Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/918
Title: The Ethnonyms in Isan (Northeastern Thailand) : Word Formation and Social Construction of Meaning
คำเรียกชาติพันธุ์ในอีสาน : การสร้างคำและการประกอบสร้างความหมายทางสังคม
Authors: Punchaya Shivaniphat
ปุณชญา ศิวานิพัทน์
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: คำเรียกชาติพันธุ์
การสร้างคำ
โครงสร้างคำและความหมาย
การประกอบสร้างความหมายทางสังคม
อีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย)
Ethnonym
Word Formation
Structure and Meaning of Word
Social Construction of Meaning
Isan (Northeastern Thailand)
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aims to examine word formation of the ethnonyms in Isan  and analyze the social construction of meaning  which is conveyed through the ethnonyms. The method of this qualitative research is a document analysis. To analyze the data, these concepts : ethnonym, morphology and semantic system, language change and Critical Discourse Analysis by using Fairclough’s (1995) are applied. As for the structure and meaning of words, the study scrutinizes from the structure of word composition and the meanings of the lexeme that relates to the ethnonym. The 312 terms were analyzed in this analysis. The results revealed that the structure of a term has two important components, including; 1) the “main part” which manifests the core meaning of the term, and 2) “modifiers part” that adds specific attributes to the core meaning of the term. This study also revealed two types of term structure consisting of “single word” and “compound word”. Lastly, in terms of the meanings that constitute the term can be classified into 13 groups, including  1) the term expression of group/people, 2) the term indicating “human being”, 3) name of nationality, 4) the localities in which the ethnicities live, 5) geographic indicators, 6) the lifestyle of ethnicities, 7) customs and traditions of ethnic groups, 8) specific spoken language characteristic, 9) religion, 10) social class, 11) negative words/insults, 12) status statement of ethnic groups and 13) condition statement The study of the relationship between word form and meaning of the ethnonyms was found that  the ethnonyms in Isan have a variety of words. One reason is due to language changes. Which occurs in two characteristics which are 1) the sound change had three main changes : consonant and vowel variation, assimilation, and sound loss. Which is the main reason that causes the said change may be due to the pronunciation of the speaker. 2) the semantic change had three main changes : semantic broadening, amelioration, and pejoration. In this regard, the meaning of the word has changed. It is the nature of the language that inevitably changes over time. The result  of the language strategies related to the ideology shows that the text or context related to the ethnonyms in Isan. Conveyed 7 important ideologies including  political ideology, otherness ideology, ethnic ideology, social class ideology, and religious ideology. There are 3 language strategies used in communicating ideology including  1) lexicalization 2) system of address, 3) name and naming, 4) referencing, 5) presupposition, 6) speech acts, and 7) myth The results of the discourse practice found that the study of the process of creating and interpretation from text. Shows that the discursive practice are presented through literature which is an ethnographic writings, historical documents and the current writings about the ethnic group . It is an important part in reproducing the ideology or idea set. Which affect or influence the system of ideas, beliefs, values, or patterns of behavior towards each other in society. In addition, the social context has changed and has a dynamic nature. Also affects the content appearing in the text which corresponds to the ideas, ideologies, and aspirations of people in each period. In which these discourses were created interpreted in four characteristics including 1) Interpretive discourse on nation-states, 2) Interpretive discourse on nationalism, 3) Interpretive discourse on otherness and 4) Interpretive discourse on ethnic identity. In which the process of creating and from interpretation discourses has affected to word formation and social construction of meaning through the ethnonyms in Isan, both directly and indirectly. The results of the study of socio - cultural practices found that social and cultural factors that have an effect on the production/distribution of the hidden ideology. Resulting in consumption/interpretation of the texts of people in society. Such as the set of ideas and beliefs of the people in society, which is related to a dynamic social context that changes according to social evolution. Resulting in a new set of ideas and beliefs to replace the original idea or belief set. That is the society has changed the context in various eras. Especially in political policy, which has contributed to various discourses. That affects thoughts ideas, beliefs, or attitudes of people in society. When people in society believe will push and execute that belief into reality and lead to social and cultural changes until eventually becoming a set of ideas or ideologies affecting society and ethnic groups. However, this study found that it has resulted in 3 aspects which are 1) politics and government, 2) society and culture, and 3) economy and tourism.  
