Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/979
Title: Development of blended learning model by using problem based learning for enhancing problem solving ability of high school students
การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
Authors: Kannicha Choawrua
กัญจน์ณิชา ชาวเรือ
Thanadol Phuseerit
ธนดล ภูสีฤทธิ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
ความสามารถในการแก้ปัญหา
Blended Learning
Problem-based Learning
Problem Solving Skills
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:        The objectives of this research were to study and synthesis the components, to Develop, and study the usage of Blended Learning Model by Problem-based Learning for Enhancing Problem Solving Ability of High School Students. The research methodology was divided into 3 phases Phase I : Surveying Present, Needs and Problems in Mathematics teaching for Mattayom 6 students of 375 teachers and 1,250 students. The tool were questionnaire. Phase II : developing the model, The model’s elements were evaluated by 9 experts and confirming model by 5 experts. The tool were the draft of Model, courseware, model’elements assessment form and assessment forms. Phase III : evaluating the effects of using the implemented. The samples were 30 students in Mathayom 6. The tools were Model, courseware, and assessment tools. The statistics were percentage, means, standard deviation, t-test dependent.        The results are as follows.        1. Integrated teaching model using problem-based learning. To enhance the problem solving ability of high school students consists of 3 main components. 1. Input (Input) consists of: 1) Knowledge Linking Theory 2) design, selection and application of integrated learning management techniques; 3) problem-based learning management; Element 2: Processes include learning management, integrated instructional model, problem-based learning. To promote problem solving ability of high school students with 6 steps : PLACRE 1) Prepare for learning 2) Learn & Link 3) Action  4) Conclusion 5) Reflection 6) Evaluation Element 3 Output (1) The ability to solve problems 2) The satisfaction of learners with the development of teaching. The evaluation of the teaching. Provide feedback to improve. And there are things that promote learning. This is a subset of the model.        2. The effectiveness of the combined problem-based mathematics curriculum for the model was 78.15 / 78.04. The E1/E2 criterion was 75/75 and the learning effectiveness index was based on the integrated teaching model. Use problem-based learning. To enhance the problem solving ability of the high school students was 0.5589, or 55.89 percent, indicating that the students had progressed learning at 55.89 percent.        3. Regarding the usage result of the model using problem-based learning to improve the problem solving ability of the high school students, the problem solving ability and the learning achievement was higher than the pre-learning level at the .05 level and the students were satisfied with the learning at a high level.
       การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการที่มีต่อการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โมเดลการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยการสำรวจความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เอกสาร ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลฯ โดยการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิและประเมินต้นแบบและรับรองโมเดล นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาโมเดลฯ และหาประสิทธิภาพ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โมเดลฯ โดยการทดลองและนำเสนอผลการใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6/3 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย เขต 31 ปีการศึกษา 2560  จำนวน 36 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของครูคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  2) แบบคำถามการสนทนากลุ่ม 3) แบบประเมินและรับรองโมเดลฯ 4) บทเรียนคณิตศาสตร์แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  6) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 7) แบบวัดความพึงพอใจต่อโมเดลฯ สำหรับนักเรียน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Dependent t-test      ผลการวิจัยปรากฏดังนี้     1. โมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 1) ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ (Connectivism) 2) การออกแบบการเลือกและประยุกต์เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้โมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมี 6 ขั้นตอน คือ PLACRE ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparation) 2) ขั้นเรียนรู้และเชื่อมโยง (Learn & Link) 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Action) 4) ขั้นสรุปความรู้ (Conclusion) 5) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation) องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ (Output) ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อโมเดลการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ในการประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุงแก้ไขและส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยในโมเดล        2. ประสิทธิภาพของบทเรียนคณิตศาสตร์ผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับโมเดล มีค่าเท่ากับ 78.15/78.04 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ E1/E2 เท่ากับ 75/75 และดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยโมเดล มีค่าเท่ากับ 0.5589 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.89 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ร้อยละ 55.89        3. ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อโมเดลการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/979
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010563001.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.