Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/964
Title: The study of relationship between the electrical properties of latex and dry rubber content
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติเชิงไฟฟ้าของน้ำยางพาราและปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพารา 
Authors: Adisorn Nuanon
อดิศร นวลอ่อน
Niwat Angkawisittpan
นิวัตร์ อังควิศิษฐพันธ์
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: คุณสมบัติเชิงไฟฟ้าของน้ำยางพารา
ปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพารา
เซนเซอร์ตัวเก็บประจุแบบแกนร่วม
พารามิเตอร์แบบกระจัดกระจาย
Electrical properties
Dry rubber content
Coaxial capacitive sensor
S-parameter
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis is a study and experiment to find the relationship between the electrical properties of latex and the dry rubber content. The coaxial capacitor sensor was used to measure the s-parameter of the latex sample. Prepared by adding water to the mixture So that the dry rubber content was different for each sample constant. Then, this value is to calculate the electrical properties of the 4 properties, as follows electrical permittivity, electrical conductivity attenuation constant and phase constant. The study and experiment results showed that the real part of the electrical permittivity, electrical conductivity and phase constant were an inverse variation with dry rubber content throughout the frequency range of 0.5 – 6 GHz. The imaginary part of the electrical permittivity and attenuation constant were changed in relation to the dry rubber content throughout the experimental frequency range. And the rate of change was minimal when dry rubber content changed. The imaginary part of the electrical permittivity and attenuation constant are unsuitable for determine the quality of latex. But the real part of the electrical permittivity is static change when the dry rubber content static change. Therefore, all frequencies can be selected to be used to determine the quality of the latex. Electrical conductivity and phase constant were the most variable at the same frequency at 6 GHz. This frequency can be selected to be used to determine the quality of the latex.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาและทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติเชิงไฟฟ้าของน้ำยางพารากับปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยาพารา โดยใช้เซนเซอร์ตัวเก็บประจุแบบแกนร่วมในการวัดค่าพารามิเตอร์แบบกระจัดกระจายของตัวอย่างน้ำยางพารา ที่เตรียมโดยการเติมน้ำผสมลงไป เพื่อให้ค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราแตกต่างกันในแต่ละตัวอย่างแบบคงที่ แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าคุณสมบัติเชิงไฟฟ้าของน้ำยางพารา 4 คุณสมบัติ ได้แก่ ค่าสภาพยอมทางไฟฟ้า ค่าสภาพการนำไฟฟ้า ค่าคงที่การลดทอน และค่าคงที่เฟส ผลการศึกษาและทดลองพบว่า ส่วนจริงของค่าสภาพยอมทางไฟฟ้า ค่าสภาพการนำไฟฟ้า และค่าคงที่เฟส มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราตลอดช่วงความถี่ 0.5 – 6 กิกะเฮิรตซ์ และส่วนจินตภาพของค่าสภาพยอมทางไฟฟ้า และค่าคงที่การลดทอน มีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ไปมาเมื่อเทียบกับค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราตลอดช่วงความถี่ที่ทดลอง และมีการเปลี่ยนแปลงค่าน้อยกว่า เมื่อเทียบกับค่าคุณสมบัติเชิงไฟฟ้าอื่นๆ ทำให้ค่าส่วนจินตภาพของค่าสภาพยอมทางไฟฟ้า และค่าคงที่การลดทอน จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพของน้ำยางพารา ส่วนค่าคุณสมบัติเชิงไฟฟ้าที่เหลือนั้นเหมาะสมในการนำมาตรวจสอบคุณภาพของน้ำยางพารา ดังนี้คือ ส่วนจริงของค่าสภาพยอมทางไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงแบบคงที่ เมื่อค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราเปลี่ยนแปลงคงที่ จึงสามารถเลือกได้ทุกความถี่ในช่วงที่ใช้ในการทดลองเพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของน้ำยางพารา ในส่วนของค่าสภาพการนำไฟฟ้า และค่าคงที่เฟส มีค่าเปลี่ยนแปลงมากที่สุดที่ความถี่สูงที่สุด คือที่ความถี่ 6 กิกะเฮิรตซ์ เหมือนกัน ความถี่นี้จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของน้ำยางพารา
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/964
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010360006.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.