Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/941
Title: | Multidisciplinary Team Expectations on Pharmacist Role in Palliative Care and Effects of Pharmaceutical Care in Out-Patients with Palliative Care ความคาดหวังของทีมสหวิชาชีพต่อบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และ ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง |
Authors: | Apinya Somkham อภิญญา โสมคำ Saithip Suttiruksa สายทิพย์ สุทธิรักษา Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | บทบาทเภสัชกร การบริบาลทางเภสัชกรรม การดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยระยะท้าย ทีมสหวิชาชีพ Pharmacist role Pharmaceutical care Palliative care Multidisciplinary Team |
Issue Date: | 31 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Multidisciplinary Team Expectations on Pharmacist Role in Palliative Care and Effects of Pharmaceutical Care in Out-Patients with Palliative Care. There are two parts to this Theis has accomplished. Part 1.1 The study of Multidisciplinary Team Expectations of the Pharmacist Role in Palliative care would use descriptive research and focus group discussion. Multidisciplinary Teams of Chumphae Hospital comprise a physician, nurse, and pharmacist. In the aspect of the role of pharmacists associated with palliative care that the team expects the pharmacist to do so in the hospital are managing medicine, providing necessary medicine, informing necessary knowledge of the medicine to physicians, nurses, patients, and people involved in taking care of the patients. The role of Pharmacists in this project must also include educating the team about the effect, dosage, side-effect of medicine, and the proper attitude toward medicine used in the care. In Chumphae Hospital, physicians, nurse, and people participated in palliative care have understood the role of pharmacists in providing useful act as expected by the knowledge of the necessity of using multidisciplinary occupation in the care. For the out-patients, the team needs the pharmacist to visit patients at home and assesses the proper usage of the medicine for palliative patients. The multidisciplinary team needs the pharmacist to convent the activity for the palliative patient and their relatives as well as the team themselves to provide knowledge about medicine used in the palliative care program. In doing so, the team urges the hospital about adding other pharmacists to the team for the effectiveness in informing knowledge about medicine and side-effect to patients and their relatives, particularly opioids used in palliative patients. Part 1.2 This project would use Survey Research for the multidisciplinary operators in both primary and secondary hospitals within the seventh health care area. The result came from 222 questionnaires, for physicians 74 papers and nurses 74 papers, and pharmacist 74 papers. The response was 143 papers of total questionnaires send, which account for 64%. People who received the questionnaires have already experienced palliative training or have been a committee for the palliative program before. The result of the questionnaires received found that 100% of people in other disciplines have agreed upon the necessity of palliative care. Most of the impression in questionnaires was that they thought palliative care is the program of taking care of patients at multi-level such as body, mind, and society; secondly, they admitted that in maintaining the program, they must corporate with pharmacists effectively. By extracting the information in questionnaires, it makes sense that the people in other occupation needs pharmacists to be a leader of the program while other disciplines such as physicians or nurses would provide consultation to the team. If the team could not seek an answer from physicians or nurses, they want pharmacists to take that role. The advantages of Pharmacists given Multidisciplinary Team 1. Have a deep understanding of analgesic medicines. 2. Have skill about Drug-related problem (DRPs) The Disadvantages of pharmacist given Multidisciplinary Team. There is a distance between Pharmacists and patients, which caused less understanding of patients' problems. While the view of pharmacist think that they have already had overloaded jobs. That why the palliative team thinks the pharmacist involved in the program should be in Pharmaceutical Care because the team understands the responsibilities laden in pharmacists make them do best in that area. Second, the team had an opinion toward the weakness of pharmacists in palliative care, that is, in taking the patients' mind and spirituality. For a palliative team needs most in any member is the experiences about taking care of the palliative patients, which would include the wild knowledge and the ability to co-operating with other disciplines. While the role of pharmacists expected the least by other members would be to understand the Buddism doctrine, which needed in helping the patients getting through hardship.
