Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/949
Title: The development of environmental school activities For school Under the Roi Et Municipality
การพัฒนากิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
Authors: Jackrit Thinkhamchoet
จักรกฤษณ์  ถินคำเชิด
Prayoon Wongchantra
ประยูร วงศ์จันทรา
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความรู้
จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
จิตอาสาสิ่งแวดล้อม
The environmental conservation school handbook
Knowledge
Environmental ethics
Environmental volunteers
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to develop an environmental conservation school handbook for Mueang Roi Et Municipality Schools, to study and compare knowledge about environmental conservation, environmental ethics and environmental volunteers, before and after activities, to compare knowledge about environmental conservation, environmental ethics and the environmental volunteers of students with different gender and grade level. The sample used in the research were 47 students, Mathayom Suksa 4-6 at Wat Sa Thong Municipality School, Mueng District, Roi Et Province. Who were in the environmental conservation Club, which were obtained by purposive sampling. The research tools were an environmental conservation school handbook, knowledge test on environmental conservation, environmental ethics test and environmental volunteers test. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, including hypothesis testing using t-test, F-test (One-Way MANOVA, One-Way MANCOVA), and Univariate Test. The results showed that: 1. The environmental conservation school handbook for Mueang Roi Et municipality schools were the efficiency of 87.31/85.81, the efficiency index was a value of 0.7322 indicated that students had increased learning progress by 73.22 percent. 2. The students had an average score of knowledge about environmental conservation, environmental ethics and environmental volunteers in the posttest was higher than the pretest statistical significance (p< .05). 3. There was no different of knowledge score of environmental conservation, environmental ethics and environmental volunteers of students with different gender (p>.05). There was statistically significant different of knowledge score of environmental conservation and environmental ethics of students with different grade level (p< .05). As for the environmental volunteers, there was no difference (p> .05).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่มีเพศ และระดับชั้นที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อยู่ในชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 47 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แบบวัดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และแบบวัดจิตอาสาสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test, F-test (One–Way MANOVA, One–Way MANCOVA และ Univariate Test) ผลการศึกษาพบว่า 1. คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.31/85.81 ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีค่าเท่ากับ  0.7322 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากการใช้คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 73.22                        2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อม หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน (p > .05) และนักเรียนที่มีระดับชั้นต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจิตอาสาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน (p > .05)
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/949
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011760004.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.