดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.18/84.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2. ประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.70 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 70 3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีความพึงพอใจเท่ากับ 4.39 และพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลในการเรียนรู้รายวิชาดนตรี
Description: Master of Music (M.M.)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/912
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012080007.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.