Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/939
Title: Development of Guidance for Supporting the Use of National Lists of Thai Herbal Medicines in Community Hospitals, Mahasarakham Province
การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Rattanaporn Sanalad
รัตนพร เสนาลาด
Pattarin Kittiboonyakun
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การส่งเสริมใช้ยาสมุนไพร
ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
supporting use of Herbal Medicine
National list of Thai Herbal Medicines
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to firstly, develop the guidance for supporting the use of National Lists of Thai Herbal Medicines and secondly, to evaluate the effect of developed guidance on the prescribing practice of National Lists of Thai Herbal Medicines by general practitioners working at five Community Hospitals, Mahasarakham Province. It was a Participatory Action Research (PAR), consisting of descriptive study and qualitative interviews.  Brian-stormed meeting was conducted among 22 health care professionals from  five Community Hospitals, Mahasarakham Province in order to share idea and barriers found in practice of prescribing Thai Herbal medicines and then to share ways of addressing those barriers to finally develop the guidance for enhancing the use of National Lists of Thai Herbal Medicines. Five Thai Herbal Medicines from the National Lists of Thai Herbal Medicines including  Derris Scandens, Prasaplai, Clinacanthus Nutans, Cissus Quadrangularis and anti-diarrheal drug (Thatbanjob) were studied in  five Community Hospitals, Mahasarakham Province by comparing their prescribing rates between the 3 month-period [from September to November] in 2019 before and after implementing the developed guidance in 2020.  After implementing the developed guidance in 2020, evaluating efficacy and safety of anti-diarrheal drug (Thatbanjob) were conducted in 38 participants diagnosed with non-infectious diarrheas. This pilot trial was suggested by medical doctors from the brain-stormed meeting. The developed guidance for enhancing the use of five Thai Herbal Medicines from the National Lists of Thai Herbal Medicines included: 1) pharmacist informing the Pharmacy and Therapeutic Committee (PTC) of the five hospitals to approve the use of Thai herbal medicines, 2) pharmacists providing academic information of five selected Thai herbal medicines to health care professionals including general practitioners, senior medical doctors, pharmacists, and nurses,  3) pharmacists providing information about how to use five selected Thai herbal medicines properly and safely to patients receiving services at five hospitals, 4) determination of roles in each health care professionals involving in promoting the use of Thai herbal medicines selected from the National List of Essential Medicines.  After implementing the developed guidance, it was shown that prescribing rates of five selected Thai herbal medicines were increased in all five Community Hospitals, the overall increased rate was 31.08%. Inappropriate prescribing of Thai herbal medicines were also reduced by 43.28%. The pilot trial on the efficacy and safety of anti-diarrheal drug (Thatbanjob) found that patients diagnosed with non-infectious diarrhea were cured 100% and only two patients had frequent gas passing. In summary, using PAR methods including both quantitative and qualitative research methods by incorporating stakeholders and brain-stormed meeting among health care professionals were beneficial for developing and implementing practical guidance to enhance prescribing practice of National Lists of Thai Herbal Medicines in Community Hospitals, Mahasarakham Province as well as to help reducing drug-related problems of Thai Herbal Medicines prescribed.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติของบุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบัน สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง  และศึกษาผลของการนำแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม  การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative method) และข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative method) ร่วมกัน โดยการระดมความคิดของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ยาสมุนไพร จำนวน  22 คน จากโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ในโรงพยาบาลชุมชน จากนั้นทำการศึกษาผลของการนำแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยทำการศึกษาส่งเสริมสมุนไพร 5 รายการ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง, ประสะไพล, พญายอ, เพชรสังฆาต และธาตุบรรจบ ไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม เป็นระยะเวลา 3 เดือน (1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563) เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (1 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) และในช่วงเวลาเดียวกันได้ทำการศึกษาประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ ของยาสมุนไพรธาตุบรรจบ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาธาตุบรรจบสำหรับข้อบ่งใช้รักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ติดเชื้อ จำนวน 38 ราย ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ  ในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 1) เภสัชกรแจ้งเรื่องการส่งเสริมใช้ยาสมุนไพร ต่อคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล 2)  เภสัชกรให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับยาสมุนไพรกับบุคลากรทางการแพทย์  3) ให้ความรู้เรื่องยาสมุนไพรกับผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาล  4) กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละวิชาชีพในการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ผลของการนำแนวทางไปใช้พบว่า ในโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง มีการสั่งใช้ยาสมุนไพร 5 รายการเพิ่มขึ้นทุกแห่ง ในภาพรวมมีการสั่งใช้ยาสมุนไพร 5 รายการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.08 ปัญหาจากการสั่งใช้ยาสมุนไพรไม่เหมาะสมลดลง ร้อยละ 43.28 ผลของการศึกษาประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ของยาสมุนไพรธาตุบรรจบในผู้ป่วย 38 รายพบว่า ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียดีขึ้นหลังรับประทานยา ร้อยละ 100 มีผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับประทานยาธาตุบรรจบจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.26 โดยผู้ป่วยทั้งสองรายมีอาการคล้ายกัน คือ ผายลมบ่อย สรุปผลการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกัน โดยการระดมความคิดของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ยาสมุนไพร เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม และสามารถลดปัญหาการสั่งใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ไม่เหมาะสมได้
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/939
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010780004.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.