Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/920
Title: Ecocritical Discourse Analysis of Cambodian Narratives in Thai translated version
วาทกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทย
Authors: Vannak Sorn
Vannak Sorn
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: วาทกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ
ตัวบท
การปฏิบัติการทางวาทกรรมเชิงนิเวศ
เรื่องเล่ากัมพูชา
Eco-critical discourse
Text
Eco-discourse practices
Cambodian Narratives
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research thesis aims to study eco-critical discourse analysis of Cambodian narratives in Thai translated version. Those stories have been collected and published by the leading Cambodian institute called Buddhist Institute by collecting 243 Khmer folk tales from all over the country and arranging them into categories, as well as classifying those Khmer folk tales into main 04 types: 1) stories related to histories such as Phnom Bros Phnom Srey in Kampong Cham province, Phnom Sam Pao, Phnom Banon in Battambang Province, Phnom San Harn in Kampot province, and Phnom Kong Ri in Kampong Chhnang Province; 2) stories of the court legal proceedings: the rabbit as a judge and other various stories which contain the Kueng Keon scriptures; 3) stories of fishing, trapping, shooting animals such as an elephant looping; and 4) stories related to traditions, auspicious traditions by using the central concepts including 1) eco-critical discourse analysis concepts, 2) virtual ecological concepts, 3) pragmatic presupposition, and 4) ethnographic semantics. The study articulated the eco-critical discourse analysis in Cambodian narratives: 1) language relevant to ideology, influencing ideology of religion, politics, gender, and other aspects, 2) discourse practices, the establishment of eco-critical discourse analysis, social interpretation from discourses and virtual ecological concepts in Cambodian narratives by 1) using ecological terminology, 2) ecological metaphors and 3) ecological paradigms. In conclusion, the eco-critical discourse analysis of Cambodian narratives in Thai translated version has reflected on the Cambodian social context through the narrative, which is a wide variety of moral stories, namely, religious and ethnics, tradition, politics, governance, gender, and traditional practices. Adhering to the supernatural, showing respect for nature as "Great Mother" representing various ecologies in Cambodian narratives has shown that human beings have great beliefs about nature, rely on nature in various aspects, coexist between man and nature as human beings' desires. It could be said that human beings absorb nature and develop them as a social identity Stating, "the second nature" is an indirect way of incorporating nature into social roles. Cambodian narratives, therefore, are representative ecologies that human beings think more than what is the real nature in the present.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยหลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทย และ 2) เพื่อศึกษาปฏิบัติการทางวาทกรรมเชิงนิเวศในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทย ข้อมูลตัวบทที่ศึกษาเป็นเอกสารนิทานพื้นบ้านกัมพูชาที่รวบรวมและพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษากัมพูชา โดยสถาบันพุทธศาสนบัณฑิตกัมพูชา จำนวน 9 เล่ม ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดยประยูร ทรงศิลป์ ตีพิมพ์เผยแพร่โดยภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สถาบันราชภัฏธนบุรี ปี.ค.