Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/936
Title: | Survival time of Palliative Patients and Costs of palliative Care for Cancer Patients in Khonkaen ระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วยแบบประคับประคอง และต้นทุนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองในจังหวัดขอนแก่น |
Authors: | Pimprapa Vankun พิมประภา แวนคุณ Kritsanee Saramunee กฤษณี สระมุณี Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | ระยะเวลารอดชีวิต การดูแลแบบประคับประคอง Palliative Performance Scale ต้นทุนการรักษาพยาบาล โรคมะเร็ง survival time palliative care palliative performance scale medical cost cancer |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Palliative Performance scale (PPS) is a tool used to predict end-patients’ survival times. No previous study had confirmed the accuracy of this tool among Thai patients while the tool has been increasingly used. Evidence regarding cost of palliative care is limited. There are 200-300 palliative care patients per year at Namphong Hospital but the actual cost of palliative care is still unknown. Therefore, the purpose of this study was to examine survival time of palliative patients and to perform a cost analysis of cancer palliative patients of Namphong Hospital in both healthcare providers and patients’ perspectives.
Examination of survival time of palliative patients was a retrospective cohort study. The study samples were palliative patients of five hospitals in KhonKaen which coordinated in the pilot delivery of palliative care service. Data was collected during October 2015 – September 2017. Kaplan-Meier was used to examine survival time and Cox proportional hazards model was for identify factors associated with survival. For the cost analysis of cancer palliative care, direct medical cost was collected from Namphong hospital database. Survey was used to collect direct non-medical cost from patients and their families, from August to October 2018.
The result showed that the mean survival time of 1,629 palliative patients was 64.08 days (95%CI: 57.64-70.52), the median was 14 days (95%CI: 12-16). Factors associated with longer survival time included female (HR=1.19 95%CI: 1.07-1.31) and higher PPS score (PPS20 HR=0.69 95%CI: 0.57-0.84, PPS30 HR=0.52 95%CI: 0.44-0.62), PPS40 HR=0.32 95%CI: 0.26-0.40, PPS50 HR=0.34 95%CI: 0.28-0.42, PPS60 HR=0.29 95%CI: 0.24-0.36, PPS>70 HR=0.19 95%CI: 0.15-0.24). Most patients (53.41%) had the actual survival time was shorter than the value estimated by PPS. Cost of cancer palliative patients was analysed from 42 patients of Namphong hospital in 1 mouth. The average cost from provider’s perspective was 15,768.88 baht per patient, resulted from inpatient care 86.33%, outpatient care 7.59% and home care 6.08. This average cost was composed by 64.93% direct medical cost, 34.33% labor and 0.74% travel cost. The provider’s cost from patient’s perspective was 43,973.84 baht per patient, resulted from home care 39.90%, alternative care 36.00%, inpatient care 17.58%, and outpatient care 6.53%. This patient’s cost was composed by 65.67% opportunity cost, 22.19% direct non-medical and 12.14% direct medical cost.
In conclusion, an average survival time of palliative patients is approximately two months. Factors associated with this survival time include gender and PPS score. Cost of palliative care for providers is predominantly resulted from inpatient care while the patient has a burden from home care. Palliative Performance scale หรือ PPS เป็นเครื่องมือที่ใช้พยากรณ์ระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วยระยะท้าย ยังไม่พบว่ามีการวิเคราะห์ความแม่นยำของเครื่องมือนี้จากกลุ่มผู้ป่วยไทยมาก่อน ในขณะที่การใช้เครื่องมือนี้มีเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลต้นทุนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีจำกัด โรงพยาบาลน้ำพองมีผู้ป่วยที่รับการดูแลแบบประคับประคองอยู่ประมาณ 200-300 รายต่อปีและยังไม่มีข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองและเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่เป็นมะเร็งของโรงพยาบาลน้ำพองในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ การศึกษาระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองเป็นการศึกษา cohort แบบเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลในศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในโรงพยาบาลนำร่องในจังหวัดขอนแก่น 5 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 – กันยายน 2560 วิเคราะห์ระยะเวลารอดชีวิตใช้วิธีของ Kaplan-Meier และใช้ Cox proportional hazards model หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับระยะเวลารอดชีวิต การวิเคราะห์ต้นทุนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง เก็บข้อมูลต้นทุนโดยตรงทางการแพทย์จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลน้ำพอง เก็บข้อมูลโดยตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์จากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการและครอบครัวที่รับการรักษามะเร็งแบบประคับประคองที่โรงพยาบาลน้ำพองในระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากผู้ป่วยจำนวน 1,629 ราย มีระยะเวลารอดชีวิตโดยรวมเฉลี่ย 64.08 วัน (95%CI: 57.64-70.52) ค่ามัธยฐานระยะเวลารอดชีวิต 14 วัน (95%CI: 12-16) ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสมีระยะเวลารอดชีวิตที่นานกว่า ได้แก่ เพศหญิง (HR=1.19, 95%CI: 1.07-1.31) PPSสูง (PPS20 HR=0.69 95%CI: 0.57-0.84, PPS30 HR=0.52 95%CI: 0.44-0.62), PPS40 HR=0.32 95%C:I 0.26-0.40, PPS50 HR=0.34 95%CI: 0.28-0.42, PPS60 HR=0.29 95%CI: 0.24-0.36, PPS>70 HR=0.19 95%CI: 0.15-0.24) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระยะเวลารอดชีวิตจริงน้อยกว่าค่าที่ประมาณได้จาก PPS ผลการศึกษาต้นทุนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองในโรงพยาบาลน้ำพองจากผู้ป่วยจำนวน 42 ราย ต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการมีต้นทุนรวมเฉลี่ย 15,768.88 บาทต่อคนในระยะเวลา 1 เดือน มาจากต้นทุนของแผนกผู้ป่วยในร้อยละ 86.33 แผนกผู้ป่วยนอกร้อยละ 7.59 และการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านร้อยละ 6.08 หากพิจารณาตามชนิดของต้นทุนแล้วพบว่า ต้นทุนการให้บริการทางการแพทย์มีมูลค่าสูงสุดร้อยละ 64.93 ต้นทุนค่าแรงร้อยละ 34.33 และต้นทุนค่าเดินทางร้อยละ 0.74 ต้นทุนในมุมมองของผู้รับบริการเฉลี่ย 43,973.84 บาทต่อคน มาจากการดูแลที่บ้านร้อยละ 39.90 การแพทย์ทางเลือกร้อยละ 36.00 การมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยในร้อยละ 17.58 และแผนกผู้ป่วยนอกร้อยละ 6.53 เมื่อพิจารณาตามชนิดของต้นทุนพบว่า เป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสร้อยละ 65.67 ต้นทุนที่ไม่ใช่ด้านการแพทย์ ร้อยละ 22.19 และต้นทุนด้านการแพทย์ร้อยละ 12.14 สรุปได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในมีระยะเวลารอดชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณสองเดือน มีปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลารอดชีวิต ได้แก่ เพศ และระดับ PPS ต้นทุนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ในมุมมองของผู้ให้บริการมาจากแผนกผู้ป่วยในเป็นหลัก ในขณะที่ต้นทุนในมุมมองผู้รับบริการนั้นมาจากการดูแลที่บ้านเป็นหลัก |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/936 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010781010.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.