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างคำเรียกชาติพันธุ์ในอีสาน  และศึกษาคำเรียก ชาติพันธุ์ในอีสานกับการประกอบสร้างความหมายทางสังคม  โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์จากเอกสารเป็นหลัก วิเคราะห์โดยอาศัยแนวคิดเรื่องชื่อชาติพันธุ์ แนวคิดเรื่องระบบคำและความหมาย แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา และแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Critical Discourse Analysis – CDA) ผลการศึกษาโครงสร้างคำและความหมายของคำเรียกชาติพันธุ์ในอีสาน  ซึ่งพิจารณาจากโครงสร้างของการประกอบรูปคำและความหมายของหน่วยศัพท์ที่นำมาประกอบเป็นคำ โดยวิเคราะห์จากคำเรียกชาติพันธุ์ในอีสานจำนวนทั้งสิ้น 312 คำ ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของคำเรียกชาติพันธุ์มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ “ส่วนหลัก” ทำหน้าที่แสดงความหมายหลักของคำ และ “ส่วนขยาย” ทำหน้าที่เพิ่มความหมายแก่ส่วนหลักเพื่อให้ส่วนหลักมีความหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น  ทั้งนี้  คำเรียกชาติพันธุ์ในอีสานมีโครงสร้าง 2 รูปแบบ  ได้แก่  โครงสร้างแบบคำเดี่ยว  และโครงสร้างแบบคำประสม ในด้านความหมายของหน่วยศัพท์ที่นำมาประกอบเป็นคำเรียกสามารถจัดแบ่งตามกลุ่มที่มาและความหมายออกได้เป็น 13 กลุ่ม ได้แก่  1) คำแสดงความเป็นกลุ่มคน/พวก  2) คำที่มีความหมายว่า “คน” 3) ชื่อชนชาติ 4) ถิ่นฐานที่กลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ 5) สภาพทางภูมิศาสตร์  6) วิถีการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์  7) ธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์  8) ลักษณะเฉพาะทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ 9) ศาสนา  10) ลักษณะชนชั้นทางสังคม  11)  คำที่มีความหมายในเชิงดูถูก/เชิงลบ 12) คำแสดงสถานภาพของกลุ่มชาติพันธุ์  และ 13) คำบอกสภาพ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปคำและความหมายของคำเรียกชาติพันธุ์พบว่า  การที่คำเรียกชาติพันธุ์ในอีสานมีรูปคำที่หลากหลาย  เหตุผลประการหนึ่งก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภาษา  โดยเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ  1) การเปลี่ยนแปลงทางเสียง  ซึ่งพบว่ามี 3 ลักษณะได้แก่  การแปรของเสียงพยัญชนะและสระ  การกลมกลืนเสียง  และการสูญเสียง  โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจเนื่องมาจากการออกเสียงตามสบายของผู้เรียก และ 2) การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย โดยมี 3 ลักษณะได้แก่ ความหมายกว้างขึ้น ความหมายเปลี่ยนไปในเชิงบวก และความหมายเปลี่ยนไปในเชิงลบ ทั้งนี้ การที่คำมีความหมายเปลี่ยนไปดังกล่าวนี้ นับเป็นธรรมชาติของภาษาที่ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา    ผลการศึกษากลวิธีทางภาษาที่สัมพันธ์กับอุดมการณ์พบว่า ตัวบทวาทกรรมที่กล่าวถึงหรือมีบริบทเกี่ยวข้องกับคำเรียกชาติพันธุ์ในอีสานได้ถ่ายทอดหรือสื่ออุดมการณ์ที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่  อุดมการณ์ทางการเมือง อุดมการณ์ความเป็นอื่น อุดมการณ์ทางชาติพันธุ์ อุดมการณ์ทางชนชั้น และอุดมการณ์ทางศาสนา และได้ใช้กลวิธีทางภาษาในการสื่ออุดมการณ์ดังกล่าว ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีการใช้กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอ ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้คำเรียกขาน การใช้ชื่อและการเรียกชื่อ การอ้างถึง การใช้มูลบท การใช้วัจนกรรม และการใช้เรื่องเล่า/ตำนาน ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่า การศึกษากระบวนการสร้างและสื่อความหมายจากตัวบทวาทกรรม ทำให้เห็นว่าภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมได้ถูกนำเสนอผ่านวรรณกรรมอันได้แก่  งานชาติพันธุ์นิพนธ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงข้อความลายลักษณ์ที่นำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในปัจจุบัน นับเป็นส่วนสำคัญในการผลิตซ้ำอุดมการณ์หรือชุดความคิด อันส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม หรือแบบแผนปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม นอกจากนี้ การที่บริบททางสังคมมีการปรับเปลี่ยนและมีลักษณะเป็นพลวัตที่มิได้หยุดนิ่งตายตัว ยังส่งผลต่อเนื้อหาสาระที่ปรากฏในตัวบทวาทกรรมซึ่งสอดคล้องกับความคิด อุดมการณ์  และความมุ่งหวังของผู้คนในแต่ละยุคสมัย  โดยวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ได้สื่อความหมาย 4 ประการ ได้แก่ 1) วาทกรรมสื่อความหมายเรื่องรัฐชาติ 2) วาทกรรมสื่อความหมายเรื่องชาตินิยม 3) วาทกรรมสื่อความหมายเรื่องความเป็นอื่น  และ 4) วาทกรรมสื่อความหมายเรื่องอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์  ซึ่งกระบวนการสร้างและสื่อความหมายจากวาทกรรมดังกล่าวได้ส่งผลต่อการสร้างคำและการประกอบสร้างความหมายทางสังคมที่สื่อผ่านคำเรียกชาติพันธุ์ในอีสานทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่า ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลทำให้เกิดการผลิตหรือกระจายตัวบทที่แฝงด้วยอุดมการณ์ อันทำให้เกิดการบริโภคหรือตีความตัวบทของคนในสังคมซึ่งได้แก่ ชุดความคิดและความเชื่อของผู้คนในสังคมซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมที่มีลักษณะเป็นพลวัตและปรับเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการทางสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ความคิด จึงเกิดชุดความคิดและความเชื่อใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ชุดความคิดหรือความเชื่อเดิม กล่าวคือการที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงบริบทในยุคสมัยต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องนโยบายทางการเมืองมีส่วนทำให้เกิดวาทกรรมต่างๆ ที่ส่งผลต่อความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติของผู้คนในสังคม และเมื่อผู้คนในสังคมเกิดความเชื่อใดๆ แล้วก็จะผลักดันและปฏิบัติการให้ความเชื่อนั้นกลายเป็นความจริงและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมต่อไปอีก จนในที่สุดได้กลายเป็นชุดความคิดหรืออุดมการณ์ที่ส่งผลต่อสังคมและกลุ่มชาติพันธุ์  ซึ่งจากการศึกษานี้พบว่าได้ส่งผลใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/918
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010161001.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.