Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/922
Title: A Comparative of Literature "Sangtong" in Thai Version with "Kyongsang" in Khmer Version
การเปรียบเทียบวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร
Authors: Porramin Srirat
ปรมินทร์ ศรีรัตน์
Jaruwan Thammawatra
จารุวรรณ ธรรมวัตร
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การเปรียบเทียบ
วรรณคดี
สังข์ทอง
ขยองสังข์
Comparison
Literature
Sangthong
Kyongsang
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research thesis aims to compare literary elements such as titles, contents, plots, theme, characters, scenes, concepts, particles, and literature appearing in "Sangthong" in Thai version with "Kyongsang" Khmer version, and to compare the social and cultural interpretation existing in Sangthong" in Thai version with "Kyongsang" Khmer version. In the social and cultural aspects, religion and beliefs, values, politics and classes, it was studied from two literary texts, namely Sangthong literature written by the King Samdach Prah Buddha Lertlahnaphalai of Silapa Bunnakarn in 2002, and Kyongsang literature in Khmer version of the Buddhist Institute of Buddhasana Bandit in 1961 (translated by the researcher) by using the concept of comparative theory in literature as a research instrument including the concept of comparing literary elements, particles, social and cultural concepts. The result of the research study manifested that the comparison literary elements of these two texts, consisting of similarities and differences, namely the naming of the titles found that the titles are different. "Sangthong" literature in the Thai version was named based on the nature of the birth, skin, and characteristics of the protagonist. Whereas, "Kyongsang" literature in the Khmer version was named based on the nature of the birth of the protagonist. In the content of the story, it demonstrated that in Sangthong literature has only the ancient object, which is the only element of the story. On the contrary, in Kyongsang literature, there are many ancient objects, spells, Othan tenses, as elements of the story. In the theme of the story, it showed that the central theme was different, which was the jealousy and loss in power. In the story of the Sangthong, it is jealousy and loss in power of the mistress. Regarding the Kyongsang literature, it is the creation of the Bodhisattva's prestige and Buddhist principles, and a different theme of Sangthong literature is faith and loyalty of a wife to her husband, as in Buddhist principles. Whereas in Kyongsang, it is the jealousy and loss in power of one wife to another. The fidelity and loyalty of the wife to the husband manifest that each character has their own different roles both good and bad sides while the name of the characters and the royal name, the number of characters also vary. In the scene, it articulates that there are similar and different scenes.  Each scene has different details, yet the concept has found that the main idea is the same; it is the meritocracy and the Buddhist beliefs. There are different sub-concepts that in Sangthong literature is love, unjudgmental people based on their appearances, gratitude, while in Kyongsang literature that is love, gratitude. In the particles of the story, it shows that the particle of characters and events have the same features; the particle of objects are different as in Kyongsang literature as it has more particles of the object than in Sangthong literature. In the literary art aspect, it articulated that in Sangthong literature was written as poetry and plays. On the other hand, Kyongsang literature was composed as epic words in terms of rhetoric movies, rhythm, and literary rhetoric, which it was found that it was composed as an advertisement as well. The comparison of social and cultural interpretations in terms of society and culture, it demonstrates that there are ways of life, wisdom, and traditions, having both the same and different features. According to religion and beliefs, it articulates that Thai and Khmer society mainly practice Buddhism. Furthermore, there are also beliefs in Hinduism and traditional beliefs, as well as values. It is found that in a society, there are both good and bad human beings; as a result, there are good and bad values in society. In the political aspect, it shows the same characteristics, that is, rule by an absolute monarchy which has a king with the greatest power to rule the country. On the international relation perspectives, it is found that both texts have bound relationships with Roi Et Muang. In other aspects, it acclaims that in Kyongsang literature has mentioned various cities which had sent tributes to Phrah Kyongsang by Southeast Asian nations and European countries. In the class aspects, it shows similar characteristics, which have four classes such as king, boss, noble, ordinary people (villagers), which each class has different roles and responsibilities. The comparison of literary elements, social and cultural interpretations makes sense of the author's concept, which aimed at educating and entertaining readers through religious principles. By using these literary arts, it becomes more beautiful which makes it popular in every age and era. These two literary texts are originated from the same place but utilizing their respective national languages which give them the same and different characteristics.