Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/923
Title: The Chinese in Praphattsorn Sevikol Novels and Short Stories
ความเป็นจีนในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล
Authors: Penprapa Laotanon
เพ็ญประภา เหล่าทะนนท์
Jaruwan Thammawatra
จารุวรรณ ธรรมวัตร
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ความเป็นจีน
นวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล
The Chinese
Praphattsorn Sevikol Novels and Short Stories
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis entitled the Chinese in Praphattsorn Sevikol novels and short stories aims to analyze the Chinese and to analyze strategies for presenting the Chinese through literary elements. Praphattsorn Sevikol novels and short stories, whose scopes of data are analyzed from 10 novels, namely Maliwan Boy (1987), Lord Lai Mungkorn (1990), Ask for That Pillow...That You Dream to Bolster (1998), Sampaothong (1998), Sing Tung (1998), Monsoon Curtain (1998), Leung Mai Lai Mei (2001), Rose China (2006) Piman Prae (2010), and China Moon (2014). The 12 short stories are Tee Noi, Shrine (San Chao), wooden shoes, Sam Bai, Mo Mae Ko, New Year's Day, Baan Chai Dong, Mainland, Broken Fin, The Silent Room, composed by your majesty Praphattsorn Sevikol. This research was based on the concept of ethnicity, identity, and literary elements. The results of the study articulated that Praphattsorn Sevikol novels and short stories present 08 aspects of the Chinese: 1) the Chinese in physical space were found to be an area that existed during the time of the Indochina War for decolonization before the Chinese era in Thailand, capitalism, and globalization. 2) Ethnic ideology of Chinese found that it was the Chinese way in the motherland, the nationalism, and the ethnic ideology with the Confucius philosophy as the main principle from the ancient Chinese era of the Three Kingdoms to the Manchu dynasty and the new communist political revolution. 3) The Chinese of the sacred and auspicious space found as an expression of prestige and auspicious, not a faith-based, worship rituals on important days still existing, but their meaning has changed from the original principle. 4) The Chinese in society and relationships found that there is a small social unit which is family. The bigger social unit is relatives or family groups of the same family. It is linked with other surnames by marriage extending to the family clan of the son-in-law and daughter-in-law. A social unit that plays a role in the economy is a networked interest group (the same homeland). 5) The Chinese in food, clothing, housing, and Chinese medicine found to be the birth of the daily cultural life of the Chinese and Thai people with Chinese ancestry. Many things are still Chinese identities, but some are universal, amenable to new social contexts and globalization. 6) The Chinese in profession found the to present a unique overview of Chinese identities is the success in the trading profession. 7) The Chinese in language found to represent a group causing a strong integration of language groups of the family name, the food name, and the nickname. 8) The Chinese in the arts found that presents the content of the image to see the Chinese in the art such as building houses, a shrine, painting a mental picture on the wall, house and restaurant decoration with the Chinese auspicious characters. The strategies for presenting the Chinese through the literary elements of Praphattsorn Sevikol novels and short stories are presented in 07 issues: 1) the strategies for presenting the Chinese through the storyline found the proceeding of the story by introducing characters, using characters' words or actions, and proceeding the story from the end of the outcome of the story to be presented first operation section having both external and internal conflicts. There are critical points and loosening the knot. The closing story is closing the matter from loosening the knot and the proceeding of the story shown by the characters themselves. 2) The strategy of presenting the Chinese is through the characters found that the minor character is seniors both female and male characters. They have a role and importance in the story and other events. 3) The strategy of presenting the Chinese through dialogue found to present a dialogue that characterizes the character's personality, and the dialogue that helps in the proceeding of the story both dialogue showing the character traits of Chinese and Thai people of Chinese ancestry, and a dialogue showing the beliefs of Chinese and Thai people of Chinese ancestry / the Chinese of the Chinese and the Thai people of Chinese ancestry. 4) Strategies for presenting the Chinese through storytelling methods found that the narrative using scenes or foreign locations and sets a realistic story that mimics real events in society. Interpolates the author's imagination aim to expose the various aspects of human life straightforwardly. 5) Strategies for presenting the Chinese through storylines found to define the subject for life, realistic story, genre of retro stories, and foreign story. The method of defining such a story opens an area of ​​narrative experiences with the history of Chinese immigrants in various circumstances. 6) The strategies of presenting the Chinese through the scenes found to use the historical background of Chinese and Thai people of Chinese ancestry is a story to achieve realism by location or historical event and scenes depicting Chinese people and Thai people of Chinese ancestry. It helps to understand the emotions of the characters affecting the procedure of the story which makes it possible to understand the way of life, ideas, beliefs, culture, and traditions of Chinese people and Thai people of Chinese ancestry. 7) Strategies for presenting the Chinese through themes found to be presenting the essence of life, the theme about family problems, the theme of the economy, and themes about politics and government.
