Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/965
Title: Effect of factors affecting the production of germinated rice using machine for accelerating process of soaking and germination
ผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตข้าวกล้องงอกด้วยเครื่องสำหรับเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอก
Authors: Chanat Vipattanaporn
ชณัฐ วิพัทนะพร
Suphan Yangyuen
สุพรรณ ยั่งยืน
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: สารกาบา
รังสีอินฟราเรด
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์
ร้อยละการงอกของเมล็ดพันธุ์
ข้าวกล้องงอก
GABA
Infrared Ray
Seed Vigor
Seed Germination
Germinated Rough Rice
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: One popular topic in the study and development of knowledge of nutritional enrichment in rice is germination. The aim of this research was to study the factors affecting the production of germinated brown rice using a machine for accelerating the soaking and germinating process of paddy (Oryza sativa L.), cultivar Khao Dawk Mali 105 (KDML105), to be able to provide an extensive explanation of all storage periods. The study was divided into three periods as follows. The storage period of 6 months involved a study of the complete growth period of paddy rice using a prototype for accelerating the soaking and germination process in one step. The spraying times were 40, 60 and 90 minutes. The spray rest periods were 60, 90 and 120 minutes. The position inside the vessel, considering the longitudinal cross-section of 9 positions, showed that the optimum lengths of the spraying and resting times were 60 and 90 minutes, respectively, the highest germination percentage was 86.67 per cent and the mean seed temperature was 31.14 degrees Celsius in the area 15 cm below the surface level. The storage period lasted for 1–2 months. The study of rice during dormancy was conducted using an infrared heating device. The study factors were the following. In rice paddy, the storage periods were 3, 5, 7 and 9 weeks, the infrared wavelengths were 4.00, 3.57 and 3.52 µm and the numbers of stimulation cycles were 1, 2 and 3 cycles. For 5 weeks, the wavelength was 3.57 µm and the 2 excitation cycles with mean seed temperature of 50.30 °C, mean vigor and mean germination percentage were 94.33 and 95.33, respectively. The storage period of 10–12 months allowed a study of rice during the aging period using an infrared heating device in conjunction with an accelerated soaking and germination test unit at the laboratory operational level. The study factors were as follows. Paddy with storage periods of 10, 11 and 12 months was used. The germination methods were the agricultural standard method (TAS4404-2012) and the method of cultivating germination with the accelerator test. The states of infrared stimulation were non-stimulated and stimulated. Considering the appropriate level of the factors described in the above study results, it was found that the average percentages of germination of the agricultural product standardization method and the assay method were 71.34 and 46.17 per cent, respectively, and the mean GABA content of the two factors was 8.73 and 9.24 mg GABA/g. Infrared stimulation increased the mean germination percentage values ​​for each germination method by 6.87 and 15.30 percent, and increased the mean GABA content of each germination method was 40.50 and 37.42 percent, respectively.
การศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในข้าววิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือ การเพาะงอก ความมุ่งหมายของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตข้าวกล้องงอกด้วยเครื่องสำหรับเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกในข้าวเปลือก (Oryza sativa L.) สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อสามารถอธิบายได้อย่างครอบคลุมในทุกช่วงระยะเวลาเก็บรักษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังต่อไปนี้ ระยะเวลาเก็บรักษา 6 เดือน เป็นการศึกษาข้าวเปลือกในช่วงที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตโดยใช้เครื่องต้นแบบการเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกในขั้นตอนเดียวมีปัจจัยการศึกษาได้แก่ ระยะเวลาการสเปรย์น้ำเท่ากับ 40 60 และ90 นาที ระยะเวลาการพักสเปรย์น้ำเท่ากับ 60 90 และ120 นาที ตำแหน่งภายในถังบรรจุโดยพิจารณาภาคตัดขวางตามแนวยาวเท่ากับ 9 ตำแหน่ง พบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมของระยะเวลาการสเปรย์และพักการสเปรย์น้ำเท่ากับ 60 และ90 นาที ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยร้อยละการงอกสูงสุดเท่ากับ 86.67 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิเมล็ดเฉลี่ยเท่ากับ 31.14 องศาเซลเซียส ณ บริเวณต่ำกว่าระดับผิวข้าว 15 เซนติเมตร ระยะเวลาเก็บรักษา 1-2 เดือน เป็นการศึกษาข้าวในช่วงการพักตัวโดยใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดมีปัจจัยการศึกษาได้แก่ ข้าวเปลือกที่ระยะเวลาเก็บรักษาเท่ากับ 3 5 7 และ9 สัปดาห์ ความยาวคลื่นรังสีอินฟราเรดเท่ากับ 4.00 3.57 และ3.52 ไมโครเมตร จำนวนรอบการกระตุ้นเท่ากับ 1 2 และ3 รอบ พบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมของระยะเวลาเก็บรักษาในการกระตุ้นด้วยรังสีอินฟราเรดเท่ากับ 5 สัปดาห์ ความยาวคลื่นเท่ากับ 3.57 ไมโครเมตร และรอบการกระตุ้นเท่ากับ 2 รอบ โดยมีอุณหภูมิเมล็ดเฉลี่ยประมาณ 50.30 องศาเซลเซียส ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงและค่าเฉลี่ยร้อยละการงอกเท่ากับ 94.33 และ95.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ระยะเวลาเก็บรักษา 10-12 เดือน เป็นการศึกษาข้าวในช่วงข้าวเสื่อมสภาพโดยใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับชุดทดสอบการเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกในระดับปฏิบัติการมีปัจจัยการศึกษาได้แก่ ข้าวเปลือกที่ระยะเวลาเก็บรักษาเท่ากับ 10 11 และ12 เดือน วิธีการเพาะงอกได้แก่ วิธีมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.4404-2555) และวิธีเพาะงอกด้วยชุดทดสอบการเร่งฯ สภาวะของการกระตุ้นด้วยรังสีอินฟราเรดเท่ากับ กระตุ้น และไม่กระตุ้น โดยพิจารณาควบคุมระดับปัจจัยที่เหมาะสมดังที่ได้กล่าวในผลการศึกษาข้างต้น พบว่าค่าเฉลี่ยร้อยละการงอกของปัจจัยวิธีมาตฐานสินค้าเกษตร และวิธีชุดทดสอบฯ เท่ากับ 71.34 และ46.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยปริมาณสารกาบาของปัจจัยทั้งสองเท่ากับ 8.73 และ9.24 มก.กาบา/ก. การกระตุ้นด้วยด้วยรังสีอินฟราเรดสามารถเพิ่มค่าเฉลี่ยร้อยละการงอกในแต่ละปัจจัยวิธีการเพาะงอกเท่ากับ 6.87 และ15.30 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มค่าเฉลี่ยปริมาณสารกาบาของแต่ละปัจจัยวิธีการเพาะงอกเท่ากับ 40.50 และ 37.42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/965
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010362005.pdf10.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.