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณคดี ได้แก่ ชื่อเรื่อง เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก แนวคิด อนุภาค และขนบวรรณศิลป์ที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร และเพื่อเปรียบเทียบการสื่อความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ศาสนาและความเชื่อ ค่านิยม การปกครอง และชนชั้น โดยศึกษาจากวรรณคดีสองฉบับ ได้แก่ บทละครนอกเรื่องสังข์ทองพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ฉบับสำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ปีพ.ศ. 2545 และวรรณคดีเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมรของสถาบันพุทธศาสนบัณฑิต ปี ค.ศ. 1961 (แปลโดยผู้วิจัย) โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการเปรียบเทียบทางวรรณคดีมาเป็นเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณคดี แนวคิดเกี่ยวกับอนุภาค และแนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณคดีทั้งสองฉบับมีทั้งลักษณะเหมือนและแตกต่างกัน คือ การตั้งชื่อเรื่อง พบว่า ชื่อเรื่องแตกต่างกัน ในวรรณคดีฉบับภาษาไทย คือ “สังข์ทอง” เป็นการตั้งชื่อตามลักษณะการเกิดและผิวพรรณของตัวละครเอก ส่วนวรรณคดีฉบับภาษาเขมร คือ “ขยองสังข์” เป็นการตั้งชื่อตามลักษณะการเกิดของตัวละครเอก ด้านเนื้อเรื่อง พบว่า เรื่องสังข์ทองมีเพียงอดีตวัตถุเป็นองค์ประกอบของเรื่องเพียงอย่างเดียว ส่วนเรื่องขยองสังข์ มีอดีตวัตถุ คาถา สโมธาน เป็นองค์ประกอบของเรื่อง ด้านแก่นเรื่อง พบว่า มีแก่นเรื่องหลักแตกต่างกัน ในเรื่องสังข์ทอง คือ ความอิจฉาริษยาและหลงในอำนาจของเมียน้อยที่มีต่อเมียหลวง ส่วนในเรื่องขยองสังข์ คือ การสร้างสมบารมีของพระโพธิสัตว์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และมีแก่นเรื่องรองแตกต่างกัน ในเรื่องสังข์ทอง คือ ความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของภรรยาที่ต่อสามี, หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนในเรื่องขยองสังข์ คือ ความอิจฉาริษยาและหลงในอำนาจของมเหสีที่มีต่อมเหสีด้วยกัน, ความซื่อสัตว์และความจงรักภักดีของภรรยาที่มีต่อสามี ด้านตัวละคร พบว่า ตัวละครแต่ละตัวมีหน้าที่และบทบาทของตนเองในเรื่องแตกต่างกันออกไป มีทั้งตัวละครฝ่ายดีและฝ่ายร้าย ส่วนชื่อตัวละครและราชทินนาม จำนวนตัวละคร มีความแตกต่างกัน ด้านฉาก พบว่า มีฉากที่เหมือนและแตกต่างกัน แต่ละฉากมีรายละเอียดแตกแต่งกันออกไป ด้านแนวคิด พบว่า มีแนวคิดหลักเหมือนกัน คือ เป็นเรื่องผู้มีบุญญาธิการและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา มีแนวคิดรองแตกต่างกัน คือ ในเรื่องสังข์ทอง คือ ความรัก, การไม่ตัดสินคนจากรูปลักษณ์ภายนอก, ความกตัญญู ส่วนในเรื่องขยองสังข์ คือ ความรัก, ความกตัญญู ด้านอนุคภาค พบว่า อนุภาคตัวละครและเหตุการณ์มีลักษณะเหมือนกัน อนุภาควัตถุสิ่งของแตกต่างกัน คือ ในเรื่องขยองสังข์มีอนุภาควัตถุสิ่งของมากกว่าเรื่องสังข์ทอง ด้านขนบวรรณศิลป์ พบว่า เรื่องสังข์แต่งด้วยกลอนบทละคร ส่วนเรื่องขยองสังข์แต่งด้วยคำกาพย์ ด้านโวหารภาพพจน์ สำนวนโวหาร และโวหารรสวรรณคดี พบว่า มีการนำมาแต่งคำประพันธ์เช่นเดียวกัน การเปรียบเทียบการสื่อความหมายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่า มีวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และประเพณีที่ ที่เหมือนและแตกต่างกันออกไป ด้านศาสนาและความเชื่อ พบว่า สังคมไทยและเขมรนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์และความเชื่อดั้งเดิมร่วมด้วย ด้านค่านิยม พบว่า ในสังคมหนึ่ง ๆ มีทั้งคนดีและไม่ดีปะปนกัน จึงมีค่านิยมที่ดีและที่ไม่ดีเกิดขึ้นในสังคม ด้านการปกครอง พบว่ามีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นการปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พบว่า ทั้งสองฉบับมีความสัมพันธ์กับร้อยเอ็ดเมือง ในด้านความแตกต่าง พบว่า ในเรื่องขยองสังข์ ได้กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ ที่ได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายแด่พระขยองสังข์มีทั้งชาติในอุษาอาคเนย์และชาติฝั่งยุโรป ด้านชนชั้น พบว่า มีลักษณะเหมือนกัน คือ มี 4 ชนชั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์, เจ้านาย, ขุนนาง, ไพร่ (ชาวบ้านชาวเมือง) แต่ละชนชั้นมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวรรณคดี และเปรียบเทียบการสื่อความหมายทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้เข้าใจแนวคิดของผู้แต่งที่มุ่งให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้อ่านผ่านหลักธรรมทางศาสนา โดยใช้ขนบวรรณศิลป์ได้ไพเราะงดงามจึงทำให้ได้รับความนิยมมาทุกยุคทุกสมัย วรรณคดีทั้งสองฉบับมีที่มาจากที่เดียวกันแต่ใช้ภาษาประจำชาติของตนทำให้มีลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/922
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010180005.pdf11.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.