Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1046
Title: The Development of Learning Activity Socioscientific Issues  with Flipped Classroom to  Enhancing Scientific Literacy for Grade 10 Students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   
Authors: Chaturapat Massopha
จตุรภัทร มาศโสภา
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การรู้วิทยาศาสตร์
ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม
แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
learning achievement
Scientific literacy
Socioscientific Issues
Flipped Classroom
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) study  Scientific Literacy of 10th Grade Students’ In The Secondary Education Service Area 26 Mahasarakham Province 2) development of Learning Activity Socioscientific Issues  with Flipped Classroom for 10th Grade Students’ 3) study result of Learning Activity Socioscientific Issues  with Flipped Classroom include Sub purpose  3.1) development learning achievement of 10th Grade Students’ Studied with Learning Activity Socioscientific Issues  with Flipped Classroom to pass the criterion of 75 percent  3.2) development Scientific Literacy Studied with Learning Activity Socioscientific Issues  with Flipped Classroom have level higher scientific literacy.  The research sample as follows: phases 1 were 100 of 10th grade students in the secondary education service   area 26   in the first semester of the academic year 2019 . They were selected by  Multi-stage random sampling. phases 2  were 27 of 10th grade students class 4  Phadungnaree School in the second semester of the academic year 2019. They were selected by  Cluster Random Sampling. phases 3  were 32 of 10th grade students class 3  Phadungnaree School in the second semester of the academic year 2019. They were selected by  Cluster Random Sampling. The instruments used in the study were 1) lesson plans for Socioscientific Issues  with Flipped Classroom  2) achievement test and 3) scientific literacy test . The statistical method employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, F-test and  t-test (One Sample). The results of the research were as follows: 1) 10th Grade Students’ In The Secondary Education Service Area 26 Mahasarakham Province the level of scientific literacy at 2 level  2) 10th Grade Students’ In The Secondary Education Service Area 26 Mahasarakham Province the level of scientific literacy not different. 3)The learning plan activity by using Socioscientific Issues  with Flipped Classroom for 10th Grade Students’. The quality of plan 4.20 at the level very Appropriate  and had an efficiency of 80.44 / 77.22.  4) 10th grade students class 3 learned by using Socioscientific Issues  with Flipped Classroom  pass the 75 percent criterion at .05 level of significance. 5) 10th grade students class 3 learned by using Socioscientific Issues  with Flipped Classroom have higher scientific literacy at level 3.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ 26 จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้  3.1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75  3.2) เพื่อพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ให้มีระดับการรู้วิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ระยะที่ 1 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 100 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4  โรงเรียนผดุงนารี จำนวน 27  คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และ ระยะที่ 3 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  โรงเรียนผดุงนารี จำนวน 32  คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบทดสอบการรู้วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และสถิติแบบทดสอบ t-test (One Sample)  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26  จังหวัดมหาสารคาม มีการรู้วิทยาศาสตร์ระดับที่ 2  2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26  จังหวัดมหาสารคาม มีระดับการรู้วิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 3) แผนการการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1 / E2 ) เท่ากับ 80.44 / 77.22  4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน มีระดับการรู้วิทยาศาสตร์สูงขึ้นที่ระดับ 3
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1046
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556015.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.