Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/938
Title: Effects of Pharmaceutical Care and Dietary Education According to Isan Life Style in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus
ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารให้สอดคล้องตามวิถีอีสานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Authors: Phuangphet Phettone
พวงเพชร เพชรโทน
Saithip Suttiruksa
สายทิพย์ สุทธิรักษา
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การบริบาลทางเภสัชกรรม
อาหารตามวิถีอีสาน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
pharmaceutical care
type 2 diabetes
Isan Life Style
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: OBJECTIVE: to investigate the pharmaceutical care in patients with type 2 diabetes who had received diabetes outpatient clinic services. Specific objectives include 1) To study the factors affecting HbA1c level in patients with type 2 diabetes 2) To compare clinical results Between the pharmaceutical care group and the group that receives regular service 3) To compare clinical results in patients before and after receiving pharmaceutical care METHODS: Phase 1, cross-sectional analysis to study factors affecting HbA1c greater than or equal to 7, and Phase 2, A prospective randomized controlled trial to study the results of pharmaceutical care together with food education in accordance with the Isan life style to complete clinical outcomes for 3 months. RESULTS: Phase 1 found that patients with HbA1c ≥ 7% ​​had an average HbA1c 9.0 ± 1.0 % and patients with HbA1c <7% had an average HbA1c 6.8 ± 0.2%. The results showed that the factors related to HBA1c ≥ 7.0% were the Diabetes Control dimension (r = 0.862), Energy and Mobility dimension (r = 0.763), Social Burden dimension (r = 0.758) and the FPG (r = 0.715) Medication Possession Ratio (MPR) (r = -0.870) Medication Compliance (r = -0.867) Cooperation in diet control (r = -0.866 ) Diabetes Knowledge (r = -0.763). Phase 2, Before the study, the study group had HbA1c 9.0±1.1% and the control group had HbA1c 8.9±0.9%. After completing the study for 3 months, the study group had significantly lower HbA1c values than the control group (p <0.001) and has an HbA1c less than 7.0% to 40.2%. After the study, it was found that the patients in the study group had significantly increased knowledge and health behavior scores and had a significantly higher score than the control group (p <0.001). Including; health behavior after the study, the study group had an average diabetes knowledge score is 94.8 ± 7.5 points, while the control group had a diabetes knowledge score only 40.9 ±  8.7 points. Dietary cooperation to control diabetes, the study group had an average score is  94.7 ± 10.8 points. The control group had an average score of 38.3 ± 14.2 points, while the control group had a dietary cooperation score for diabetes control no different from before the study. There was no significant difference in physical activity of both groups at the end of the study. Medication Compliance before the study, the study group had less Medication Compliance than the control group, but at the end of the study, the study group had an average score is 94.7 ± 10.8 points for Medication Compliance, which was significantly different from the control group. Which had 38.3 ± 14.9 score.  Attitude, the study group had an average attitude score of 88.0 ± 17.8, which was different from before the study with an average score of only 44.1 ± 6.9 points and was significantly better than the control group. The study group had significantly higher satisfaction in the service than the control group. Medication possession ratio At the end of the study, the study group had significantly higher medication possession ratio, average of 97.3±6.3 percent and there are 93.1 percent who had medication possession ratio of more than 80 percent which is medication adherence, while there is no Medication adherence in the control group at all because of the rate The average medication possession ration is only 61.4±5.8 percent. Following Diabetes-39, the results of the quality of life found the study group was affected in the diabetes control dimension even though before the study no different from the control group but decreased significantly after the study and significantly lower than before the study (p <0.001) but the control group tended to have an increased impact. The dimension of Anxiety and worry in both groups was not different when compared before and after the study and was not different when compared within both the study group and the control group. Social burden dimensions in both groups were not different when comparing before and after study but the study group had a significant effect on the social burden after the study (p <0.014). The Sexual Functioning dimension of both groups was not different. As well as the dimension of Energy and Mobility But the study group tends to decrease slightly. Regarding the overall quality of life and the feeling of severity of diabetes before and after the study, both groups were different when compared between groups (p <0.001). At the end of the study, the study group had an increased quality of life from 68.9±12.0 percent to 73.2±10.4 percent than the control group with statistical significance (p <0.001) and the study group felt more severe than those of the control group at the end of the study (p = 0.012). Compared to the same group before and after the study. The study group and the control group had significantly increased feelings of severity of diabetes in both groups (p <0.001). CONCLUSIONS: High HbA1c levels in patients correlated with Dimension of Diabetes Control,  Energy and Mobility, Social Burden, FPG, Medication Possession Ratio, Medication Compliance, Cooperation of diet control, Knowledge of diabetes. Effects of pharmaceutical care and food education according to Isan life style in patients with type 2 diabetes mellitus, can improve glycemic control in type 2 diabetes patients and increase the quality of life of patients.
            วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสหัสขันธ์ วัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบริบาลทางเภสัชกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการบริการตามปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกในกลุ่มผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม วิธีดำเนินการวิจัย: ระยะที่ 1 ทำการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับ HbA1c ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 7 ระยะที่ 2 ทำการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบไปข้างหน้า เพื่อศึกษาผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารให้สอดคล้องตามวิถีอีสานต่อผลลัพธ์ทางคลินิกติดตามนาน 3 เดือน ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า HBA1c ≥ 7  จะมีค่า HBA1c เฉลี่ย 9.0 ± 1.0% และกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า HBA1c < 7 จะมีค่า HBA1c เฉลี่ย 6.8 ± 0.2% ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีระดับ HBA1c ≥ 7 คือ การควบคุมเบาหวาน (r = 0.862) ความมีเรี่ยวแรงและความกระปรี้กระเปร่า (r = 0.763) ภาระทางสังคม (r = 0.758) และ ค่า FPG (r = 0.715) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางตรงกันข้าม คือ อัตราการครอบครองยา (MPR) (r = -0.870) ความร่วมมือในการรับประทานยา (r = -0.867) ความร่วมมือในการรับประทานอาหาร (r = -0.866) และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (r = -0.763)           ระยะที่ 2 ก่อนการทดลองพบว่าข้อมูลทั่วไปและข้อมูลภาวะโรคของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยก่อนการศึกษากลุ่มทดลองมีค่า HbA1c 9.0±1.1%และกลุ่มควบคุมมีค่า HbA1c 8.9±0.9% เมื่อทำการศึกษาจนครบ 3 เดือน พบว่ากลุ่มทดลองมีค่า HbA1c ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และผู้ป่วยมีค่า HbA1c < 7 mg% ถึงร้อยละ 40.2 หลังการศึกษาพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีคะแนนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) หลังการศึกษากลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเฉลี่ย 94.8 ± 7.5 คะแนน ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพียง 40.9 ± 8.7 คะแนน ด้านความร่วมมือในการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 94.7 ± 10.8 คะแนน จากเดิม 34.7±10.8 คะแนน ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย 38.3 ± 14.2  คะแนน ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนความร่วมมือการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมโรคเบาหวานไม่แตกต่างจากก่อนการศึกษา ด้านการออกกำลังกายของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันเมื่อสิ้นสุดการศึกษา ด้านความร่วมมือในการรับประทานยา ก่อนการศึกษากลุ่มทดลองมีระดับความร่วมมือในการรับประทานยาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมแต่เมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาเฉลี่ย 94.7 ± 10.8 คะแนน แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่มีคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาเพียง 38.3 ± 14.9 คะแนน ด้านเจตคติ เมื่อสิ้นสุดการศึกษา กลุ่มทดลองมีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 88.0 ± 17.8 สูงแตกต่างจากก่อนการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยเพียง 44.1 ± 6.9 คะแนน และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านระดับความพึงพอใจในระบบบริการ พบว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในระบบบริการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มทดลองมีอัตราการครอบครองยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เฉลี่ยถึงร้อยละ 97.3±6.3 ในขณะที่กลุ่มควบคุมเลยเนื่องจากมีอัตราการครอบครองยาเฉลี่ยเพียงร้อยละ 61.4 ± 5.8 ด้านผลสำรวจคุณภาพชีวิต diabetes-39 พบว่า มิติการควบคุมเบาหวาน กลุ่มทดลองได้รับผลกระทบในมิติการควบคุมเบาหวานก่อนการศึกษาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังการศึกษา และลดลงกว่าก่อนการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) แต่กลุ่มควบคุมมีแนวโน้มมีผลกระทบเพิ่มขึ้น มิติความวิตกกังวล ทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบก่อนการศึกษาและหลังการศึกษาและไม่แตกต่างเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มิติภาระทางสังคม ทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบก่อนการศึกษาและหลังการศึกษา สำหรับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการศึกษา แต่กลุ่มทดลองมีผลกระทบต่อมิติภาระทางสังคมหลังการศึกษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.014) มิติเพศสัมพันธ์ ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ทั้งก่อนและหลังการศึกษา เช่นเดียวกันกับมิติความมีเรี่ยวแรงและความกระปรี้กระเปร่า แต่กลุ่มทดลองมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ด้านคุณภาพชีวิตในภาพรวมและความรู้สึกถึงความรุนแรงของโรคเบาหวานที่ก่อนและหลังการศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (p<0.001) โดยเมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากร้อยละ 68.9±12.0 เป็นร้อยละ 73.2±10.4 และกลุ่มทดลองมีความรู้สึกถึงความรุนแรงของโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อสิ้นสุดการศึกษา (p=0.012) เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนและหลังการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้สึกถึงความรุนแรงของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม (p<0.001) สรุปผลการวิจัย: การมีระดับ HBA1c ที่สูงในผู้ป่วยสัมพันธ์กับ มิติการควบคุมเบาหวาน มิติความมีเรี่ยวแรงและความกระปรี้กระเปร่า มิติภาระทางสังคม ค่า FPG อัตราการครอบครองยา ความร่วมมือในการรับประทานยา ความร่วมมือในการรับประทานอาหาร ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารให้สอดคล้องตามวิถีอีสานทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ดีขึ้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/938
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010780003.pdf8.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.