Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1237
Title: Guidelines for Community Empowerment in Management of the Nam Phong Power Plant Development Fund, Khon Kaen Province 
แนวทางการเสริมสร้างพลังชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
Authors: Sakhorn Urairoch
สาคร  อุไรโรจน์
Kanokporn Rattanasuteerakul
กนกพร รัตนสุธีระกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การเสริมสร้างพลังชุมชน
กองทุนพัฒนาไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าน้ำพอง
Community Empowerment
Power Development Fund
Nam Phong Power Plant
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were to community empowerment in management of the Namphong power plant development fund Khonkaen Province. Determine an area within a 3-kilometer radius around the power plant. The research method is participatory action research by collecting, reviewing, and analyzing documentary data, participatory observation, in-depth Interview, focus group, and the establishment of community empowerment and participation processes. The results of the research revealed that the impact on the community from the operation of the industrial plants has both benefits and disadvantages. In other words, the economy has resulted in more income in the community, but also the higher the cost of living. Society, religion, culture and traditions create interactions between communities and industries through participation in community activities, but it becomes a burden for leaders and communities to waste time preparing their activities. Politics and governments were developed in the community with the support of different agencies. This creates the interests of some leaders who have a stake in the capital. In terms of environment, sewage, oil stains and foul odors arise from the discharge of industrial wastewater into natural water sources affecting water used for consumption and consumption. These environmental problems lead to health problems from air pollution and contamination. The problems and obstacles of the establishment of the Power Plant Fund, Nam Phong District, Khon Kaen Province are divided into 2 phases. 1) The first phase (2007 - 2012) was formed from the establishment of a power development fund that did not have legal provisions and the establishment of a community development committee in the area surrounding the power plant, ie the structural problems of fund management consist: management structure problem, the power plant has the role of assistant secretary, and management's attitude is "when sending money into the fund, it will not interfere with management", and operational problems in fund management. 2) The late stage (2013 - present) consisted of problems from stakeholders around the power plant, namely leaders making decisions alone, community development projects lack of participation processes, development monuments and weakened communities. And problems from fund management include problems from power development fund sponsoring organizations, problems from communities around the power plants, and problems from fund operations. Community empowerment in management of the Nam Phong District Electricity Development Fund consists of a two-level approach. 1) Organizational level: 1.1) Adjusting the social responsibility management model for power development fund consists of using a process to engage with a group of persons representing the community to be a committee member of the Power Development Fund; It encourages, educates and encourages the target group to take action by themselves to build confidence in the community; Working with sustainability in mind by developing economy, society, community and environment at the same time and having a continuous action plan. 1.2) Promote the management of the Power Fund in accordance with the intent of the Power Development Fund. 1.3) The application of the sufficiency economy concept when successfully cultivating the communities surrounding the power plant. 2) Individual and community levels: Community empowerment at the community level, including building a learning community and setting goals, promoting and building community power; Strategy: (1) Strategy for establishing community volunteers to operate the Village Power Development Fund, (2) Community Learning Center Strategy, (3) Strategy for creating a Community Economy Center, (4) Strategies for Building a Good Governance System, (5) Knowledge Management Strategy (Knowledge Charring), (6) Coaching Metering Strategy and (7) Communication and Dissemination Strategy (Public Relation). The community empowerment model approach to strengthen the sustainability of the Nam Phong Power Plant Fund is an expression of the individual. It consists of participating in thinking, participating in planning, participating in decision making, participating in the implementation of the plan, participating in monitoring and evaluation, and taking part in responsibility for any problems that It affects people and communities in the area surrounding the power plant.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าน้ำพอง ศึกษาสภาพการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าน้ำพอง และการเสริมสร้างพลังชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในรัศมี 3 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้า โดยการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยวิธีการรวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสาร สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดทำกระบวนการเสริมพลังชุมชนและสร้างการมีส่วนรวม ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดรายได้ในชุมชนมากขึ้น แต่กลับทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย ด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมฯ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน แต่กลับกลายเป็นภาระของผู้นำและชุมชนที่ต้องเสียเวลาในการเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการเมืองการปกครอง เกิดการพัฒนาในชุมชนจากการสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ ก่อให้เกิดการสร้างผลประโยชน์ของผู้นำบางคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับแหล่งทุน ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย มีคราบน้ำมัน และมีกลิ่นเหม็น จากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมฯ ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อน้ำที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพ จากมลพิษทางอากาศและการปนเปื้อน ปัญหาและอุปสรรคของการก่อตั้งกองทุนโรงไฟฟ้าอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะแรก (ปี พ.ศ. 2550 - 2555) เกิดจากการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่ไม่มีข้อกฎหมายรองรับ และการตั้งคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ได้แก่ ปัญหาการบริหารจัดการกองทุนในเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย ปัญหาโครงสร้างผู้บริหาร ผู้แทนโรงไฟฟ้ามีบทบาทเป็นผู้ช่วยเลขานุการ และผู้บริหารมีทัศนคติ "เมื่อนำส่งเงินเข้ากองทุนแล้วจะไม่ก้าวก่ายการบริหาร" และปัญหาการบริหารจัดการกองทุนในเชิงปฏิบัติการ 2) ระยะปลาย (ปี 2556 - ปัจจุบัน) ประกอบด้วย ปัญหาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบโรงไฟฟ้า ได้แก่ ผู้นำตัดสินใจเพียงลำพัง โครงการพัฒนาชุมชนขาดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดอนุสาวรีย์การพัฒนา และชุมชนอ่อนแอลง ปัญหาจากการบริหารจัดการกองทุน  ได้แก่ ปัญหาจากองค์กรผู้สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ปัญหาจากชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และปัญหาจากการดำเนินงานกองทุน การส่งเสริมและสร้างพลังชุมชนเพื่อการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าอำเภอน้ำพอง ประกอบด้วยแนวทาง 2 ระดับ คือ 1) ระดับองค์กร ประกอบด้วย 1.1) การปรับรูปแบบการบริหารงานความรับผิดชอบต่อสังคมด้านกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้แก่ การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับคณะบุคคลที่เป็นตัวแทนของชุมชนเข้าไปเป็นกรรมการในกองทุนพัฒนาไฟฟ้า การสนับสนุนการให้ความรู้และกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้ลงมือทำเอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน และการทำงานที่คำนึงถึงความยั่งยืน โดยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป และมีแผนงานการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง 1.2) ส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนไฟฟ้าให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และ 1.3) การปรับใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อนำมาปลูกฝังชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้สำเร็จ และ 2) ระดับระดับบุคคลและชุมชน ประกอบด้วย การเสริมสร้างพลังชุมชนระดับชุมชน ได้แก่ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และกำหนดเป้าหมายส่งเสริมและสร้างพลังชุมชน และการกำหนดกลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์การจัดตั้งอาสาสมัครชุมชนดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าระดับหมู่บ้าน กลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนการพัฒนาอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 3 กลยุทธ์การสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน กลยุทธ์ที่ 4 กลยุทธ์การสร้างระบบธรรมาภิบาล กลยุทธ์ที่ 5 กลยุทธ์การจัดการความรู้ กลยุทธ์ที่ 6 กลยุทธ์การติดตามแบบเสริมพลัง  และกลยุทธ์ที่ 7 กลยุทธ์การสื่อสารและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยแนวทางรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของกองทุนโรงไฟฟ้าน้ำพองเป็นการแสดงออกของบุคคล ประกอบด้วย มีส่วนร่วมในการคิด มีส่วนร่วมในการวางแผน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผน มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล และมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบประเด็นปัญหาต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงประชาชนและชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1237
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010183005.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.