Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/981
Title: The Development of Teachers’ Academic Leadership in Basic Education Schools
การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Rewadee Montreepila
เรวดี มนตรีพิลา
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Development
Teachers’ Academic Leadership
Basic Education Schools
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed 1) to study the main factors and indicators of teachers’ academic leadership in basic education schools, 2) to develop a training package of teachers’ academic leadership in basic education schools to be effective 3) to examine the results of using training package of teachers’ academic leadership in basic education schools The research procedures consisted of three periods and six steps : Step 1: to study concepts, theory and research involved with teachers’ academic leadership, Step 2: to analyze the factors of teachers’ academic leadership in basic education schools by content analysis, in-depth interview and to evaluate the appropriateness of factors by 9 experts, Step 3: to analyze the levels of importance of factors and indicators of teachers’ academic leadership in basic education schools and the instrument used was a questionnaire to query 369 samples who were education personnel in basic education schools, Step 4: to draft the training package of development of teachers’ academic leadership in basic education schools and to examine the training package by 9 experts, Step 5: to try out the training package of development of teachers’ academic leadership in basic education schools,  and Step 6: to improve the training package of development of teachers’ academic leadership in basic education schools. The research samples were 24 samples of secondary teachers at Khawwittayakan school under Secondary Educational Service Area 27. They were obtained by purposive sampling. The instruments used for collecting the data were a structured interview, a questionnaire and a satisfaction evaluation form. The statistics used for analyzing the data were mean, percentage, standard deviation and Independent samples t-test. The research findings fund as follows:          1. The factors of teachers’ academic leadership had 7 factors: 1) to build and develop learning vision, 2) to administer curriculum management, 3) to develop learners, 4) to build learning atmosphere, 5) to develop profession, 6) to build cooperative team and 7) to use information and technology.          2. The importance of development of teachers’ academic leadership in basic education schools was in ‘very much’ level in all factors. 3. The strategy of development of teachers’ academic leadership in basic education schools was training by lecturer, case study and brainstorm. 4. Training package of development of teachers’ academic leadership in basic education schools composed of 7 training units and 21 hours of training periods. 5. The results of examining by using training package of development of teachers’ academic leadership in basic education schools were as follows: 5.1 The result of teachers’ academic leadership level in basic education by self-assessment, commander and colleagues revealed that before developing was in ‘much’ level. However after developing had a higher academic leadership than before and the level of significance is .05. 5.2 The result of evaluation the activities during trainers’ training was in ‘much’ level as a whole. 5.3 The result of satisfaction level of teachers towards training package of development of teachers’ academic leadership in basic education schools was in ‘much’ level as a whole.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำทางวิชาการของครู  ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์หาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก การประเมินความเหมะสมขององค์ประกอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์หาระดับความสำคัญขององค์ประกอบ และตัวชี้วัดผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 369 คน ขั้นตอนที่ 4 การยกร่างชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และประเมินชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 5 การนำชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนขวาววิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู มีองค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างและพัฒนาวิสัยทัศน์ 2) การบริหารจัดการหลักสูตร และจัดการเรียนรู้ 3) การพัฒนาผู้เรียน 4) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มี 5) การพัฒนาวิชาชีพ 6) การสร้างทีมร่วมมือ และ 7) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ความสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีระดับมากที่สุด ทุกองค์ประกอบ 3. วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  4. ชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 หน่วยการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม 21 ชั่วโมง 5. ผลการประเมินจากการนำชุดฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ 5.1 ผลการประเมินระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประเมินตนเอง  ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา และประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน ก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการพัฒนามีภาวะผู้นำทางวิชาการสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.2 ผลการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างฝึกอบรมของผู้เข้ารับการพัฒนาโดยรวมในระดับมาก 5.3 ผลการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างฝึกอบรมของผู้เข้ารับการพัฒนาโดยรวมในระดับมาก
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/981
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010560007.pdf8.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.