Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/913
Title: | The Guideline for Buddhist Tourism Development in Roi Et Province for Elderly Group แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ |
Authors: | Napaporn Taraartorn นะภาพร ทาระอาธร Siriwan Ghuangpeng ศิริวรรณ กวงเพ้ง Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ผู้สูงอายุ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว Buddhist Tourism Elderly Tourism Development |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The elderly has become emerging tourism market as many countries across the globe are experiencing aging society. Roi Et province is well known as the home for Buddhism worship places where can be promoted for the elderly group. Thus, this research aimed to: 1) explore general characteristics of the elderly behavior when visiting Roi Et's the Buddhist tourism destinations 2) study the factors relating the elderly behavior at their destinations; 3) suggest guideline for future development of Roi Et province in becoming Buddhist tourism destination for elderly group. The mixed methods research design was employed in this research. For the quantitative research, a total of 400 questionnaires were collected with the elderly (60 years or older) who visited Roi Et's the Buddhist tourism destinations. The quantitative data was analyzed by using percentage, mean and standard deviation. For the qualitative research, the Semi-Structured In-depth interview was conducted with a total of fifteen representatives from the stakeholders of Roi Et's Buddhist tourism destination. The qualitative data was analyzed by using content analysis technique. The results concluded that:
1. The majority of elderly travelling to Roi Et’s Buddhist tourism destination were female; aged between 60 and 64 years old; having home outside Roi Et province; travelled with family members or relatives and used private car; travelled on weekend and on one-day-trip; and the elderly chose to visit Roi Et’s well-known Buddhism sites.
2. The study revealed that the most important motivation of the elderly to travel was to spend time with family, friends or beloved persons. It also identified several factors relating the elderly tourism destination choice, that they mostly focused on: 1) attractiveness of tourism destination; 2) level of accessibility to the destination; 3) activities at the destination; 4) tourist facilities; and 5) accommodation, respectively.
3. The study concluded that, Roi Et province is generally ready for accommodating mass tourist groups. However, it requires further improvement for specifically taking care of the elderly group. The study suggested the guideline for further development of Buddhist tourism for Roi Et province that, all the stakeholders from both private and public sectors should understand physical limitation and travelling behaviors of the elderly in order to provide the services and facilities that can effectively fulfill their needs-at the destination. ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ ด้วยเพราะในหลายๆ ประเทศทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีพุทธสถานอันเลื่องชื่อหลายแห่ง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของกลุ่มผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของกลุ่มผู้สูงอายุ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ดสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม คือ การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 400 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเชิงลึก (Semi-Structured In-depth Interview) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของจังหวัดร้อยเอ็ดและกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุที่เดินทางเยี่ยมชมพุทธสถานของจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-64 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ว่างงานหรือไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,001 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น เดินทางท่องเที่ยวกับสมาชิกในครอบครัวหรือกับเครือญาติ โดยใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ช่วงเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว คือ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเลือกเดินทางท่องเที่ยวตามโอกาสที่สะดวกด้วยการเดินทางแบบไปเช้า เย็นกลับ ไม่มีการพักค้างคืน รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากบุคคลในครอบครัว ญาติหรือเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางไปเยี่ยมชม คือ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของจังหวัด 2. ปัจจัยผลัก (Push Factors) ที่ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเดินทางเยี่ยมชมพุทธสถาน คือ ต้องการใช้เวลากับครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก ปัจจัยดึงดูด (Pull Factors) กลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับ 1) สิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว 2) ความสามารถในการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว 3) กิจกรรมต่างๆ ณ แหล่งท่องเที่ยว 4) สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และ 5) การบริการด้านที่พัก ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในหวัดร้อยเอ็ดสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ควรส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาให้โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมต่อการรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านการเข้าถึง ภาครัฐและเอกชนควรให้ความร่วมมือในการพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวให้สะดวกต่อการเดินทาง ด้านที่พัก ควรปรับปรุงและพัฒนาที่พักให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ และด้านกิจกรรม ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/913 |
Appears in Collections: | The Faculty of Tourism and Hotel Management |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011080004.pdf | 6.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.