Part 2 The result of the study of Pharmaceutical to the clinical effectiveness and the problems of Quasi-Experiment research in pretest-posttest Experimental Design. 34 patients participated in this project, and the pharmacist had overseen their dosage and usage of the medicine. We found 49 problems in using the medicine, and the problem 21 corrected. The predicaments such as the error about timing and undesirable effect of medicine( from type ADR) and not using the medicine as prescribed by pharmacists are easy to find and fix. The unsolved difficulty in the project was an undesirable effect of medicine(from Type A ADR), which found by a pharmacist who called the patient by phone. While the patients who didn't use medicine as prescribed by pharmacists were not courage enough to use MST medicine around the clock, this is a result of a patient who thinks that analgesic medicine would use only they have pain, and they would be addicted to morphine if used more often. In this study, we found that if educate the patients and caregivers properly, the satisfaction would be higher as described below. 1. If pharmacist provides enough knowledge about opioids to patients and caregivers, they would understand more, and not be afraid of using the medicine compared with the first day. 2. Patients' pain had reduced compared with the first day until day 30. 3. The problems of using medicine had declined, which is the result of the consult given by the pharmacist. 4. The pharmacist in the palliative program had given enough knowledge and education for the patients and caregivers made them have more satisfaction. The opinion of the caregivers was in the way that they want the team to improve and maintain the palliative program for future patients. In the future, the result suggests there should be more studies about Pharmaceutical to well being of palliative patients and increases the population of the sample of the palliative patients both inside and outside the hospital การศึกษาเรื่องความคาดหวังของทีมสหวิชาชีพต่อบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และ ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1.1 ศึกษาความคาดหวังของทีมสหวิชาชีพต่อบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นงานวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive research) ซึ่งใช้รูปแบบอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion) ทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร วิชาชีพละ 1 คน ด้านความคาดหวังของทีมสหวิชาชีพต่อบทบาทของเภสัชกรในการทำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ปัจจุบันเภสัชกรมีบทบาทในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดูแลระบบยา ทั้งการจัดหายา การให้ข้อมูลการใช้ยาให้กับแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการออกฤทธิ์ของยา ขนาดของการใช้ยา อาการข้างเคียงของยา การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการใช้ยา แพทย์ พยาบาล รวมถึงเภสัชกรยอมรับว่าเภสัชกรมีความสำคัญและจำเป็นในทีม ตามบทบาทที่ทีมสหวิชาชีพคาดหวัง ทั้งการดูแลผู้ป่วยด้านร่างกายให้ช่วยบริหารจัดการยาที่เหมาะสม ด้านการดูแลผู้ป่วย ทีมต้องการให้เภสัชกรมีส่วนร่วมในการเยี่ยมบ้านและประเมินการใช้ยาในผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ด้านการให้ความรู้เรื่องยา ทีมต้องการให้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงทีมสหวิชาชีพ นอกจากนี้ยังต้องการให้มีอัตรากำลังของเภสัชกรในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถมาทำงานร่วมกับทีมในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพิ่มมากขึ้น โดยบทบาทที่ทีมสหวิชาชีพคาดหวังให้เภสัชกรช่วยเหลือในลำดับแรก ๆ คือให้ข้อมูลเรื่องยาและอาการข้างเคียง โดยเฉพาะยาแก้ปวดกลุ่ม opioids ในผู้ป่วยระยะท้าย ทั้งผู้ป่วยและญาติ ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ ส่วนที่ 1.2 การสำรวจความคิดเห็นของทีมสหวิชาชีพปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายต่อบทบาทของเภสัชกรในทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการศึกษาเชิงการสำรวจ (Survey research) ซึ่งทำการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของทีมสหวิชาชีพปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายต่อบทบาทของเภสัชกรในทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ในโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ในเขตสุขภาพที่ 7 ผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 222 ฉบับ แบ่งเป็นแพทย์ 74 ฉบับ พยาบาล 74 ฉบับ และเภสัชกร 74 ฉบับ ผลการตอบกลับทั้งหมด 143 ฉบับ (ร้อยละ 64) พบว่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ป่วยระยะท้าย และได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการและเคยปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมผู้ป่วยระยะท้าย ความรู้ความเข้าใจของทีมสหวิชาชีพต่อนิยามความหมายและรูปแบบการดูแลแบบ palliative care พบว่า แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรให้นิยามความหมายและรูปแบบการทำงานว่าเป็น เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมในมิติด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง รองลงมาคือเป็นการดูแลที่ต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพในการร่วมกันดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยให้ครบทุกด้าน ความจำเป็นของเภสัชกรต่อการทำงานในทีม palliative care ก็พบว่า แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 100.0) ระบุว่ามีความจำเป็น โดยที่แพทย์และพยาบาลให้ระดับความจำเป็นของเภสัชกรในระดับที่ปรึกษาในเวลาที่ทีมต้องการ (Consultant) ส่วนเภสัชกรให้ระดับความจำเป็นในระดับเป็นแกนหลักของทีมในการทำงานและวางแผนงาน (Team leader) รองลงมาคือ ระดับที่ปรึกษาในเวลาที่ทีมต้องการ (Consultant) จุดเด่นของวิชาชีพเภสัชกรรมในมุมมองสหวิชาชีพลำดับที่ 1 เป็นวิชาชีพที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านยาที่ดีโดยเฉพาะกับยาแก้ปวด ลำดับที่ 2 เป็นวิชาชีพที่มีความสามารถและทักษะในการค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา (DRPs) จุดอ่อนของวิชาชีพเภสัชกรรมในมุมมองสหวิชาชีพ ในมุมมองของแพทย์ พยาบาล ในลำดับแรก คือ เป็นวิชาชีพที่มีโอกาสได้ทำงานที่สัมผัสกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดค่อนข้างน้อยทำให้ไม่ค่อยเข้าใจในปัญหาของผู้ป่วยอย่างรอบด้าน ส่วนมุมมองของเภสัชกร ลำดับที่ 1 เป็นวิชาชีพที่มีภาระงานประจำที่มาก กลุ่มบทบาทในงานผู้ป่วยระยะท้ายของเภสัชกรตามความคาดหวังของทีมสหวิชาชีพ พบว่า บทบาทงานที่เกี่ยวกับงาน บริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care) เป็นบทบาทงานที่ทีมสหวิชาชีพเห็นว่าเภสัชกรจะมีระดับความสามารถสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มบทบาทงานเรื่องยาที่เฉพาะเจาะจงกับการดูแลแบบ palliative care และกลุ่มบทบาทงานที่ทีมสหวิชาชีพเห็นว่าเภสัชกรน่าจะมีความสามารถน้อยที่สุดก็คือ งานที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ปัจจัยที่อาจมีผลต่อระดับความสามารถของเภสัชกรในการทำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายตามบทบาทความคาดหวังของทีมสหวิชาชีพมากที่สุดก็พบว่า มี ปัจจัย คือ ทักษะด้านความรู้ และทักษะด้านการทำงาน ส่วนคุณลักษณะที่ทีมสหวิชาชีพคิดว่ามีผลต่อระดับความสามารถของเภสัชกรในการทำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายได้น้อยที่สุด คือ เป็นผู้ที่สนใจและศึกษาเรื่องธรรมะ เช่น เรื่องอิทธิบาท 4 เรื่องกฎไตรลักษณ์ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจจิตใจผู้ป่วยดี ส่วนที่ 2 ศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อผลลัพธ์ทางคลินิก และปัญหาด้านการใช้ยา เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ซึ่งใช้รูปแบบ Pretest-Posttest Experimental Design ผลการวิจัยพบว่ามีผู้เข้าร่วมในงานวิจัยทั้งหมด 34 ราย และผู้ป่วยระยะท้ายทั้งหมดมีผู้ดูแลด้านการใช้ยา (ร้อยละ 100.0) ปัญหาด้านการใช้ยาที่พบทั้งหมด 49 ครั้ง และได้รับการแก้ไข 21ครั้ง ซึ่งในบางปัญหานั้นการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร สามารถค้นพบปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ทันที โดยปัญหาด้านการใช้ยาที่พบ ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนทางยา อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (type A ADR) และการไม่ใช้ยาตามสั่ง (non-compliance) ปัญหาด้านใช้ยาไม่สามารถแก้ไขได้ คือ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (type A ADR) ซึ่งพบโดยเภสัชกรจากการโทรศัพท์สอบถามผู้ดูแลผู้ป่วย ส่วนการไม่ใช้ยาตามสั่งของแพทย์ เช่น ไม่กล้าให้ยามอร์ฟีน (MST) แบบ Around the clock เนื่องจากมีทัศนคติที่เข้าใจว่าให้ผู้ป่วยรับประทานเฉพาะเวลาปวด และกลัวฤทธิ์เสพติดจากยามอร์ฟีน การศึกษาผลของการให้ความรู้ต่อระดับความรู้เรื่องโรคและยา และความพึงพอใจของผู้ดูแล โดยเภสัชกรที่เป็นส่วนหนึ่งในทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ที่โรงพยาบาลชุมแพ พบว่า 1.ในด้านความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ การให้คำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกรในแต่ละครั้งสามารถทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับความรู้โดยเภสัชกรในวันแรก 2.ในด้านอาการทางคลินิก ระดับความปวด เมื่อเปรียบเทียบวันแรก (วันที่ 0 ) และวันที่ 30 พบว่ามีแนวโน้มระดับความปวดลดลง 3.ในด้านปัญหาจากการใช้ยาที่ไม่รวมปัญหาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การให้ความรู้โดยเภสัชกรในแต่ละครั้งสามารถทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนปัญหาจากการใช้ยาลดลง 4.ด้านความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการได้รับความรู้เรื่องยาโดยเภสัชกร สามารถทำให้ค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับ ความพึงพอใจมาก และอยากให้มีบริการเช่นนี้ในกลุ่มผู้ป่วยระท้ายอีก ในอนาคตควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้าย และเพิ่มการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/941 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010781009.pdf | 5.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.