ศ 1997 โดยปรากฏมีเรื่องเล่ากัมพูชาจำนวน 243 เรื่อง ทั้งนี้ ได้จัดเป็นหมวดหมู่และจำแนกประเภทเรื่องเล่ากัมพูชาออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น เรื่องภูเขาชายภูเขาหญิง ในจังหวัดกำปงจาม ภูมเขาเล้าเป็ดเล้าไก่ ภูเขาสำเภา ภูเขาบานน ในจังหวัดพระตะบอง ภูเขาแสนหาญ ในจังหวัดกำปอด ภูเขากองรี ในจังหวัดกำปงชนัง 2) เรื่องที่เกี่ยวกับฉบับของตุลาการในการตัดสินคดีความ เช่น​ เรื่องผู้พิพากษากระต่าย และเรื่องต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์กึงก็อนไตร 3) เรื่องที่เกี่ยวกับการประมง การดักสัตว์ การยิงสัตว์ เช่น การคล้องช้าง และ 4) เรื่องที่เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ประเพณีงานมงคล โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดหลัก ได้แก่ แนวคิดวาทกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ แนวคิดภาษาศาสตร์เชิงนิเวศ แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และแนวคิดการวิเคราะห์ตัวบท อีกทั้งยังใช้กรอบแนวคิดรอง ได้แก่ แนวคิดอรรศาสตร์ชาติพันธ์ และแนวคิดอรรศาสตร์ปริชาน ผลจากการศึกษากลวิธีทางภาษาในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทย พบมีการใช้คำศัพท์ในการตั้งชื่อตัวละครซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ชื่อตัวละครที่เป็นมนุษย์ และชื่อตัวละครที่เป็นอมนุษย์ รวมถึงยังมีการใช้คำศัพท์ในการตั้งชื่อสถานที่ซึ่งพบมี 3 ลักษณะ ได้แก่ ชื่อสถานที่ที่เป็นพื้นที่ทางกายภาพ ชื่อสถานที่ที่เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณ และชื่อสถานที่ที่เป็นพื้นที่ทางสังคม อีกทั้งยังมีการใช้เรื่องเล่าซึ่งพบมีการใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับมนุษย์และอมนุษย์ การใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ และการใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการใช้วาทศิลป์เกี่ยวกับอุปลักษณ์เชิงภาพพจน์ และการใช้วาทศิลป์เกี่ยวกับอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ รวมถึงยังมีการใช้สัญญะว่าด้วยสัญลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติซึ่งพบอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ธรรมชาติว่าด้วยภูเขา และธรรมชาติว่าด้วยแหล่งน้ำ ตลอดจนการใช้สัญญะว่าด้วยสัญลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ถูกสิ่งขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ซึ่งพบมี 2 ลักษณะ ได้แก่ สิ่งที่เป็นรูปธรรม และสิ่งที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญญะว่าด้วยสัญลักษณ์เกี่ยวกับสัตว์ซึ่งพบมีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ สัตว์ในตัวบทเรื่องเล่า สัตว์กับข้อบกพร่องของมนุษย์ และสัตว์กับความโหดร้ายและป่าเถื่อน โดยกลวิธีทางภาษาในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทยนั้นมีความหลากหลาย ทั้งนี้จากการศึกษาตัวบทในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทย จะพบว่าเรื่องเล่าโดยส่วนใหญ่จะถูกประกอบสร้างผ่านบริบทของสังคม วิถีชีวิตของคนกัมพูชา ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศ สถานที่ ความเชื่อ การประกอบอาชีพ ธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว อันเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้าใจกัน ทั้งยังแฝงค่านิยมบางประการของชาวกัมพูชาที่นับถือและยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ส่วนผลจากการศึกษาปฏิบัติการทางวาทกรรมเชิงนิเวศในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทยนั้นพบมี 3 ประเด็นสำคัญ คือภาษากับอุดมการณ์พบมีทั้งอุดมการณ์ทางศาสนา อุดมการณ์ทางการเมือง และอุดมการณ์ทางเพศสภาวะ อีกทั้งวิถีปฏิบัติการทางวาทกรรมพบมีการสื่อความหมายทางสังคมจากวาทกรรม อำนาจและชนชั้นทางสังคม วาทกรรมสื่อความหมายเรื่องอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นและชาติพันธุ์ และวาทกรรมการประกอบสร้างความจริงผ่านภาษา นอกจากนี้วิถีปฏิบัติติการทางสังคมและวัฒนธรรมพบมีวาทกรรมกับการประกอบความศักดิ์สิทธิ์ผ่านพื้นที่อุดมคติเชิงนิเวศ ทั้งในฐานะพื้นที่ที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ ในฐานะพื้นที่มายาคติต่อธรรมชาติ และในฐานะพื้นที่อื่น โดยปฏิบัติการทางวาทกรรมเชิงนิเวศในเรื่องเล่ากัมพูชาฉบับแปลภาษาไทย เป็นการใช้ภาษาเชิงวาทกรรมทางวรรณศิลป์ในการกระตุ้นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือการตอบสนองทางอารมณ์หรือสุนทรีย์เพื่อสื่อความคิดที่ว่าด้วยการดำรงอยู่ทางจิตวิญญาณของโลกธรรมชาติและการที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติที่มีชีวิต
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/920
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010161002.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.