Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/999
Title: Development Supervision and Coaching for School of Roi et Primary Educational Service  Area Office 3
การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Authors: Siripong Nakonthong
ศิริพงศ์ นาก้อนทอง
Surachet Noirid
สุรเชต น้อยฤทธิ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การนิเทศ
การนิเทศแบบสอนแนะ
การพัฒนาแนวทาง
Supervision
Coaching Supervision
Development of Guideline
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the research were; 1) To study the current conditions Desirable condition And the needs of the instructional supervision for schools Under the Office of Roi Et Primary Education Area, Area 3 for schools under Roi Et Primary educational service area office 3. 2) To develop guidelines for instructional supervision for schools under Roi-Et Primary educational service area  office 3. With research and development processes Which is divided into 2 phases. Phase 1 Current conditions, desirable conditions And the needs of the instructional supervision for schools Under the Office of Roi Et Primary Education Area, Area 3. The instrument used in the research was the current condition questionnaire. Desirable conditions of instructional supervision. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, Analyze the priorities of the needs of the instructional supervision. Population used in the research were administrators and school teachers. Under the Office of Roi Et Elementary Education Area 3, in the academic year 2019, a total of 1,713 people. The sample group used in the research was administrators and school teachers. Under the Office of Roi Et Elementary Education Area, Area 3, the academic year 2019, a total of 313 people. Phase 2 The development of instructional supervision model for schools Under the Office of Roi Et Primary Education Area, Area 3. The instruments used in the research were structured interview forms used in school education with best practices. The data was analyzed by taking the data from the notes to analyze, summarize the main content and presented in essay. To be used as information in drafting guidelines for the development of instructional supervision. Evaluation of instructional supervision The research instruments were the evaluation form for suitability and the possibility of the supervision guidelines. The population used in this research was 7 experts. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, The results were as follows 1. Current study results Desirable Conditions and Needs of Instructional Supervision for schools under Roi Et Primary educational service area  office 3. At present, the overall instructional supervision was at a medium level. The desirable state of instructional supervision was at a high level. The analysis of the needs of the instructional supervision found that the needs which were in order from highest to least were 1) supervision preparation 2) planning about supervision 3) tracking and evaluation of the supervision. 4) Supervision regarding instructional practice 2. Developing guidelines for instructional supervision for schools under Roi Et Primary educational service area office 3. There are components of the guideline, 1) principles and rationale 2) objectives 3) school procedures 4) supervision 5) evaluation 6) success conditions. The implementation of the instructional supervision development guidelines consisted of 4 components, 33 indicators, which were 1) the preparation for supervision, consisting of 8 indicators, 2) the supervision planning, consisting of 8 indicators, 3 elements ) The teaching practice consists of 8 indicators and 4) The assessment and follow-up of the supervision consists of 9 indicators. The result of assessing the appropriateness and possibility of the guidelines for the development of instructional supervision for schools Under the Educational Service Area Office, Roi Et District 3, found that the overall is suitable at the highest level. And the possibility is at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยมีกระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศแบบสอนแนะ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการนิเทศแบบสอนแนะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 1,713 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 313 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างใช้ในการศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลจากการจดบันทึกมาดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปใจความสำคัญและนำเสนอเป็นความเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการร่างแนวทางการพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะ และการประเมินแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า สภาพปัจจุบันการนิเทศแบบสอนแนะโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การนิเทศแบบสอนแนะโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการนิเทศแบบสอนแนะ พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมการนิเทศ  2) ด้านการวางแผนการนิเทศ 3) ด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศ 4) ด้านการปฏิบัติการสอนแนะ 2. การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 มีส่วนประกอบของแนวทาง ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมาย 3) ขั้นตอนดําเนินการของสถานศึกษา 4) การดําเนินการนิเทศ 5) การประเมินผล 6) เงื่อนไขความสําเร็จ การดำเนินการของแนวทางการพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 33 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1) ด้านการเตรียมการนิเทศ ประกอบด้วย 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2) ด้านการวางแผนการนิเทศ ประกอบด้วย 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3) ด้านการปฏิบัติการสอนแนะ ประกอบด้วย 8 ตัวบ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 4) ด้านการประเมินและติดตามผลการนิเทศ ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/999
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586037.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.