Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/925
Title: Chongchom Market : Changing of Borderlandscape, Dynamics of Powers and Local  Livelihoods at Thai - Cambodian Border
ตลาดช่องจอม : การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ชายแดน พลวัตอำนาจและวิถีคนท้องถิ่น บริเวณพรมแดนไทย - กัมพูชา
Authors: Kanyanan Tathip
กัญญานันท์  ตาทิพย์
Chainarong Sretthachau
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: พลวัตของอำนาจ
วิถีชีวิตคนท้องถิ่น
ภูมิทัศน์ชายแดนไทย - กัมพูชา
โลกาภิวัตน์
Dynamics of Power
Local Livelihoods
Boderlandscape of Thai - Cambodian Border
Globalization
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: After the rise of globalization stream, the border studies have drawn scholastic interests widely. Generally, most of academic works focus on the argument that the state power is less in a border area as well as study on commerce, investment, and trader while a few works interest in subordinate classes in the border area. Therefore, the study on power and subordinate classes as become a critical issue. This research comprises 3 objectives: 1) to study landscape and power dynamic change along Thai - Cambodia border in the area of Chong Chom Market, Surin Province; 2) to study the power and its exercise of involved sectors in the area of Chong Chom Market under the Greater Mekong Subregion development plan; and 3) to study the impact of the Greater Mekong Subregion development plan on daily life of local people and the border market management benefiting to the local people. The research applied the concept of establishment and redefinition process of border landscape, local powers, and tactics of everyday life practice. Data collection was implemented during 2011 - 2016 that various research methods, i.e., involving literature review, participatory observation, key informant interview, and focus group, were conducted. According to the research, it has the following findings: 1) Landscape and power in the Thai - Cambodia border area, Surin Province have been evolved thoroughly since the period of Mandala state. In the period of nation-state, when it belonged to Siam, the state power in the border area was enlarged vastly. People living in the area became Thai while various ethnic groups initiated to migrate to the area during that time causing the origination of Khmer and Lao cultures. During the Cambodian Civil War, the state power of the central government including security department, and conservative department, increased massively. The border landscape was changed rapidly due to the Greater Mekong Subregion development plan. The small border market became the massive market while the state power increased continuously. In the same time, investment promotion and human and resources control were implemented. Besides, capitalists and new intruders bought and took over the land for the benefit of investment and business purpose in the border area. 2) Under the Greater Mekong Subregion development plan, the local people were exploited due to the development and deprived from resource access causing the problem of land rights, land loss, including confronting with the severe social and environmental impact. Moreover, most of the local people became a cheap labor, being informal workers, and being small traders that need to negotiate with the control all the time. 3) This research provided recommendations from the local people relevant to resolution and Chong Chom border area development for sustainable development to propose the Surin Border Area Development Committee.    In conclusion, under the globalization stream, the power in the border area is increased and so complex while the local people are exploited from the development process. Therefore, the border studies should focus on the dimension of power relationship and apply innovative social concepts to examine the studies that will enhance powerfully the concept of transnationalism to explain the border phenomenon under the globalization stream
หลังจากเกิดกระแสโลกาภิวัตน์ ชายแดนศึกษาเป็นประเด็นที่วงวิชาการให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งวงวิชาการจะมุ่งไปที่การอธิบายว่าชายแดนมีอำนาจรัฐน้อยลง ขณะเดียวกันก็มุ่งไปที่การค้า การลงทุน และผู้ค้า ยังมีงานวิชาการส่วนน้อยที่สนใจคนกลุ่มรองทางสังคมที่บริเวณชายแดน การศึกษามิติของอำนาจและการให้ความสำคัญกับคนกลุ่มรองทางสังคมจึงมีความสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือประการแรกเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และพลวัตของอำนาจบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชาบริเวณตลาดช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ ประการที่สองเพื่อศึกษาปฏิบัติการของอำนาจฝ่ายต่าง ๆ บริเวณตลาดช่องจอมภายใต้นโยบายการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และประการสุดท้ายเพื่อศึกษาผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีต่อวิถีชีวิตคนท้องถิ่นและแนวทางในการจัดการพื้นที่ตลาดชายแดนที่เอื้อประโยชน์ต่อคนท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดกระบวนการผลิตสร้างและการเปลี่ยนแปลงความหมายของภูมิทัศน์ชายแดน แนวคิดบรรดาอำนาจท้องถิ่น (Local power) และแนวคิดกลยุทธ์ปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน เข้าช่วยอธิบาย โดยเก็บข้อมูลในตลาดช่องจอม ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2559 ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาดังนี้ ประเด็นแรก ภูมิทัศน์และอำนาจที่ชายแดนไทย - กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่ยุครัฐแสงเทียน ยุคการเกิดรัฐ-ชาติสมัยที่มีการขีดเส้นเขตแดน เมื่อตกเป็นของสยาม อำนาจรัฐที่ชายแดนก็เพิ่มมากขึ้น มีการทำให้ผู้คนบริเวณนี้เป็นไทย และมีการอพยพเข้ามาของคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทำให้มีวัฒนธรรมทั้งเขมรและลาว ในช่วงสงครามกลางเมืองในกัมพูชา อำนาจรัฐส่วนกลางยิ่งเพิ่มมากขึ้นทั้งอำนาจของฝ่ายความมั่นคงและอำนาจรัฐที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ชายแดน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดแผนพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลาดชายแดนที่เป็นตลาดยกโต๊ะกลายเป็นตลาดชายแดนขนาดใหญ่โต ขณะที่อำนาจรัฐที่ชายแดนยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นและมีปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้เกิดกาลงทุน การควบคุมคนและทรัพยากร นอกจากนั้น ยังมีอำนาจของทุนและผู้มาใหม่ซึ่งมีปฏิบัติการที่สำคัญคือ การเข้ามากว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรและการลงทุนที่ชายแดน ประเด็นที่สอง ภายใต้นโยบายการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คนท้องถิ่นถูกเบียดขับออกจากการพัฒนา ถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงทรัพยากร เกิดปัญหาสิทธิในที่ดินและการสูญเสียที่ดิน การแบกรับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะที่คนท้องถิ่นส่วนใหญ่ต้องมีวิถีชีวิตของการแรงงานราคาถูกให้กับเจ้าของกิจการที่เป็นผู้มาใหม่ การเป็นแรงงานนอกระบบ และการเป็นค้ารายย่อยที่ต้องต่อรองกับการควบคุมตลอดเวลา ประการที่สาม งานวิจัยนี้ได้จัดทำข้อเสนอของคนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ชายแดนบริเวณช่องจอม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนกับพื้นที่ชายแดนบริเวณนี้ กล่าวโดยสรุป ในยุคโลกาภิวัตน์อำนาจที่ชายแดนเพิ่มมากขึ้นและมีความสลับซับซ้อน ขณะที่คนท้องถิ่นถูกเบียดขับจากกระบวนการพัฒนา ดังนั้น การศึกษาชายแดนจึงควรให้ให้ความสำคัญกับมิติความสัมพันธ์เชิงอำนาจและควรมีการใช้แนวคิดทางสังคมใหม่ ๆ เข้าช่วยในการอธิบาย ซึ่งจะทำให้แนวคิดลักษณะข้ามชาติ (Transnationalism) มีพลังในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ชายแดนในยุคโลกาภิวัตน์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/925
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010183001.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.