Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/919
Title: Guidelines for Management Cultural Capital to be Buddhadhamma Learning Place : A Case Study of Wat Phosiboyai Borabue District Mahasarakham Province
แนวทางการจัดการทุนทางวัฒนธรรมในวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธธรรม : กรณีศึกษาวัดโพธิ์ศรีบ่อใหญ่ ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Dumrngsak Panunto (Tantipalo)
ดำรงศักดิ์  ปะนันโต (ตนฺติปาโล)
Theerapong Meethaisong
ธีระพงษ์ มีไธสง
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: วัฒนธรรม
ทรัพยากร
พุทธธรรม
คติความเชื่อ
Culture
Resource
Buddhist Morality
Belief
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to study the Strategies for Temple as A Learning and Cultivating Morality  Place : A case study of  Wat Phosi Boyai, Boyai Sub-district, Borabue District,  Mahasarakham  Province. The data was collected from document and field by using interview, observation, and communication of 35 samplings that are people and photos. Moreover, the data was examined, analyzed and presented in descriptive analysis. The research found that the Community at Ban Boyai Has a long history First established a village In the year 1782 by a group of people have "Father Hemracon" Be the team leader. Which the people of this group are the people of Hokke or Muang Suang In the area of ​​Roi Et Province Which the people of this group are the people of  Laohoke  or Muang Suang In the area of ​​Roi Et Province Which the hunter likes to hunt for food In the past, Ban Boyai community area In this area is a dense jungle with elephants, tigers, deer, monkeys and other animals. Live a lot Classified as an abundant source Suitable for setting Houses are a dwelling place. Therefore the village was set up and named the village after the name of Nong Nam that "Ban Nong Bua Daeng" Later, there were people evacuating Coming to stay more Later, more people came in. With the appointment of the village headman or called "Kon ban"  And set "Big Father Kon  Banbung" as a way to stir the house or the village headman With the name of the new village as "Ban Bonokkhao " Later, the name of the village was changed. "Ban Boyai" In the year 1907 In which the villagers in the community have the traditional culture and tradition of Heat 12 Which has a belief in Buddhism Therefore established a temple in the year 1887 With "Luang Pho Lakkham" and villagers working together to establish With the name "Wat Phosi Boyai" dating until today Proceeded with the construction of permanent an object Classified as a valuable religious resource Therefore has an idea to be a learning source for students and general Buddhists By using the resources that are classified as learning resources in the amount of 7 bases 1) Lan Dharma Borirak Phosi Buathong 2) Sar Chaopu Boyai 3) The new chapel bases  4) Lan Phra Buddha Metta Fortune 5) Ancient Sim 6) Lan Dharma Buddhadhamma 7) Crematorium By using it as a study and learning guide Which is on moral or Buddhathamma in  Buddhism To strengthen, explain, expand understanding in learning base That has been created appropriately
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธธรรม กรณีศึกษา: วัดโพธิ์ศรีบ่อใหญ่ ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ใช้เครื่องมือ คือ การสัมภาษณ์ การสังเกต และสนทนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 รูป/คน นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ และนำเสนอเชิงพรรณนา วิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านบ่อใหญ่ มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งมี “พ่อเหมละคร” เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งคนกล่มุนี้เป็นชาวเหล่าฮกหรือเมืองสรวง อยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นพรานชอบล่าสัตว์เป็นอาหาร ในครั้งอดีตพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อใหญ่ ในถิ่นแถบนี้เป็นป่ารกทึบมีช้าง เสือ กวาง ลิง และสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จัดว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย จึงมีการตั้งหมู่บ้านขึ้นและตั้งชื่อหมู่บ้านตามหนองน้ำว่า “บ้านหนองบัวแดง” ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านหรือเรียกว่า “กวนบ้าน” และตั้งให้ “พ่อกวน บ้านบุ้ง” เป็นกวนบ้านหรือผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยมีการตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านบ่อนกเขา” ต่อมามีการปรับเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านบ่อใหญ่” ในปี พ.ศ. 2450 ซึ่งชาวบ้านในชุมชนมีวิถีวัฒนธรรมและจารีต ประเพณีดั้งเดิมของฮีต 12 ซึ่งมีคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา จึงได้มีการจัดตั้งวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยมี “หลวงพ่อหลักคำ”  และชาวบ้านร่วมมือกันได้จัดตั้งขึ้น พร้อมด้วยตั้งชื่อว่า “วัดโพธิ์ศรีบ่อใหญ่” สืบมาจนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุจัดเป็นต้นทุนทรัพยากรทรงคุณค่าทางศาสนา จึงได้มีแนวคิดจัดเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ จำนวน 7 ฐาน คือ 1) ฐานลานธรรมบริรักษ์โพธิ์ศรีบัวทอง 2) ศาลเจ้าปู่บ่อใหญ่ 3) ฐานอุโบสถหลังใหม่ 4) ลานพระพุทธเมตตามหาลาภ 5) สิมโบราณ 6) ลานธรรมพุทธธรรม 7) ฌาปนสถาน โดยนำมาจัดเป็นแนวทางการศึกษาเรียนรู้ ซึ่งอิงค์ด้วยคติธรรมหรือพุทธธรรมในทางพระพุทธศาสนา นำมาเสริมสร้างอธิบายขยายความให้เข้าใจในฐานการเรียนรู้ที่ได้สร้างขึ้นอย่างเหมาะสม
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/919
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010154007.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.