วิทยานิพนธ์เรื่อง ความเป็นจีนในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นจีนและเพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านองค์ประกอบทางวรรณกรรม ในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล โดยมีขอบเขตข้อมูลที่ศึกษาวิเคราะห์ คือ นวนิยาย จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่ เด็กชายมะลิวัลย์ (2530) ลอดลายมังกร (2533) ขอหมอนใบนั้น...ที่เธอฝันยามหนุน (2534) สำเภาทอง (2541) ซิงตึ้ง (2541) ม่านมรสุม (2541) เหลื่อมไหมลายเหมย (2544) กุหลาบจีน (2549) พิมานแพร (2553) ไชน่ามูน (2557) เรื่องสั้น จำนวน 12 เรื่อง ได้แก่ ตี๋น้อย ศาลเจ้า รองเท้าไม้ ซิ้มใบ้ หมอแมะ โก๊ะ  ตรันวันตรุษ บ้านชายดง แผ่นดินใหญ่ ครีบหัก ในห้องเงียบ คุณพระคุณเจ้า ประพันธ์โดย ประภัสสร เสวิกุล การวิจัยนี้ใช้แนวคิดเรื่องชาติพันธุ์ แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ และแนวคิดองค์ประกอบทางวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล นำเสนอความเป็นจีนไว้ 8 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความเป็นจีนด้านพื้นที่กายภาพ พบว่าเป็นพื้นที่ดำรงอยู่ในช่วงเวลาของสงครามอินโดจีนเพื่อปลดปล่อยอาณานิคม ก่อนจะถึงยุคจีนในไทยร่วมสมัยทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ 2) ความเป็นจีนด้านอุดมการณ์ชาติพันธุ์ พบว่าเป็นวิถีจีนในแผ่นดินแม่อุดมการณ์ชาตินิยมและอุดมการณ์ชาติพันธุ์มีปรัชญาขงจื่อเป็นเสาหลัก ตั้งแต่ยุคจีนโบราณสมัยสามก๊กมาจนถึงยุคราชวงศ์แมนจูและยุคปฏิวัติการเมืองใหม่แบบคอมมิวนิสต์ 3) ความเป็นจีนด้านพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และมงคลสัญลักษณ์ พบว่า เป็นการแสดงบารมีและความมั่งคั่ง มิใช่ฐานคติที่มีศรัทธามั่นคงเป็นหลัก ประเพณีพิธีกรรมสักการบูชาในวันสำคัญยังดำรงคงอยู่แต่ความหมายเปลี่ยนแปรไปจากคติเดิม 4) ความเป็นจีนด้านสังคมและความสัมพันธ์ พบว่า มีหน่วยสังคมที่เล็กคือครอบครัว หน่วยสังคมที่โตขึ้นคือ เครือญาติหรือกลุ่มแซ่เดียวกันตระกูลเดียวกัน มีการเชื่อมโยงกับแซ่ตระกูลอื่นด้วยการแต่งงานขยายสู่ตระกูลแซ่ของฝ่ายลูกเขยลูกสะใภ้ หน่วยสังคมที่มีบทบาททางเศรษฐกิจคือกลุ่มผลประโยชน์ที่เชื่อมโยงแบบเครือข่าย ไปสู่คนมาตุภูมิเดียวกัน 5) ความเป็นจีนด้านอาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัยและการแพทย์จีน พบว่า เป็นการก่อเกิดชีวิตวัฒนธรรมประจำวันของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน หลายสิ่งยังเป็นอัตลักษณ์จีนแต่บางสิ่งมีความเป็นสากลคล้อยตามบริบททางสังคมใหม่และกระแสโลกาภิวัตน์ 6) ความเป็นจีนด้านอาชีพ พบว่า เป็นการนำเสนอภาพรวมอัตลักษณ์อันโดดเด่นของชาวจีน คือความสำเร็จในด้านอาชีพค้าขาย 7) ความเป็นจีนด้านภาษา พบว่า เป็นการแสดงถึงความเป็นกลุ่ม ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มภาษาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ทั้งคำเรียกญาติ คำเรียกอาหาร และคำเรียกชื่อ 8) ความเป็นจีนด้านศิลปกรรม พบว่า มีการนำเสนอเนื้อหาอธิบายให้เห็นถึงภาพความเป็นจีนด้านศิลปกรรม เช่น การสร้างบ้านเรือน