Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1414
Title: Cultural Dynamic of Thung and Invention of Tradition on ​​Phra That Yakoo Area
พลวัตวัฒนธรรมการใช้ธุงกับประเพณีประดิษฐ์บนพื้นที่พระธาตุยาคู
Authors: Sitthichai Rhahnnok
สิทธิชัย ระหาญนอก
Chalong Phanchan
ฉลอง พันธ์จันทร์
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: พลวัตทางวัฒนธรรม
ธุง
ประเพณีประดิษฐ์
พระธาตุยาคู
Cultural dynamics
Thung (flags)
Invention of Traditions
Phra That Yaku
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study the culture of using the flag called “THUNG” In the context of Isan society and the cultural dynamics of using flags on Phra That Yaku area with Invention of Tradition. It was a qualitative research based on documents, books and interviews from 115 target groups / person by in-depth interviews and observations to analyze the data and present the descriptive analysis. The study indicated that Flags that appear in the context of Isan culture are divided into 2 main groups: 1) Flags that appear in a concrete cultural context which found in a Battlement, Buddhist literature and Mural painting (Hoop Taem). In this group, the flag is considered as a worship of the Buddha or a substitute for the Buddha, such as Buddha images, Stupas, Pagoda, etc. As well as used to decorate the procession as a show of honor of the noble.  2) Flag is considered in the Prapheni Heet Sibsong: The Tradition of Merit-making with Ethical Commitment to the ‘Other’ such as BoonkoonLan, BoonPhravet, BoonSongkran, Boon Samha, BoonKrathin, etc. which local people believe that the Flag is similar to a talisman that can protect against evil spirits and use to remove one's bad luck with a ceremony. The flag is also used in post-mortem rituals. It is a symbol of communication with the spirit world. The local people used flags to dedicate to those who had left the world with the belief that the spirits of the dead would rise to heaven. It was found that the flag is a Work of Art and Handicraft reflecting the Intellectual Heritage. It was applied as a key element in creating a new tradition on Phra That Yaku, Ban Sema, Nong Pan Sub-district, Kamalasai District, Kalasin Province. Which is a cultural place of an ancient community called Dvaravati Fah Daet Songyang City.  In addition, the flag has been made into commodities and creative designs to stimulate the economy of the Globalization of Tourism.
 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการใช้ธุงในบริบทสังคมวัฒนธรรมอีสาน และศึกษาพลวัตวัฒนธรรมการใช้ธุงในบริบทพื้นที่พระธาตุยาคูกับประเพณีประดิษฐ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการใช้แบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มเป้าหมาย 115 รูป/คน โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ธุงที่ปรากฏในบริบทสังคมวัฒนธรรมอีสานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1) ธุงที่ปรากฏในบริบทของวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม โดยพบธุงในหลักหิน ใบเสมา วรรณกรรมทางพุทธศาสนา และจิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) ในกลุ่มนี้ธุงจะมีบทบาทเป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้า หรือสิ่งแทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น พระพุทธรูป สถูป เจดีย์ พระธาตุต่างๆ เป็นต้น และใช้ประดับในขบวนแห่อันเป็นเครื่องแสดงเกียรติยศของบุคคลชั้นสูง และ 2) ธุงที่ปรากฏในบริบทของวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ในกลุ่มนี้ธุงมักจะมีบทบาทในประเพณีฮีตสิบสอง เช่น บุญคูณลาน บุญผะเหวด บุญสงกรานต์ บุญซำฮะ และบุญกฐิน เป็นต้น ซึ่งคนในท้องถิ่นเชื่อว่า ธุงมีบทบาทคล้ายกับยันต์ที่สามารถป้องกันสิ่งชั่วร้าย เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงขอบเขตของพิธีกรรม เป็นเครื่องสักการะบูชา เป็นเครื่องสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา นอกจากนั้นธุงยังมีบทบาทในพิธีกรรมหลังความตาย โดยเป็นสัญลักษณ์การติดต่อสื่อสารกับโลกของวิญญาณ ซึ่งคนในท้องถิ่นต่างใช้ธุงในการทำบุญอุทิศให้กับผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่าวิญญาณของผู้ตายจะได้เกาะชายธุงขึ้นสวรรค์ นอกจากนั้นวัฒนธรรมการใช้ธุงยังมีความเป็นพลวัตโดยพบว่า มีการนำธุงซึ่งเป็นงานศิลปะหัตถกรรมแขนงหนึ่งอันเป็นสื่อสะท้อนมรดกทางภูมิปัญญา จากเดิมที่เคยปรากฏและมีบทบาทเด่นชัดในประเพณีฮีตสิบสอง และพิธีกรรมอื่นๆ ในบริบทสังคมวัฒนธรรมอีสาน ถูกนำมาประยุกต์ ดัดแปลง ให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประดิษฐ์สร้างประเพณีใหม่บนพื้นที่พระธาตุยาคู บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นหมุดหมายของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีที่ชื่อว่า เมืองฟ้าแดดสงยาง นอกจากนั้นธุงยังถูกทำให้เป็นสินค้า รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของผู้คนในยุคโลกาภิวัตน์
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1414
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010183001.pdf21.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.