การสร้างศาลเจ้า การวาดภาพจิตกรรมบนผนัง การตกแต่งบ้านเรือนและภัตตาคารด้วยตัวอักษรมงคลภาษาจีน กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านองค์ประกอบทางวรรณกรรมในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล นำเสนอผ่าน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านโครงเรื่อง พบว่า มีการเปิดเรื่องด้วยการแนะนำตัวละคร การใช้นาฎการหรือการกระทำของตัวละคร และการเปิดเรื่องจากจุดจบหรือผลลัพธ์ของเรื่องมาเสนอก่อน  ส่วนการดำเนินเรื่อง มีทั้งความขัดแย้งภายนอกและภายใน มีจุดวิกฤตและการคลายปม ส่วนการปิดเรื่อง เป็นการปิดเรื่องจากการคลายปม และการปิดเรื่องที่แสดงให้เห็นจากตัวละครเอง 2) กลวิธีการนำเสนอความจีนเป็นผ่านตัวละคร พบว่า มีตัวละครที่เป็นผู้เยาว์ เป็นผู้อาวุโส ทั้งตัวละครฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย มีบทบาทและความสำคัญในการดำเนินเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของเรื่อง 3) กลวิธีการนำเสนอความจีนเป็นผ่านบทสนทนา พบว่า เป็นการนำเสนอบทสนทนาที่บอกลักษณะนิสัยของตัวละคร และบทสนทนาที่ช่วยในการดำเนินเรื่อง ทั้งบทสนทนาที่แสดงลักษณะนิสัยของตัวละครชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน และบทสนทนาที่แสดงถึงคติข้อคิดของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน/ความเป็นจีนของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน 4) กลวิธีการนำเสนอความจีนเป็นผ่านวิธีการเล่าเรื่อง พบว่า เป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ฉากหรือสถานที่ต่างประเทศ และกำหนดแนวเรื่องสมจริงเลียนแบบเหตุการณ์จริงในสังคม สอดแทรกจินตนาการของผู้เขียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อตีแผ่แง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา 5) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านแนวเรื่อง พบว่า เป็นการกำหนดแนวเรื่องเพื่อชีวิต แนวเรื่องสมจริง แนวเรื่องย้อนยุคและแนวเรื่องต่างแดน วิธีกำหนดแนวเรื่องดังกล่าวเปิดพื้นที่การเล่าประสบการณ์ โดยมีประวัติศาสตร์จีนอพยพหลายช่วงตามกาลเทศะ 6) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านฉาก พบว่า เป็นการนำเสนอฉากที่ใช้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นเรื่องราวเพื่อให้เกิดความสมจริง ตามสถานที่หรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ และฉากที่แสดงถึงชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร มีผลต่อการดำเนินเรื่อง ทำให้เข้าใจวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน 7) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านแก่นเรื่อง พบว่า เป็นการนำเสนอแก่นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต แก่นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว แก่นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และแก่นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/923
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010180006.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.